การที่เด็กตัวเตี้ยนั้น เกิดมาจากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ภาวะตัวเตี้ยตามพันธุกรรม หรือภาวะตัวเตี้ยจากการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวช้า ซึ่งโดยปกติแล้ว อัตราการเจริญเติบโตของเด็กๆ ในแต่ละวัย มีดังนี้
- แรกเกิด – 1 ขวบ ความสูงเพิ่มขึ้น 25 เซนติเมตรต่อปี
- 1 – 2 ขวบ ความสูงเพิ่มขึ้น 12 เซนติเมตรต่อปี
- 2 – 4 ขวบ ความสูงเพิ่มขึ้น 7 เซนติเมตรต่อปี
- 5 – 12 ขวบ ความสูงเพิ่มขึ้น 4-6 เซนติเมตรต่อปี
- 13 ปีขึ้นไป ผู้หญิงความสูงเพิ่มขึ้น 7 เซนติเมตรต่อปี และผู้ชายความสูงเพิ่มขึ้น 8 เซมติเมตรต่อปี
เมื่อไหร่ควรพาลูกไปหาหมอ?
ถ้าคุณพ่อ คุณแม่สังเกตเห็นลูกน้อยไม่สูงขึ้นเลยในช่วง 1 – 2 ปี หรือมีความสูงน้อยกว่าเกณฑ์ แนะนำให้พาลูกน้อยไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ และหาทางแก้ไขที่ถูกต้อง เมื่อคุณพ่อ คุณแม่พาลูกมาพบแพทย์แล้ว แพทย์จะซักประวัติเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน การรับประทานอาหาร และวินิจฉัยหาสาเหตุ
แพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาความสูง เอาไว้ดังนี้
1.การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย เพื่อให้คุณพ่อ คุณแม่ให้ลูกน้อยเติบโตอย่างเหมาะสม
2.การแบ่งเวลาในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ชั่วโมงที่เหมาะสมในการนอนของแต่ละช่วงวัย และการออกกำลังกาย
3.การดูแล ให้ความรัก และเอาใจใส่ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการช่วยส่งเสริมทางด้านจิตใจ และพัฒนาการ ทำให้ลูกน้อยเติบโตสมวัย
สำหรับการรักษานั้น คุณหมอจะมีวิธีการรักษา เช่น การฉีดยากระตุ้นการเจริญเติบโต เป็นต้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่