การดูแลเด็กวัยประถม ปัญหาพฤติกรรมในเด็กวัยเรียน อายุประมาณ 6-12 ปี

อยากทำสวนครัว แต่ไม่มีที่ ง่ายนิดเดียว

หากที่บ้านไม่มีบริเวณหรือไม่มีสนามกว้างๆ อาจจะหากระถางหรือกระป๋องใบเล็กๆ หรือถ้าบ้านคุณเป็นคอนโดมิเนียมก็ทำสวนตรงระเบียงก็ได้ค่ะ

ฝึกลูก…กระโดดน้ำ


หลังจากว่ายน้ำอยู่ในสระเด็กมาพักใหญ่ คราวนี้ถึงเวลาแล้วที่ลูกจะอยากกระโดดน้ำในสระผู้ใหญ่ เอ้าคุณแม่ต้องระวังอะไรบ้าง สังเกตว่าลูกพร้อมหรือยัง

เมื่อลูกสาวอยากย้อมผมสีทอง

แม่ก็รู้ละว่าลูกอยากค้นหาตัวตน อยากเป็นตัวเอง อยากสวย แต่เรื่องอย่างนี้บางทีแม่ก็ตัดสินใจยากเหมือนกันนะลูก… พ่อแม่จะทำอย่างไรดี?

ไม่อยากให้ลูกไปบ้านเพื่อน

ช่วงนี้ลูกสาววัย 9 ขวบมักจะขอไปบ้านเพื่อนแต่ฉันไม่ค่อยชอบวิถีการใช้ชีวิตของครอบครัวเพื่อนลูกคนนี้นัก จึงไม่อยากให้ลูกไปฉันควรจะอธิบายเรื่องนี้อย่างไรคะ

“ส่วนสูง” เรื่องกวนใจสำหรับลูก

หากช่วงนี้ลูกรู้สึกกังวลใจเพราะเพื่อนๆกำลังสนุกกับการล้อเลียนเรื่องส่วนสูง เรามีวิธีให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยคลายกังวลให้ลูกมาให้อ่านกันค่ะ

เมื่อลูกโต…อาละวาด! จัดการอย่างไร

คุณแม่จิ๋วเกิดมีงานด่วนต้องเข้าออฟฟิศในวันเสาร์ที่วางแผนจะพาน้องนนท์ไปเที่ยวสวนสนุกพอดี พอพ่อหนูรู้เรื่อง เขาก็โมโหจนร้องไห้โฮดังลั่นทำเอาคนทั้งบ้านตกใจ

ควรแคะขี้หูให้ลูกๆไหม

คุณพ่อคุณแม่หลายคนเข้าใจว่า “ขี้หู” เป็นของเสียจากร่างกายที่ต้องกำจัดทิ้ง ด้วยการแคะ เช็ด ล้าง ฯลฯ แต่ความจริง ขี้หูมีประโยชน์กว่าที่เราคิดเยอะ ไม่เชื่อลองมาฟังกันดู

วิธีจัดการ ลูกทำของหายบ่อยๆ

โมโหไปก็เปล่าประโยชน์ ถ้ามัวแต่ตะโกนโวยวายหรือดุใส่ละก็ ลูกจะไม่มีวันเล่าให้คุณฟังเลยว่าของหายไปได้อย่างไร หรือเมื่อไร มีแต่จะปิดปากเงียบแน่

พาลูกเรียนรู้และเข้าใจ “เรื่องร้าย”


แม่สามีของดิฉันป่วยเป็นมะเร็งขั้นร้ายแรง และคิดว่าสถานการณ์ไม่ดีเท่าไรนัก ดิฉันควรจะอธิบายอย่างไรให้ลูกๆ เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้คะ

สอนลูกให้อาบน้ำคนเดียว

ในสายตาของเด็กวัยนี้ การอาบน้ำในอ่างโดยมีคุณคอยใช้ฟองน้ำถูตัวให้กลายเป็นเรื่องของเบบี๋ไปเสียแล้ว เรามีคำแนะนำสำหรับพ่อแม่เพื่อให้ลูกอาบน้ำคนเดียวอย่างปลอดภัยค่ะ

สารพันวิธีช่วย เมื่อลูกรักหมดกำลังใจ

ถ้าหากวันหนึ่งเจ้าหนูนักกีฬาที่เคยชอบเตะฟุตบอลนักหนาเกิดอาการเซ็ง ทดท้อ และอยากเลิกเล่นขึ้นมา พ่อแม่จะทำอย่างไรดี

แอบเสียใจ ลูกรัก พ่อ มากกว่า แม่

ลูกวัย 10 ขวบรักพ่อมากกว่ารักแม่ เวลาอยู่กันสามคน ลูกจะเมินฉันไปเลย ฉันจะทำอย่างไรดีคะ

