หมอแจง! ทำไมลูกตัวเหลือง? อันตรายจากตัวเหลืองในทารก - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
ทำไมลูกตัวเหลือง

หมอแจง! ทำไมลูกตัวเหลือง? อันตรายจากตัวเหลืองในทารก

Alternative Textaccount_circle
event
ทำไมลูกตัวเหลือง
ทำไมลูกตัวเหลือง

ทำไมลูกตัวเหลือง? สาเหตุหลักที่ลูกตัวเหลือง

เมื่อทราบว่าลูกมีค่าสารเหลืองสูงจนผิดปกติ และคุณหมอได้นัดมาตรวจติดตามผลเป็นระยะ หรือ คุณหมอแนะนำให้เข้าตู้อบเพื่อรักษาสารเหลือง ก็อย่างเพิ่งตกใจ พาลไปโทษว่าเป็นความผิดของตัวเองกันนะคะ มาดูสาเหตุที่ทำให้ลูกตัวเหลืองกันก่อนค่ะ แล้วจะเข้าใจ

  1. ภาวะตัวเหลืองธรรมชาติ

ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาจะมีจำนวนของเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่ และมีอายุสั้นกว่าของผู้ใหญ่ เพราะทำหน้าที่รับออกซิเจนผ่านทางสายรกที่ส่งผ่านมาจากเลือดของแม่ เมื่อทารกคลอดจากครรภ์ของแม่จะเริ่มหายใจด้วยปอด เม็ดเลือดแดงชนิดเดิมของทารกจะแตกสลายและเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารบิลิรูบินมากกว่าปกติจนเกินกว่าความสามารถในการกำจัดของร่างกาย และเพราะตับของทารกยังทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้การกำจัดบิลิรูบินด้วยตับยังไม่สมบูรณ์ ทารกจึงเกิดภาวะตัวเหลืองจากการสะสมของสีบิลิรูบิน ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองปกติจะสามารถหายเองได้ในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์และไม่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองของทารก

2. ภาวะตัวเหลืองจากนมแม่

อย่าเพิ่งโทษนมแม่นะคะว่าเป็นตัวการให้ลูกเกิดภาวะตัวเหลือง มีเพียงแค่ 10% ของเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่จะเกิดภาวะนี้ และหากมีอาการตัวเหลืองมาก อาจต้องงดนมแม่ชั่วคราว 24-48 ชม. แล้วจึงกินต่อได้ นอกจากนี้ ยังพบทารกที่มีภาวะตัวเหลืองที่สัมพันธ์กับการดื่มนมแม่ เช่น ทารกได้รับนมแม่น้อยกว่าปกติ น้ำหนักตัวน้อยไม่เป็นไปตามพัฒนาการ พบในทารกที่แม่ขาดประสบการณ์ในการให้นม หรืออาจเกิดจากปัจจัยของตัวทารกเอง เช่น มีภาวะดูดนมยาก ภาวะลิ้นติด เป็นต้น

ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด
การฝึกให้ลูกดูดนมแม่ให้เป็น เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกได้ทานนมอย่างเพียงพอ

3. ภาวะตัวเหลืองจากโรค หรือภาวะผิดปกติอื่น ๆ

  • เกิดภาวะการบกพร่องเอนไซม์ G6PD ส่งผลทำให้เกิดการสะสมของอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ
  • เกิดจากหมู่เลือดของแม่กับลูกไม่เข้ากัน เช่น แม่ที่มีหมู่เลือด Rh ลบกับลูกหมู่เลือด Rh บวก หรือ แม่ที่มีหมู่เลือดโอกับลูกที่มีหมู่เลือดเอบี มีแนวโน้มความรุนแรงมากขึ้นในลูกคนที่สอง เนื่องจากร่างกายแม่จะสร้างภูมิคุ้มกันต่อหมู่เลือดที่ไม่เข้ากันกับทารก
  • รูปร่างเม็ดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด
  • เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด
  • ภาวะท่อหรือทางเดินน้ำดีตีบตันหรือโป่งพอง

จะเห็นได้ว่าสาเหตุที่เกิดภาวะตัวเหลืองในทารกนั้น มักจะเกิดจากสาเหตุธรรมชาติ ที่ไม่มีอันตรายใด ๆ โดยจะมีทารกเพียงไม่กี่ % เท่านั้นที่เกิดภาวะตัวเหลืองจากสาเหตุอื่น ๆ ดังนั้น ควรดูแลลูกน้อยที่มีภาวะตัวเหลืองโดยการคอยสังเกตอาการลูก เช่น สังเกตสีอุจจาระหรือปัสสาวะ สังเกตความผิดปกติอื่น ๆ และเลี้ยงทารกด้วยนมแม่ โดยแนะนำให้ปรึกษาพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่จากคลินิกนมแม่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกได้ทานนมเพียงพอ หากพบสิ่งผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

สีปัสสาวะ สามารถบอกภาวะขาดน้ำได้

หยอดโรต้า ฟรี!! ปี 2562 แม่ๆ อย่าลืมพาลูกไปรับวัคซีน

แจกคัมภีร์ การดูแลลูก ครบทุกช่วงวัย ตั้งแต่ “แรกเกิด – 12 ปี”

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up