ส่งลูก เรียนก่อนเกณฑ์ ต้นเหตุ เด็ก 8 ขวบคิดฆ่าตัวตาย - Amarin Baby & Kids
เรียนก่อนเกณฑ์

ส่งลูก เรียนก่อนเกณฑ์ ต้นเหตุ เด็ก 8 ขวบคิดฆ่าตัวตาย

Alternative Textaccount_circle
event
เรียนก่อนเกณฑ์
เรียนก่อนเกณฑ์

ซึมเศร้าในเด็ก ภัยเงียบที่อาจคร่าชีวิตเด็กคนหนึ่งไป หากพ่อแม่ไม่ทันได้สังเกตและรักษาได้ทัน ดังเช่น อุทาหรณ์จากคุณแม่ท่านหนึ่งที่ลูกวัย 8 ขวบคิดอยากฆ่าตัวตายเพราะ เรียนก่อนเกณฑ์

ส่งลูก เรียนก่อนเกณฑ์ ต้นเหตุ เด็ก 8 ขวบคิดฆ่าตัวตาย

ทีมงาน Amarin Baby & Kids ขอนำอุทาหรณ์จากคุณแม่ท่านหนึ่งที่ให้ลูกเข้าเรียนก่อนลูกจะอายุถึงเกณฑ์หรือ เรียนก่อนเกณฑ์ จนเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นโรคซึมเศร้าในเด็ก จนคิดอยากฆ่าตัวตาย

ลูกของคุณแม่ท่านนี้ เรียนอยู่ในชั้น ป.3 ในขณะที่มีอายุ เพียง 8 ขวบ เนื่องจากเข้าเรียน ป.1 ตั้งแต่อายุ 5 ขวบปลาย ๆ ทำให้เริ่มรู้สึกเก็บกดและเครียดกับการเรียนจากการเข้าเรียนไว และรับวิชาการมากเกินไป จึงเข้ากับเพื่อน ๆ ไม่ค่อยได้ เพราะอายุที่แตกต่างกับเพื่อนร่วมห้องถึง 2 ปี ซึ่งตามเกณฑ์ปกติเข้าเรียน ป.1 ต้องมีอายุ 7 ขวบ แต่ที่ส่งลูกเข้า เรียนก่อนเกณฑ์ เนื่องด้วยต้องทำงาน ตอนลูกเรียนอนุบาลไม่ได้มีปัญหาอะไร ก่อนย้ายมาเข้า ป.1 ที่โรงเรียนแห่งใหม่ สอบถามและแจ้งครูที่รับเข้าเรียนว่าอายุลูกไม่ถึงเกณฑ์เรียนได้ไหม จะให้ซ้ำชั้นหรือเปล่า ครูบอกไม่เป็นอะไร จึงตัดสินใจให้ลูกเข้าเรียน ป.1 โดยระหว่างเรียน คุณแม่ได้คอยถามไถ่ด้วยความห่วงใยกับครูประจำชั้นตลอดว่าลูกเรียนได้ไหม ก็ได้รับคำตอบว่าเรียนได้ดี และยังได้เกรด 4 ทุกวิชาด้วย จึงได้เบาใจและคิดว่าลูกจะมีความสุขกับการเรียน

ตอนเรียน ป.1 เป็นปกติดี พอ ป.2 เริ่มเป็นคนเงียบ ถามไม่ตอบ เวลาเรียนจะนั่งเศร้า เหม่อลอย ต่อมามีอาการชอบเก็บตัวคนเดียวในห้อง ชวนไปไหนก็ไม่ไป ไม่อยากเจอเพื่อน ไม่อยากเข้าสังคม จากเด็กร่าเริงกลายเป็นเด็กที่เงียบ ไม่ค่อยพูดกับใคร

จนเมื่อลูกเรียนอยู่ในชั้น ป.3 พอเปิดเทอมได้ 1 อาทิตย์ ลูกอายุใกล้จะ 8 ขวบ ส่วนเพื่อนร่วมห้องอายุ 9 ขวบ บางทีเล่น หรือหยอกกัน ลูกปรับตัวกับเพื่อนไม่ได้ และเรียนวิชาการเยอะเกินสำหรับเด็กจะ 8 ขวบ จนลูกสาวเครียด เบื่อ รู้สึกไม่รับรู้ และเริ่มมีอาการหนัก คือ ไม่อยากไปโรงเรียน เมื่อถึงเวลาจะไปโรงเรียนลูกจะร้องงอแง พอใกล้ถึงโรงเรียนจะมีอาการสั่น จิกตามเข็มขัดนิรภัย ไม่ยอมลงจากรถ ถึงโรงเรียน เมื่อครูถามจะไม่ตอบไม่พูด มีอาการเหม่อลอย และเมื่อกลับจากโรงเรียน ปกติจะมากอดมาหอมแก้มแม่ทุกครั้ง แต่พอมีอาการลูกจะไม่คุย ไม่มองหน้าใครเลย ชอบขังตัวเองคนเดียวอยู่ในห้อง (อ่าน ฮิคิโคโมริ โรคอันตรายของเด็กที่อยู่แต่ในห้อง กลัวการเข้าสังคม) ชวนไปไหนก็ไม่ไป และสังเกตุได้ว่าลูกชอบเล่นกับหมา แล้วใช้ความรุนแรงกับหมา หลัง ๆ เริ่มมีอาการกัดเล็บเวลาเครียดด้ว