วิธีแนะนำลูกแสดง “ความเห็นต่าง” อย่างเหมาะสม

“ตอนเป็นเด็กก็มักจะคิดหรือเชื่อตามคำผู้ใหญ่พูด แต่พอเข้าวัยทวีน ลูกคุณเริ่มตั้งคำถามหรือมีความสงสัยต่อเรื่องอำนาจหรือกติกา นั่นแสดงว่าลูกคุณกำลังเริ่มพัฒนาค่านิยมเรื่องต่างๆ แล้ว”

ชวนลูกผ่อนคลาย หลังเลิกเรียน

คุณแม่วรพรไม่รู้จะทำอย่างไรดีเมื่อน้องเปรมวัย 3 ขวบดูเหน็ดเหนื่อยแทบหมดแรงหลังกลับมาจากโรงเรียน ออกอาการหงุดหงิด หรือบางวันก็ร้องไห้กลับมาบ้าน

ลูกชักเบื่อชั้นประถม

ในสายตาผู้ใหญ่ เด็กวัยเรียนแสนสบายมีแต่เรื่องสนุก แต่สำหรับหนูๆ โดยเฉพาะขาโจ๋จอมซนทั้งหลายอาจไม่รู้สึกอย่างนั้น ทำไมน่ะหรือ “ช่วงอนุบาลเป็นช่วงที่เด็กๆ ได้เรียนรู้การเข้าสังคม สร้างเพื่อนใหม่ หรือฝึกทักษะการใช้ชีวิต แต่เมื่อขึ้นชั้นประถม พวกเขาต้องเริ่มต้น ‘เรียน’ อย่างจริงจังมากขึ้น” เพค ไทร์ ผู้เขียน “The Trouble with Boys” อธิบายเพิ่มเติมบรรยากาศการแข่งขัน รวมไปถึงตารางเรียนและการบ้านที่เพิ่มขึ้นเบียดเวลาเล่นและชั่วโมงกิจกรรมสนุกๆ ให้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด   ไม่แปลกที่เด็กผู้ชายวัยซนจะอึดอัดเพราะไม่ได้ปล่อยพลังงานไปกับการเล่น นอกจากนี้พัฒนาการด้านระบบของพวกเขายังช้ากว่าของเด็กผู้หญิง หนุ่มน้อยทั้งหลายจึงรู้สึกว่า การเรียนชั้นประถมนั้นไม่สนุกเอาเสียเลยคุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งกังวล เรามีทางแก้ไขเพื่อลดความรู้สึกแง่ลบแบบนี้มาฝาก   • พูดคุย + ชี้แนะ  ถ้าปกติคุณคุยกับลูกเรื่องชีวิตในแต่ละวันอยู่แล้ว ลองถามรายละเอียดเกี่ยวกับแต่ละวิชาเรียนมากขึ้น เช่น “วันนี้มีเรียนเลขนี่นา หนูทำได้ไหม” หรือ “ชั่วโมงศิลปะวันนี้ ครูให้ทำอะไรจ๊ะ” เปิดโอกาสให้เขาพูดคุยและระบายความคับข้องใจ อย่าลืมชมเชยเมื่อลูกทำได้ดี และแนะนำในวิชาที่เขาไม่ถนัด   • เพิ่มเวลาผ่อนคลาย  ตอนเย็นหลังกลับจากโรงเรียน อย่าเพิ่งบังคับให้ลูกนั่งทำการบ้านหรือจัดตารางเรียนพิเศษจนแน่นเอี๊ยด ลองปล่อยให้เขาได้วิ่งเล่นหรือออกกำลังกายอย่างเต็มที่เพื่อเป็นการปลดปล่อยพลัง เด็กๆ จะได้รู้ว่า อย่างน้อยหนึ่งวันเขาก็มีเวลาได้เล่นตามใจชอบ จะช่วยลดความเครียดยามที่ต้องนั่งเรียนหนังสือลงได้ […]

ลูกโตชอบโกรธแล้วหนี ทำอย่างไรดีล่ะ

จะทำอย่างไรกับลูกสาวขี้งอนดีคะ แม่ดุปุ๊บเป็นผลุนผลันร้องไห้ ขี่จักรยานลับหายไปบ้านเพื่อนทุกที

สอนทำการบ้านวันหยุด แบบไหน ไม่ยืดเยื้อ

การบ้านสุดสัปดาห์เป็นภาระกวนใจของทั้งเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่ เพราะหนูๆมีเวลาทำการบ้านเยอะ แถมยังมีเรื่องมาดึงความสนใจอีกแยะ

วิธีแชร์ห้องนอนอย่างสันติ

ตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงวัยก่อนเรียน พี่น้องส่วนใหญ่จะนอนร่วมห้องกันได้แบบปกติสุขแต่ พอเริ่มโต เด็กๆ ส่วนใหญ่ก็มักอยากมีพื้นที่ส่วนตัวมากขึ้น

keyboard_arrow_up