• รับฟัง เปิดโอกาสให้ลูกได้ระบายความรู้สึกในใจออกมาอย่างเต็มที่ ดร.เกล เฮย์แมน นักพัฒนาการเด็กจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานดิเอโก ยกตัวอย่าง “เป็นเรื่องน่าเศร้านะ ที่ลูกกับแนนจะไม่ได้ใช้เวลาด้วยกันอีกแล้ว”และควรให้เวลาลูกได้ระบายความรู้สึก อย่าเพิ่งรีบตัดบท แม้ว่าสุดท้ายคุณจะส่งคำปลอบใจไม้ตายให้ลูก “คนนิสัยน่ารักอย่างลูกแม่จะต้องมีเพื่อนใหม่ที่น่ารักอย่างแนนแน่นอนจ้ะ”
• หากิจกรรมใหม่ๆ ให้ลูกทำ อาจจะพาลูกไปเล่นกีฬา สอนวาดรูปเล่นเกมต่างๆ แต่ต้องไม่กดดันลูกมากจนเกินไป และไม่ใช่คำสั่งดร.เฮย์แมนกล่าวเตือน เป็นเรื่องที่ดีที่จะเบี่ยงเบนความสนใจลูกไปที่อื่น แต่ไม่ดีแน่ถ้าหากคุณคิดจะหาอะไรมาแทนที่ ทั้งที่ความรู้สึกของเขายังไม่พร้อม เรื่องแบบนี้ต้องให้เวลาลูกทำใจจะดีกว่า
• สอนวิธีการติดต่อเพื่อน เป็นโอกาสที่ดีที่คุณจะได้สอนลูกให้ใช้บรรดาโซเชียลเน็ตเวิร์คให้เป็นประโยชน์ อาจจะสอนให้ลูกส่งเมลหรือเล่นสไกป์ ที่สามารถเห็นหน้าเห็นตาเพื่อนเก่าได้ แต่สุดท้ายแล้วสิ่งสำคัญก็คือ ให้เวลาลูกและเป็นกำลังใจให้เขาก้าวต่อไปค่ะ ด.ช.ปฏิภาณ บุญเจริญสุขกุล
บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง