ลักษณะปัญหาที่ลูกทะเลาะกัน
- พยายามทำร้ายร่างกายอีกฝ่ายอย่างชัดเจน
- พูดว่าไม่อยากมีพี่หรือน้อง
- ต่อล้อต่อเถียง
- เมินเฉย ไม่ดูแล ไม่แบ่งปันกัน
- อาจดีต่อกันในบางครั้ง แต่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อหน้าพ่อแม่
- ในตอนแรก ลูกอาจไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการมีน้องใหม่ แต่เมื่อลูกโตทันกันและแย่งของเล่นกัน ความโกรธแค้นคับข้องใจจึงเข้ามาแทนที่
ทั้งนี้ปัญหาอาจเพิ่มมากขึ้น เมื่อลูกมีนิสัยชอบเข้าสังคมและสามารถสร้างเพื่อนใหม่ได้มากมาย จนทำให้ลูกไม่สนใจพี่หรือน้องของตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างพี่กับน้องจึงอาจใกล้ชิดกันได้มากในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ในทางกลับกัน ย่อมมีอีกหลายช่วงเวลาที่ความรู้สึกอิจฉาจากการเปรียบเทียบและแข่งขันกันทำให้พี่กับน้องต้องผิดใจกัน ซึ่งปัญหาที่ลูกทะเลาะอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น
- ความห่างระหว่างอายุ
- ความลำเอียงหรือการเลือกที่รักมักที่ชัง
- การหย่าร้างของพ่อกับแม่และความแตกแยกของครอบครัว
- การรับอุปการะและการรับเป็นบุตรบุญธรรม
- ความเจ็บป่วยรุนแรง และการไร้ความสามารถของพี่หรือน้อง
- ปัญหาทางจิตใจของเด็ก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กก่อนวัยเรียน ที่ยังไม่มีวุฒิภาวะมากพอที่จะจัดการกับปัญหาอารมณ์ของตนเอง อันสามารถส่งผลให้ปัญหาที่เล็กที่สุดกลายเป็นสาเหตุหลักของการทะเลาะกันอย่างรุนแรง
เรียกได้ว่าการทะเลาะกันของพี่น้องสามารถส่งผลต่อครอบครัวได้นานาประการ โดยเฉพาะเมื่อปัญหาการทะเลาะกันมีความรุน แรงเกินขอบเขต ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องศึกษาหาสาเหตุของพฤติกรรมทะเลาะกันของลูกให้ดีเสียก่อน และเมื่อรู้แล้วก็เตรียมวิธีการที่จะลดความรุนแรงของการกระทบกระทั่งกัน Amarin Baby & Kids จึงมีคำแนะนำดี ๆ ที่จะช่วยยับยั้งปัญหา ลูกทะเลาะกันทุกวัน มาฝาก ดังนี้ค่ะ…⇓