ภาวะเครียดในเด็ก แก้ไขอย่างไร ? - amarinbabyandkids

ภาวะเครียดในเด็ก แก้ไขอย่างไร ?

Alternative Textaccount_circle
event

4. เปลี่ยนโรงเรียนใหม่

การเปลี่ยนโรงเรียนใหม่ หรือการที่เด็กเพิ่งได้ไปโรงเรียนอาจทำให้เด็กๆ เครียด เพราะเขาต้องเจอกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่เขาไม่เคยเจอ บางคนเครียดมากถึงขั้นไม่สบาย ปวดหัว อาเจียน ปวดท้อง หรือบางคนอาจแกล้งป่วยเพราะไม่อยากไปโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่บางคนกลัวว่าลูกจะมีปัญหานี้ก็ป้องกันไว้ก่อนโดยก่อนเปิดเรียนก็พาเด็กๆ ไปเข้าค่ายเตรียมความพร้อมที่โรงเรียนจัดไว้ให้ เพื่อให้เด็กได้คุ้นเคยกับเพื่อนๆ หรือคุณครู หรือพาเด็กไปร่วมกิจกรรมตามที่ต่างๆ ที่มีเด็กๆ รุ่นราวคราวเดียวกัน เช่น พาไปร่วมกิจกรรมอ่านนิทาน ไปทำกิจกรรมที่พิพิธภัณฑ์เด็ก ไปรวมกลุ่มทำกิจกรรมศิลปะ หรือกลุ่มกีฬา เพื่อให้เด็กๆ ได้ปรับตัวและเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น

วิธีแก้ไข คือ คุณพ่อคุณแม่อาจพาลูกๆ ไปทำความรู้จักกับคุณครูและเพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียน โดยให้ลูกได้กล่าวสวัสดีหรือกล่าวทักทายก่อนเพื่อเป็นเปิดตัวเองให้กล้าที่จะเข้าไปหาคนอื่นก่อน เมื่อทำความรู้จักกันแล้วก็ปล่อยให้ได้พูด คุย เล่นกัน โดยคุณพ่อคุณแม่อยู่ใกล้ๆ เมื่อลูกรู้สึกคุ้นเคยกับเพื่อนๆ หรือคุณครูแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ค่อยๆ ห่างออกมา แล้วเขาจะปรับตัวได้และจะรู้สึกสนุกกับการมาโรงเรียนได้เองในที่สุด

5. คิดว่าตัวเองไม่เก่ง

เด็กบางคนเครียดเพราะมีความกดดันที่ตนเองทำอะไรไม่เก่งเหมือนคนอื่น เช่น เรียนไม่เก่งเหมือนพี่น้องคนอื่น ๆ เล่นกีฬาไม่เก่งเหมือนเพื่อนๆ ไม่มีความสามารถพิเศษอะไรเหมือนคนอื่นๆ และเมื่อรู้สึกว่าตนไม่เก่งเท่าใครๆ เขาก็ท้อแท้ไม่อยากทำอะไรอีก จริง ๆ แล้วความเครียดในปัญหานี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะเกิดจากเด็กคิดหรือรู้สึกเอง แต่เกิดจากสิ่งรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครู เพื่อน พูดหรือเปรียบเทียบให้เด็กต้องคิดหรือรู้สึกตาม

วิธีแก้ไข คือ คนที่อยู่แวดล้อมตัวเด็กต้องไม่สร้างความกดดันให้ พ่อแม่ต้องเข้าใจในตัวลูกของตัวเองว่าเขาอาจไม่มีความถนัดในด้านนั้นๆ แค่เขาเป็นเด็กดี ไม่เกเร พยายามเรียน พยายามทำกิจกรรมต่างๆ ก็ดีมากแล้ว แล้วค่อยๆ ลองแสวงหาความถนัดที่แท้จริงของลูกว่าเขาถนัดทางด้านไหน เพื่อให้เขาได้มีโอกาสทำกิจกรรมที่เขาถนัดนั้นและเขาจะทำได้ดี อย่างไรก็ตามแม้เด็กๆ จะไม่เก่งด้านไหนเป็นพิเศษเลยก็ไม่เป็นไร ปล่อยให้เขาได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตามวัยของเขาไป และคอยสนับสนุนให้เขาได้ทำในสิ่งที่เขาอยากทำก็พอแล้ว ดีกว่าไปบังคับ ยัดเยียด จนอาจกลายเป็นการสร้างความเครียดอันหนักอึ้งให้กับเขา แล้วจะกลายเป็นความล้มเหลวไปเสียทุกอย่าง

พ่อแม่หรือผู้ใหญ่บางครอบครัว อาจจะมองว่าปัจจัยที่ทำให้เด็กๆ เกิดความเครียดเป็นเรื่องเล็กน้อยๆ แต่หากมองเข้าไปจริงๆ จะพบว่าปัจจัยที่นำไปสู่ภาวะเครียดในเด็ก ทั้งหมดนี้หากไม่ได้รับการแก้ไข ก็อาจส่งผลกระทบต่ออนาคตของเด็กในวันข้างหน้าได้อย่างมาก …ด้วยความห่วงใยค่ะ

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจ
รักใสวัยกระเตาะ
หลากเทคนิคศิลปะ ชวนวัยเรียนสนุก+สร้างจินตนาการ
เรียนแบบไหน? ส่งเสริมให้ลูกน้อยเก่งรอบด้าน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
1นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ.http://www.bangkokhealth.com/
2ดร.แพง ชินพงศ์.http://www.manager.co.th/

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up