6 สิ่งที่สกัดกั้นการพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ ของลูก

event

เด็กที่มี ความคิดสร้างสรรค์ มักเป็นเด็กที่ฉลาดและประสบความสำเร็จได้ง่ายในวันข้างหน้า … ซึ่งการกระตุ้นให้ลูกมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีได้นั้นควรเริ่มตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ  ซึ่งพ่อแม่ต้องคอยสนับสนุน และระมัดระวังในการสอน ที่นอกจากจะไม่กระตุ้นความคิดให้ลูกแล้วยังเป็นการปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของลูกไปอย่างถาวรได้อีกด้วย

สิ่งที่สกัดกั้นการพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ ของลูก

ความคิดสร้างสรรค์ เป็นทักษะที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน ติดตัวมาตั้งแต่เกิดเพื่อรอการบ่มเพาะและดูแลให้งอกงาม แต่น่าเสียดายที่คนจำนวนมากเข้าใจผิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นเรื่องของ “พรสวรรค์” ที่มีอยู่ในคนบางคนเท่านั้น เป็นเรื่องส่วนบุคคล ซึ่งถือเป็นอุปสรรคขวางกั้นการพัฒนา ฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนให้เป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ

ความคิดสร้างสรรค์ มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ

  1. เป็นความคิด ประดิษฐ์ หรือการทำที่แปลกใหม่ เป็นผลงานที่ริเริ่มเอง ไม่มีตัวอย่างไว้ให้มีประโยชน์มีคุณค่า
  2. เป็นความคิดหรือการกระทำที่แก้ปัญหาได้ โดยสามารถมองหาทางเลือกหลายทิศหลายทางในการแก้ปัญหา
  3. เป็นความคิดริเริ่มที่แสดงออกอย่างมีหลักเกณฑ์ มีความคงทน และสามารถดัดแปลงพัฒนาไปจนถึงจุดที่สมบูรณ์ได้

หลักการที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ 

  1. การใช้สมองซึกขวาเชื่อมโยงกับสมองซีกซ้าย
  2. การฝึกการคิดนอกกรอบ
  3. การฝึกการคิดทางบวก
  4. การฝึกการคิดแบบริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น และละเอียดลออ

การคิดนั้นอาจคิดได้หลายอย่าง จะคิดให้วัฒนะ คือ คิดแล้วทำให้เจริญงอกงามก็ได้ จะคิดให้หายนะ คือ คิดแล้วทำให้พินาศก็ได้ การคิดให้เจริญจึงต้องมีหลักอาศัย หมายความว่า เมื่อคิดเรื่องใด สิ่งใด ต้องตั้งใจให้มั่นคงในความเป็นกลางไม่ปล่อยให้อคติอย่างหนึ่งอย่างใดครอบงำ ให้มีแต่ความจริงใจตามเหตุผลที่ถูกต้องและเป็นธรรม

♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : 3 หัวใจหลัก เลี้ยงลูกด้วยธรรมะ เสริมภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต

ความคิดสร้างสรรค์กับพัฒนาการตามวัย

พัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก
• อายุ 0-2 ปี มีพัฒนาการด้านจินตนาการ อายุ 2 ปี มีความพร้อมที่จะสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
• อายุ 2-4 ปี ตื่นตัวกับสิ่งแปลกใหม่ ใช้จินตนาการกับการเล่น มีความเป็นตัวของตัวเองสูง แต่ช่วงความสนใจสั้น
• อายุ 4-6 ปี สนุกกับการวางแผน สนุกกับการเล่น การทำงาน ชอบเล่นสมมติและทดลองเล่นบทบาทต่าง ๆ โดยใช้จินตนาการ มีความสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ แม้จะเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลได้ไม่ดีนักพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ในเด็กวัยเรียน
• อายุ 6-8 ปี จินตนาการสร้างสรรค์เปลี่ยนไปสู่ความจริงมากขึ้นชอบบรรยายถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นคำพูดรักการเรียนรู้และต้องการประสบการณ์ที่ท้าทายและสร้างความสนุกสนาน
• อายุ 8-10 ปี สามารถสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ โดยใช้ความสามารถเฉพาะตัว มีความสามารถในการเรียบเรียงคำถาม ความอยากรู้อยากเห็นเพิ่มพูนมากขึ้น
• อายุ 10-12 ปี ชอบการสำรวจค้นคว้า ชอบการทดลอง มีสมาธิหรือช่วงความสนใจนานขึ้น เด็กผู้หญิงชอบเรียนรู้จากหนังสือและการเล่นสมมติ เด็กผู้ชายชอบเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงช่วงวัยนี้จะมีพัฒนาการด้านศิลปะและดนตรีจุดอ่อนคือเป็นช่วงวัยที่ขาดความมั่นใจในผลงานของตนเอง ความคิดสร้างสรรค์ลดลงบางช่วง เพราะเป็นช่วงที่พยายามปรับตัวเข้ากับกลุ่มเพื่อน เลียนแบบเพื่อน ลดความคิดอิสระ

อ่านต่อ >> “6 สิ่งที่สกัดกั้นการพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ของลูก” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up