สำหรับคุณพ่อ คุณแม่คนอื่นๆ ที่เป็นกังวลเรื่องความสูงของลูกน้อย เรามาดูวิธีคำนวณส่วนสูงของลูกน้อยกันค่ะ ว่าแบบไหนเรียกว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อหาทางแก้ไข และรักษาอย่างถูกต้อง ถ้าพบว่าลูกน้อย “ไม่สูง”
การคำนวณส่วนสูง และดัชนีมวลกายของลูกนั้น สามารถคำนวณได้จากความสูงของพ่อแม่ โดยมีหลักการคิดอยู่หลากหลายสูตร อาจมีการคลาดเคลื่อนกันบ้างเล็กน้อย ส่วนการคำนวณดัชนีมวลกายสามารถคำนวณได้จาก น้ำหนัก และส่วนสูง ควบคู่กัน เพราะปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการความสูง และพัฒนาการทางร่างกาย ได้แก่ พันธุกรรม ฮอร์โมน การออกกำลังกาย โภชนาการ และการนอนหลับ
สูตรคำนวณความสูง (เมื่อลูกโตเต็มที่)
ความสูงลูกชาย = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ + 13) / 2 ได้ความสูงบวกลบประมาณ 8 เซนติเมตร
ความสูงลูกสาว = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ – 13) / 2 ได้ความสูงบวกลบประมาณ 6 เซนติเมตร
สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย
ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก / (ส่วนสูง/100) ยกกำลัง 2
- 40 หรือมากกว่านี้: โรคอ้วนขั้นสูงสุด
- 0 – 39.9: โรคอ้วนขั้นที่ 2 ถ้ามีเส้นรอบเอวมากกว่าเกณฑ์ปกติ จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วนสูง ต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างจริงจัง
- 5 – 34.9: โรคอ้วนขั้นที่ 1 ถ้ามีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. (ชาย) 80 ซม. (หญิง) จะมีโอกาสเป็นโรคความดัน เบาหวาน ต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
- 5 – 28.4: น้ำหนักเกินแล้ว ถ้ากรรมพันธุ์เป็นโรคเบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง ต้องพยายามลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 23
- 5 – 23.4: น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ค่อยมีโรคร้าย ความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง น้อยกว่าคนอ้วน
- น้อยกว่า 5: น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ถ้าออกกำลังกายมาก รับสารอาหารไม่เพียงพอ ควรรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และมีพลังงานเพียงพอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
ค่า BMI คือค่าที่แสดงถึงดัชนีความอ้วน หรือผอมของร่างกาย วัดเพื่อดูว่ามีอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะถ้าเป็นโรคอ้วนแล้ว จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจขาดเลือด และโรคนิ่วในถุงน้ำดี และเด็กที่ผอมเกินไปก็เสี่ยงติดเชื้อเพราะร่างกายมีประสิทธิภาพการทำงานลดลง ฉะนั้นควรรักษาน้ำหนักส่วนสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่