ช่วยด้วย ลูกอาหารเป็นพิษ ปวดท้อง อาเจียนไม่หยุด - Amarin Baby & Kids
ลูกอาหารเป็นพิษ

ช่วยด้วย ลูกอาหารเป็นพิษ ปวดท้อง อาเจียนไม่หยุด

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกอาหารเป็นพิษ
ลูกอาหารเป็นพิษ

ช่วยด้วย ลูกอาหารเป็นพิษ ปวดท้อง อาเจียนไม่หยุด

โรงเรียนเปิดแล้ว เด็ก ๆ ก็จะได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่โรงเรียน หลังเลิกเรียน เด็กหลายคนก็ชอบซื้ออาหาร ขนม ที่ขายอยู่ตามหน้าโรงเรียนมากินอย่างเอร็ดอร่อย แต่ก็ต้องระวัง เพราะเราไม่รู้ว่าอาหาร ขนม เหล่านั้น สะอาดมากน้อยแค่ไหน เพราะหาก ลูกอาหารเป็นพิษ ก็อาจส่งผลให้ลูกปวดท้องและอาเจียน จนถึงกับอาจซึมได้

อาหารเป็นพิษคืออะไร

อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) หรือ ลำไส้อักเสบติดเชื้อ (Acute Infectious Diarrhea) เป็นภาวะที่เกิดจากการรับประทานอาหาร ขนม หรือน้ำที่มีเชื้อโรคอยู่เข้าไป ร่างกายจึงมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ตอบสนองออกมา ซึ่งจะเกิดอาการเร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน และส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีอาการไม่รุนแรง สามารถหายเองได้ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง

สาเหตุที่ทำให้ ลูกอาหารเป็นพิษ

เชื้อโรคและอาหารที่มักจะพบเชื้อได้มีดังนี้

  • Campylobacter: มักพบในเนื้อสัตว์ปีก
  • Clostridium botulinum: มักพบในอาหารกระป๋อง อาหารหมัก อาหารที่ถูกเก็บในอุณหภูมิอุ่น ๆ เป็นเวลานาน
  • Clostridium perfringens: มักพบในเนื้อสัตว์ย่างที่ให้ความร้อนไม่เพียงพอ
  • Escherichia coli (E. coli): มักพบในเนื้อวัวดิบ ผักสด นมและน้ำผลไม้ที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ
  • Listeria: มักพบในฮอตดอก นมและชีสที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ อาหารทะเลรมควัน
  • Noroviruses: มักพบในผักสด ผลไม้สด หอยนางรมสด
  • Salmonella: มักพบในเนื้อสัตว์สด ไข่แดงสด
  • Staphylococcus aureus: มักพบในอาหารที่เตรียมไว้และไม่ได้รับการปรุงในทันที เช่น เนื้อสไลด์ ครีมซอส สลัด
  • Vibrio vulnificus: มักพบในหอยนางรมสด หอยแมลงภู่สด หอยเชลล์สด

เชื้อโรคเหล่านี้จะมีการผลิตสารพิษบางอย่างขึ้นมา แม้อาหารนั้น ๆ จะมีการปรุงสุกเรียบร้อยแล้ว แต่สารพิษเหล่านี้มีความสามารถทนทานต่อความร้อนได้ ทำให้ผู้ป่วยที่ทานอาหารจานนั้นเข้าไปเกิดอาการอาหารเป็นพิษในที่สุด

ลูกอาหารเป็นพิษ
ลูกอาหารเป็นพิษ ปวดท้อง อาเจียนไม่หยุด

อาการที่ควรพบแพทย์

1. ถ่ายอุจจาระเป็นมูก หรือมูกเลือด

2. ไข้สูง หรือชัก

3. อาเจียนบ่อย

4. ท้องอืด

5. หอบลึก

6. ไม่ยอมดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทุกชนิดและ/ หรือไม่ยอมดื่มนมหรือกินอาหาร

7. ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่แล้ว แต่เด็กยังดูเพลีย, ซึม

8. ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำบ่อย (มากกว่า 10 ครั้งต่อวัน)

