รับมืออย่างไร? เมื่อลูกติด “กลาก เกลื้อน” มาจากโรงเรียน
eczema

รับมืออย่างไร? เมื่อลูกติด “กลาก เกลื้อน” มาจากโรงเรียน

Alternative Textaccount_circle
event
eczema
eczema

healththerapy

“เกลื้อน” เป็นโรคเชือราที่พบบ่อยในผิวหนังบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น หน้า ต้นคอ หน้าอก หลัง เป็นต้น   ลักษณะของผื่นจะเป็นวงเล็กๆ ขนาดตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรขึ้นไปรอบรูขุมขน จนเป็นปื้นให่ อาจมีสีซีดจางกว่าผิวหนังบริเวณข้างเคียง มีเศษขุยละเอียด หรือสะเก็ตของผิวหนังที่แห้งขูดออกมาได้

Atopic-eczema

สาเหตุของการเกิดเกลื้อน

  1. ช่วงอายุ โดยเฉพาะลูกวัยรุ่นจะมีโอกาสพบรอยเกลื้อนได้มากกว่าช่วงวัยอื่นเพราะมีฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่า
  2. พันธุกรรม คนที่มีผิวหนังหลุดลอกง่ายจะมีโอกาสได้รับเชื้อเกลื้อนมากกว่าคนทั่วไป
  3. การอยู่ในที่อบอ้าว มีเหงื่อไหลออกมาก  หากลูกไม่รักษาความสะอาดอาจจะทำให้คัน
  4. หากลูกรับประทานอาหารไม่ครบตามหลักโภชนาการ จะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางอย่างจนกลไกด้านภูมิคุ้มกันไม่สมบูรณ์
  5. อาจมีสาเหตุมาจากความเครียดและการใช้ยาต้านแบคทีเรียบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน

vcharkarn

วิธี “ป้องกัน” และ “รักษาเกลื้อน”

  1. หากลูกเป็นเด็กที่เหงื่อออกมากเวลาเล่นกีฬา จำเป็นต้องให้อาบน้ำหลังเล่นกีฬา ซับเหงื่อให้แห้ง และเปลี่ยนชุดใหม่
  2. ดูแลสุขลักษณะอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่  เสื้อผ้า  ผ้าเช็ดตัว  หวี  ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น  และรู้จักทำความสะอาดของใช้ส่วนตัว  นำไปตากแดดบ้าง
  3. หากสงสัยว่าเป็นรอยเกลื้อน ควรพาลูกไปพบแพทย์ผิวหนังและส่งตรวจบริเวณที่เป็น เพื่อจะได้รับยาทาที่เฉพาะกับโรค  ไม่ควรซื้อยามาทาเอง เพราะจะทำให้หายช้า หรือไม่หาย

images (2)

นอกจากทั้งสองโรคนี้แล้ว  ยังมีโรคผิวหนังที่เกี่ยวข้องกับเด็กและผู้ใหญ่  ซึ่งอาจจะติดต่อไปสู่กันและกันได้  โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

  1. โรคผิวหนังจากเชื้อไวรัส เช่น   โรคสุกใส   โรคงูสวัด   หูด
  2. โรคผิวหนังจากแบคทีเรีย เช่น  แผลผุพอง  คุ่มน้ำใสบนผิวหนัง
  3. โรคผิวหนังจากเชื้อรา เช่น   เชื้อราในร่มผ้า
  4. โรคผิวหนังจากปรสิต เช่น   เหา   หิด

cai md chula d]kd

โรค ”กลาก เกลื้อน” นี้มีความคล้ายกันอยู่บ้าง แต่หากรักษาผิดวีธีจะทำให้สูญเสียความสวยงามและก่อให้เกิดความรำคาญ คันเวลาเหงื่อออก  เมื่อหายแล้วสามารถเกิดขึ้นใหม่ซ้ำได้อีก จึงต้องอาศัยการรักษาความสะอาดอย่างมาก และไม่ควซื้อยามารับประทานเอง ควรพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง ป้องกันการลุกลามและแทรกซ้อนทำให้โรคกระจายมากขึ้น และคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องใส่ใจเรื่องสุขอนามัยของลูกให้มากนะคะ  ด้วยความปรารถนาดีจาก AMARIN Baby & Kids ค่ะ

banner300x250

ที่มาจาก :
เรื่อง “กลาก เกลื้อน : โรคยอดนิยมประจำเมืองร้อน” จากเว็บไซต์หมอชาวบ้าน (https://www.doctor.or.th/article/detail/4670)

เรื่อง “มารู้จักเกลื้อนกันเถอะ!!”  จากหน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
(http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=7)

เรื่อง “โรคติดเชื้อผิวหนังที่พบบ่อยในเด็กและผู้ใหญ่” จาก เว็บไซต์บ้านเมือง (http://www.banmuang.co.th/news/bangkok/48892)

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up