โรคซึมเศร้าในเด็ก
โรคซึมเศร้าในเด็ก

ในที่สุด คุณแม่จึงพาลูกไปหาหมอ และหมอได้วินิจฉัยว่าลูกเป็น “ซึมเศร้าในเด็ก” ซึ่งในตอนแรกคุณแม่ไม่เชื่อ เพราะเข้าใจว่าโรคนี้เป็นแต่กับผู้ใหญ่ และคุณหมอยังบอกอีกว่า ลูกบอกไม่อยากอยู่บนโลกนี้แล้ว คิดจะตายแล้ว ตอนนี้ลูกเหมือนเดินอยู่บนเส้นด้าย มีโอกาสพลัดตก ร่วงหล่นได้ทุกเวลา

หลังทราบข่าวร้ายจากคุณหมอ และได้ฟังเรื่องราวความจริงต่าง ๆ ของลูกที่ต้องเจอในโรงเรียน จึงได้นึกย้อนเหตุการณ์ต่างๆ ตามยิ่งทำให้คุณแม่รู้สึกเสียใจ และไม่คาดคิดว่าความหวังดีของ “พ่อ แม่” จะเป็นอาวุธร้าย ทำลายลูกโดยไม่รู้ตัว สาเหตุของโรค หลังคุณหมอได้คุยกับลูก ระบุว่าเกิดจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะ “อายุเข้าเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ (เรียนก่อนเกณฑ์)”

“ตอนหมอบอกว่าลูกเป็นโรคซึมเศร้า แม่ได้ยินร้องไห้ไม่อายหมอเลย ไม่คิดว่าการที่น้องเก็บกดจากการเรียน การที่อายุต่างจากเพื่อนจะมีผลขนาดนี้ รู้ว่าพ่อแม่หวังดีกับลูก แต่สุดท้ายความหวังดีอาจทำร้ายลูกไม่รู้ตัว เด็กบางคนรับได้ แต่เด็กบางคนอาจจะรับไม่ได้ อยู่ที่หลายๆ อย่างด้วย บางคนจำใจรับ ไม่ต้องการแต่ไม่กล้าพูด ไม่กล้าบอก พ่อแม่บางคนคิดว่าไม่เกี่ยว แต่พอเจอกับตัวเองก็เพิ่งมาเข้าใจเหมือนกัน” คุณแม่กล่าวด้วยน้ำเสียงสลด

คุณหมอกล่าวกับคุณแม่ว่า เด็กแต่ละอายุจะมีการพัฒนาการต่างกัน เช่น เด็กอายุ 3 เดือนกับเด็กอายุ 6 เดือน แม้จะห่างกันแค่ 3 เดือน แต่จะมีความแตกต่างกันหลายๆ อย่าง ทั้งอารมณ์ พัฒนาการต่างๆ ความคิด ซึ่งจากการได้พูดคุย ลูกของคุณแม่ เคยโดนเพื่อนแกล้งเล่น ขังในห้องน้ำ จนทำให้ไม่อยากไปเรียน เพราะไม่มีความสุข

ด้านการรักษา คุณหมอให้ยามากิน นัดพบทุก 2 อาทิตย์ และเดือนละครั้ง เพื่อติดตามอาการและประเมินการรักษาผลจากยาที่ให้กิน มีปฏิกิริยาอะไรบ้าง ซึ่งจากเดิมให้กินยาวันละมื้อ แค่ตอนเช้า แต่ยังไม่ได้ผล ตอนนี้หมอเปลี่ยนยา และเพิ่มขนาดยาให้มากขึ้น สำหรับพ่อแม่ในการช่วยบำบัดอาการของลูก คุณหมอแนะนำวิธีเธอว่า ต้องเข้าใจลูกให้มากขึ้น คอยสังเกตอาการลูก ถ้าเริ่มมีอาการ ให้กอดหรือพูดคุยกับลูก หากิจกรรมให้ทำ ไม่กดดันลูก มีเวลาให้ลูกมากขึ้น โดยเธอจะให้ลูกเรียนดนตรี เพื่อดนตรีจะช่วยบำบัดลูกได้อีกทาง และคุณแม่ยังป้องกันด้วยการย้ายให้ลูกมาอยู่โรงเรียนเล็ก ๆ ที่ไม่มีตึกสูง ในห้องมี 10 กว่าคน เพื่อให้ครูได้ดูแลทั่วถึง โรงเรียนมีพักเบรก เรียนแค่ไม่กี่วิชา คุณแม่ยังบอกอีกว่าแม่อยากให้เรื่องนี้ที่เกิดกับครอบครัวแม่ ให้คนอื่นรับรู้ ได้นำไปแก้ไขก่อนที่จะสาย บางทีให้ลูกเข้า เรียนก่อนเกณฑ์ ก็ไม่ได้เป็นผลดี ให้ลูกโตและพัฒนาไปตามวัยดีกว่า ช้าหน่อยแต่ดีกว่าไปกดดันลูก เด็กแต่ละคนไม่ได้เหมือนกันทุกคน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ เรียนก่อนเกณฑ์ จนเป็นโรคซึมเศร้าในเด็ก จะมีอาการอย่างไร?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up