อาหารที่ควรให้รับประทานระหว่างที่ ลูกอาหารเป็นพิษ

  1. เด็กเล็กที่เลี้ยงด้วยนมมารดา ให้นมมารดาต่อไป ควรให้เด็กดูดนมบ่อยขึ้นกว่าปกติ
  2. เด็กที่เลี้ยงด้วยนมผสม ให้ชงเจือจางเท่าตัวและดื่มต่อไป
  3. เด็กโตให้อาหารอ่อนที่ย่อยง่ายเป็นข้าวต้ม, โจ๊ก โดยอาจต้องเพิ่มให้บ่อยกว่าปกติ

ถ้าเด็กสามารถดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ และกินอาหารและนมได้ ถึงแม้จะยังถ่ายอยู่ แต่เด็กไม่อ่อนเพลีย ดูสดใสขึ้น แสดงว่าทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ด้วยสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทัน และพอเพียง ก็ให้ดื่มต่อไปจนกว่าจะหยุดถ่าย

ถ้าถ่ายท้องรุนแรง อาเจียนรุนแรง ดื่มนมหรือน้ำไม่ได้ ซึม กระสับกระส่าย ตาโบ๋ กระหม่อมบุ๋มมาก (ในเด็กเล็ก) หายใจหอบแรง หรืออาการไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมง ต้องไปหาหมอโดยเร็ว

การรักษา

หากเป็นเด็กที่โตขึ้นมา แพทย์จะให้การรักษา ตามความรุนแรงของโรคดังนี้

1. ถ้ารุนแรงไม่มาก ยังกินได้ และขาดน้ำไม่มาก (ลุกเดินได้ ไม่หน้ามืด) ก็จะให้การรักษาตามอาการและให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (แบบเดียวกับที่แนะนำในหัวข้อ “การดูแลตนเอง”)

2. ถ้ารุนแรง ถึงขั้นขาดน้ำรุนแรง (มีอาการใจหวิว ใจสั่น จะเป็นลม มือเท้าเย็น  ปัสสาวะออกน้อยมาก) หรืออาเจียนรุนแรง ถ่ายรุนแรง หรือกินไม่ได้ ก็จะต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ จนกว่าจะทุเลา

3. ถ้าสงสัยเกิดจากสาเหตุอื่น ก็จะให้การรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ เช่น ให้ยาปฏิชีวนะในรายที่พบว่าเป็นบิดชิเกลล่า หรืออหิวาต์ เป็นต้น

วิธีป้องกัน

การรักษาความสะอาดเพื่อกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าปาก โดย

  • ผู้ปกครองต้องหมั่นให้เด็กล้างมือทุกครั้ง ก่อนจะหยิบจับอาหาร หรือชงนมให้เด็กที่กินนมผสม
  • รวมทั้งขวดนม,จุกนม ต้องล้างทำความสะอาดหลังการใช้ทันที และฆ่าเชื้อโดยการต้มจนเดือดอย่างน้อย 10-15 นาที ดังนั้นจึงต้องมีขวดนมจำนวนเพียงพอ ที่จะมีเวลาต้มทำความสะอาดได้
  • ควรชงนม ในปริมาณที่กินหมด ในครั้งเดียว ถ้ายังกินไม่หมด ควรมีฝาครอบจุกให้มิดชิด และไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 2 ชม.
  • ในเด็กโตที่กินอาหารอื่น ต้องเป็นอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ มีภาชนะปิด
  • ทำความสะอาด ภาชนะที่ใส่เช่น จาน, ชาม, ช้อน
  • อย่าลืมล้างมือให้เด็กบ่อย ๆ เพราะในวัยนี้จะชอบเอาของ และมือตัวเองเข้าปาก ก็จะเป็นการนำเชื้อโรคเข้าตัวเองด้วย
  • ของเล่นที่สามารถล้างทำความสะอาดได้ ก็ควรนำไปล้าง แต่บางชนิดที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ ก็ควรทิ้งหรือเปลี่ยนใหม่

ขอบคุณข้อมูลจาก

โรงพยาบาลเปาโล, Raksa, โรงพยาบาลราชวิถี

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เมื่อลูกปวดท้องจาก “โรคบิด” ภัยร้ายหน้าร้อนที่ต้องระวัง!!

เตือนแม่! ลูกแอดมิท ปวดท้องหนัก เพราะชานมไข่มุก

ลูกปวดท้อง อย่านิ่งนอนใจ! 4 โรคร้ายที่อาจแอบแฝง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up