ลูกเป็นโรคไอกรน แพทย์เตือนเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต! - Amarin Baby & Kids
ลูกเป็นโรคไอกรน

ลูกเป็นโรคไอกรน แพทย์เตือนเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกเป็นโรคไอกรน
ลูกเป็นโรคไอกรน

ลูกเป็นโรคไอกรน ทำยังไงดี?

หากคุณพ่อ คุณแม่สังเกตอาการแล้วพบว่าลูกน้อยมีความเสี่ยงเป็นโรคไอกรน สิ่งแรกที่ควรทำ คือ รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป หากอาการไม่รุนแรง และไม่มีภาวะแทรกซ้อน แพทย์จะรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลับไปรับประทานที่บ้าน โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

1.ให้ลูกน้อยอยู่ในที่ที่มีอากาศปลอดโปร่ง ดื่มน้ำอุ่นมากๆ เพื่อให้เสมหะใส และขับออกได้ง่าย

2.ควรให้รับประทานอาหารทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง เพื่อช่วยลดอาการอาเจียน หากมีอาการอาเจียนมาก ให้ทดแทนด้วยน้ำเกลือผสมเอง (น้ำต้มสุก 1 ขวด + น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ + เกลือแดง ½ ช้อนชา)

3.หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไอ เช่น การออกแรง การถูกฝุ่นละออง ควันบุหรี่ ควันไฟ หรืออากาศที่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป

4.การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ควรให้ในระยะแรก (ระยะเป็นหวัด) ที่เริ่มมีอาการไม่เกิน 1 สัปดาห์ จะช่วยลดความรุนแรงและโรคแทรกซ้อนลงได้ แต่จะไม่ช่วยลดระยะเวลาของโรคให้สั้นลงได้ ควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

5.สำหรับเด็กอายุมากกว่า 1 ปี แนะนำให้ใช้น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำผึ้ง 4 ช้อนโต๊ะ จิบบ่อยๆ เพื่อบรรเทาอาการไอ

ลูกเป็นโรคไอกรน
อาการของเด็กทารกที่มีภาวะแทรกซ้อน จากโรคไอกรน เครดิต: Medbullets

ป้องกันลูกน้อยจากโรคไอกรน

โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน แนะนำให้คุณพ่อ คุณแม่ พาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก รวม 5 เข็ม ตามช่วงเวลาที่กำหนด โดยฉีดเข็มแรกอายุ 2 เดือน, เข็มที่ 2 อายุ 4 เดือน, เข็มที่ 3 อายุ 6 เดือน, เข็มที่ 4 อายุ 18 เดือน และเข็มที่ 5 เมื่ออายุประมาณ 4-6 ปี นอกจากนี้ควรปฏิบัติตัวเพื่อป้องกัน ดังนี้

1.หากพบว่ามีผู้ป่วยอยู่ในบ้าน ควรแยกผู้ป่วยออกจากลูกน้อยอย่างน้อย 5 วัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสมือผู้ป่วย แยกน้ำดื่ม อาหารต่างๆ ของใช้ส่วนตัว เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ของเล่น เป็นต้น และแยกห้องนอน

2.ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกัน ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในบ้านเดียวกันกับผู้ป่วยโรคไอกรน

3.หากลูกน้อยยังเป็นเด็กทารก และมีผู้ป่วยโรคไอกรนอยู่ในบ้าน ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับประทานยาป้องกัน เพื่อไม่ให้เป็นโรคไอกรน

4.หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ อย่าใช้นิ้วมือขยี้ตา หรือแคะจมูก

เครดิต: MedThai

อ่านบทความที่หน้าสนใจเพิ่มเติม คลิก!!

ฉีดวัคซีนป้องกันไอกรน ให้ครบ ป้องกันลูกป่วย

Kid Safety – ป้องกันโรค ‘ไอกรน’ ในเด็ก

โรคในทารกแรกเกิด 10 โรคฮิตลูกมักเป็นในขวบปีแรก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

รวม 20 อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย แบบนี้..! กำลังป่วยเป็นโรคอะไร?

 

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up