ระวังลูกเสพติดแบรนด์เนม & วัตถุนิยม - Amarin Baby & Kids

ระวังลูกเสพติดแบรนด์เนม & วัตถุนิยม

Alternative Textaccount_circle
event

                  อาการของคนเป็นโรคนี้ก็คือเห็นอะไรเป็นเงินเป็นทองหมด เห็นหาดสวย  ภูเขาสวยก็นึกถึงการทำรีสอร์ททันที คิดสะระตะว่าเขาจะขายไหมและจะเอามาหาเงินได้อย่างไร  มิได้คิดว่ามันเป็นสิ่งงดงามโดยธรรมชาติและเป็นของมนุษยชาติ     

 
                  นอกจากนี้ก็เป็นคนติดแบรนด์เนมราคาแพงงอมแงม บางครั้งถึงไม่มีเงินซื้อในปัจจุบันก็ซื้อเชื่อผ่านบัตรเครดิตไปก่อนก็ได้

 
                  คนเป็นโรคนี้จะมีอาการของการเป็นคนชอบใช้เงิน และเชื่อว่าเงินแก้ไขทุกปัญหาได้ ถ้าจะไม่ให้ลูกติดโรคนี้ พ่อแม่ก็ต้องไม่เป็นโรคนี้ก่อนละครับ

 

 

ในโลกทุนนิยม ทุกคนก็ติดโรคนี้ด้วยกันทั้งนั้น ถึงแม้จะยังไม่มั่งคั่งพรั่งพร้อมก็ตามที ประเด็นจึงอยู่ที่ดีกรีของการติดเชื้อโรคนี้ พ่อแม่ช่วยลูกไม่ให้ติดโรคนี้ในดีกรีงอมแงมได้ครับ

 
1)    การไม่ท่องบ่นมนตรา “แบรนด์เนม” อยู่ตลอดเวลา     

 
                  พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องซื้อของแบรนด์เนมให้ลูกเห็นในทุกเรื่องโดยอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าแต่ละกรณีก็มีความเหมาะสมไม่เหมือนกัน บางครั้งการซื้อของแบรนด์เนมทำให้ได้ประโยชน์จากเงินมากกว่าถ้าหากมีเงินซื้อ กล่าวคือทนทานกว่าและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้

 

 

 
2)  ไม่ใช้จ่ายอย่างเขลา ๆ ให้ลูกเห็น    

 
                  เช่น เปลี่ยนโทรศัพท์รุ่นใหม่ทุกสามเดือนหรือไปกินอาหารในที่หรูหราสิ้นเปลืองเงินทองโดยไม่จำเป็น

 

 

 
3)  เข้าใจความสุขแต่ไม่ควรถึงขั้นกระหาย

 
                  ความสะดวกสบายเป็นเรื่องปกติของมนุษย์แต่ไม่ควรกระหายแสวงหามันอย่างไร้เหตุผล เช่น การไปกินอาหารในร้านที่มีการปรับอากาศเป็นความสุข แต่การต้องกินอาหารเฉพาะร้านที่มีเครื่องปรับอากาศเป็นเรื่องไม่เหมาะสม

 

ส่วนการใช้สินค้าแบรนด์เนมหรือใช้สินค้าธรรมดาก็คือการเลือกของมนุษย์ตามปกติซึ่งทุกคนก็ต้องกระทำอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว เพียงแต่จำเป็นต้องใช้จ่ายเงินด้วยจำนวนที่แตกต่างกันมาก  สินค้าแบรนด์เนมคงทนงดงามและก่อให้เกิด “ออร่า” ของการใช้ (มากน้อยบ้างแล้วแต่รสนิยมของคน    บางคนสินค้าแบรนด์เนมไม่มีผลต่อความรู้สึกของเขา “ออร่า” จึงไม่เกิดในสายตาของเขา)

 
ประเด็นสำคัญของการซื้อสินค้าแบรนด์เนมคือการพิจารณาประโยชน์ของการใช้มากกว่าการพิจารณาว่าเป็นสินค้าแบรนด์เนม กล่าวคือ “มองให้ทะลุ” ถึงประโยชน์ของมันและราคาที่สามารถซื้อหามาใช้ให้ได้ มิได้มองว่าเมื่อเป็นแบรนด์เนมแล้วก็ต้องซื้อมาใช้ให้ได้ในทุกกรณี

 
                   คนจำนวนมากซื้อสินค้าแบรนด์เนมเพราะมีความสุขจากการได้เป็นเจ้าของ โดยมิได้คำนึงเรื่องประโยชน์ของมันเป็นเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิได้พิจารณาประโยชน์เมื่อเทียบกับเงินที่ใช้จ่ายไป

 
                   ถ้าพ่อแม่ตกอยู่ในสภาวการณ์เช่นนี้อยู่เสมอ คือไม่สามารถมองทะลุจนเปรียบเทียบประโยชน์และเงินที่จ่ายออกไปได้ก็น่าเป็นห่วงลูกที่จะโตขึ้นเป็นอันมาก          

 

 

บทความโดย:  ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up