คุณอาจช่วยให้เขาสบายใจขึ้นได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
– คุยกับลูกแบบตรงไปตรงมา ในโลกแห่งความเป็นจริง คนเรามักตัดสินคนอื่นๆ ด้วยสิ่งที่เห็นจากภายนอก คุณจึงควรหลีกเลี่ยงคำพูดซ้ำซากประมาณ ขนาดไม่ใช่สิ่งสำคัญแต่ควรแสดงให้ลูกเข้าใจว่าคุณก็รับรู้ว่าเขามีปัญหาในเรื่องนี้โดยพูดว่า การมีรูปร่างที่โดดเด่นกว่าเพื่อนๆ คงทำให้ลูกลำบากใจบ้างเหมือนกัน ใช่มั้ยจ๊ะ และอาจบอกเขาว่า คุณก็มีข้อด้อยทางสรีระที่ทำให้รู้สึกไม่ค่อยมั่นใจอยู่ 2 – 3 อย่าง เพื่อแสดงให้เห็นว่า แม้แต่ผู้ใหญ่ก็ยังรู้สึกกังวลกับรูปลักษณ์ของตัวเองด้วยเหมือนกัน
– ช่วยหาคำพูดโต้ตอบให้ลูกใช้เป็นอาวุธ ถ้าลูกถูกล้อเลียนเรื่องความสูง คำพูดในทำนองปกป้องตัวเองอย่าง อากาศข้างบนนี้สดชื่นกว่าข้างล่างตั้งเยอะแน่ะ ขอบใจนะที่เป็นห่วง หรือการแย็บผู้วิจารณ์ด้วยคำพูดติดตลกอย่าง อยู่ข้างล่างแบบเนี้ย เคยโดนแดดบ้างหรือเปล่า อาจช่วยให้ผู้จู่โจม (ด้วยคำพูด) หมดฤทธิ์ลงอย่างง่ายดาย หรืออาจบอกให้ลูกเตือนความจำของเพื่อนๆว่ามีดารา นักร้อง หรือคนดังคนไหนบ้างที่ตัวเตี้ยหรือสูงกว่ามาตรฐานโดยทั่วไป
– ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ลูกควบคุมได้ อัตราการเจริญเติบโตเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดเดาได้ แต่คุณก็ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าเขาสามารถทำให้รูปร่างดีขึ้นได้ด้วยวิธีอื่น เช่น ทำตัวให้กระฉับกระเฉงโดยการเดินเล่นกับเพื่อนๆ หรือครอบครัว เล่นกีฬาแบบเป็นทีมหรือลองสมัครเรียนเต้นรำ ซึ่งสอนให้เด็กๆรู้จักมั่นใจและภูมิใจในรูปร่างของตัวเอง โดยไม่สนใจว่าจะสูงหรือเตี้ยสักแค่ไหน
บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง