อาหารกลางวันนักเรียน กินอะไร กระตุ้นพัฒนาการลูก - Amarin Baby & Kids
อาหารกลางวันนักเรียน กินอะไร

อาหารกลางวันนักเรียน กินอะไร กระตุ้นพัฒนาการลูก

Alternative Textaccount_circle
event
อาหารกลางวันนักเรียน กินอะไร
อาหารกลางวันนักเรียน กินอะไร

อาหารกลางวันนักเรียน กินอะไร กระตุ้นพัฒนาการลูก

ลูกในวัยเรียนเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต จำเป็นที่จะต้องได้รับอาหารที่มีคุณค่า คุณประโยชน์ ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย เพราะหากลูกได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ พัฒนาการก็อาจไม่สมวัยได้ ทุกฝ่ายทั้งที่บ้านและโรงเรียนจึงควรคำนึงถึงว่า อาหารกลางวันนักเรียน กินอะไร จึงจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางด้านร่างกายค่ะ

กรมอนามัยห่วง อาหารกลางวันนักเรียน กินอะไร ถึงจะดี

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า หลังจากเปิดภาคเรียน แบบ On-Site ในทุกโรงเรียนแล้ว โรงเรียนต้องให้ความสำคัญกับอาหารกลางวันที่มีโภชนาการครบถ้วน ปริมาณเหมาะสม ควรเป็นมื้อที่มีคุณภาพ เพื่อช่วยให้เด็กวัยเรียนได้รับอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในการทำกิจกรรมในช่วงครึ่งวันบ่าย

ประโยชน์ของการที่เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

  • เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต
  • มีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ จดจำ
  • เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
  • สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้เป็นปกติ

หากเด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือมากไปจะเกิดอะไรขึ้น

หากร่างกายได้รับพลังงาน และสารอาหารไม่เพียงพอ หรือมากเกินไป จะส่งผลให้

  • เด็กมีการเจริญเติบโตไม่เหมาะสมตามวัย เช่น ตัวเล็ก เตี้ย แคระแกร็น
  • ภูมิต้านทานต่ำ
  • ด้อยสติปัญญาต่ำ เรียนรู้ช้า
  • หากได้รับพลังงานมากเกินความต้องการ จะส่งผลให้ลูกมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ นำไปสู่การเป็นโรคอ้วน และโรคอื่น ๆ ได้
อาหารกลางวันนักเรียน กินอะไร
อาหารกลางวันนักเรียน กินอะไร กระตุ้นพัฒนาการลูก

ปริมาณอาหารที่เหมาะสม

ควรส่งเสริมให้เด็กวัยเรียน ได้รับปริมาณอาหารกลุ่มข้าว – แป้ง ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ดังนี้

  • เด็กระดับอนุบาล (อายุ 3-5 ปี) ควรได้รับ 1.5 ทัพพี
  • ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 (อายุ 6-8 ปี) 2 ทัพพี
  • ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6  (อายุ 9-12 ปี) 3 ทัพพี

เนื้อสัตว์

  • เด็กระดับอนุบาล (อายุ 3-5 ปี) ควรได้รับ 1.5 ช้อนกินข้าว
  • ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 (อายุ 6-8 ปี) 2 ช้อนกินข้าว
  • ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 (อายุ 9-12 ปี) 2 ช้อนกินข้าว

เด็กวัยเรียนควรได้รับผัก 1 ทัพพี ผลไม้ 1 ส่วน และนมจืด 1 แก้ว เพื่อให้เด็กวัยเรียนเติบโตสมวัย

รูปแบบการจัดอาหารกลางวันให้เด็ก

นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวว่า ควรมีการวางแผนการจัดอาหารกลางวัน ตามมาตรฐานอาหารกลางวันในโรงเรียนไทย โดยมีรูปแบบการจัดชุดสำรับอาหารกลางวันหมุนเวียน 5 วันทำการต่อสัปดาห์ (จันทร์ – ศุกร์)

  • โดยข้าวและกับข้าว ไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง/สัปดาห์
  • ใช้ผักหลากหลาย หลากสี ควรใช้ผักตามฤดูกาล
  • อาหารจานเดียวไม่เกิน 1 ครั้ง/สัปดาห์
  • มีผลไม้ทุกวัน และไม่ควรมีขนมหวานมากกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์
  • เนื้อสัตว์สลับหมุนเวียนเปลี่ยนกันไป ปลาหรือผลิตภัณฑ์จากปลาอย่างน้อย 1 ครั้ง/สัปดาห์
  • ไข่ 2-3 ฟอง/สัปดาห์/คน
  • มีตับ เลือด เต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย ถั่วเมล็ดแห้ง เผือก มัน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  • มีรายการอาหารที่ใช้น้ำมันหรือกะทิอย่างน้อย 1 อย่าง ในแต่ละมื้อ แต่ไม่ควรจัดรายการอาหารที่ใช้น้ำมันปริมาณมาก
  • มีเมนูที่ใช้กะทิไม่เกิน 3 ครั้ง/สัปดาห์
  • ควรใช้เกลือ หรือน้ำปลาเสริมไอโอดีนในการปรุงอาหาร

โภชนาการศิริราชแนะนำอาหารที่เหมาะกับเด็กวัยเรียน

นอกจากนี้ ทางฝ่ายโภชนาการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ก้ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับชนิดอาหารที่ควรเลือกให้เหมาะสมกับเด็กวัยเรียนไว้เช่นกัน ดังนี้ค่ะ

1.เนื้อสัตว์ เป็นสารอาหารที่ให้โปรตีน ช่วยเสริมสร้างสร้างกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อและฮอร์โมน  ควรเลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันเพื่อเป็นการปลูกฝังนิสัยการบริโภคที่ดีให้แก่เด็ก และควรให้อาหารทะเล  เครื่องในสัตว์  สัปดาห์ละ  1-2  ครั้ง
2. ไข่เป็ด  ไข่ไก่  ควรได้รับวันละ  1  ฟองทุกวัน
3. ถั่วเมล็ดแห้ง เด็กวัยเรียนควรกินถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ เพราะถั่วเมล็ดแห้งมีโปรตีน แคลเซียมและวิตามินบีสองมาก
4.นมสด เป็นอาหารที่ให้โปรตีนและแคลอรี่สูง และยังมีแคลเซียมวิตามินเอมาก ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต เด็กจึงควรดื่มนมทุกวันอย่างน้อยวันละ แก้ว
5.ผักใบเขียวและผักสีเหลือง ควรให้เด็กบริโภคในมื้ออาหารทุกมื้อ และควรสับเปลี่ยนชนิดให้หลากหลาย เพื่อให้เด็กได้รับวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน
6.ผลไม้สด  เป็นแหล่งที่ดีของวิตามินและเกลือแร่โดยเฉพาะวิตามินซี เด็กควรได้รับผลไม้ทุกวัน และเลือกชนิดให้หลากหลายตามฤดูกาล
7.ข้าว  ก๋วยเตี๋ยวหรือแป้งอื่นๆ  ควรจัดให้เด็กในมื้ออาหารทุกมื้อ  หรือกินในรูปของขนมบ้างก็ได้ โดยเลือกข้าวหรือแป้งที่ผ่านการขัดสีน้อย เพราะมีวิตามินและแร่ธาตุมาก
8.ไขมันหรือน้ำมันพืช เป็นเหล่งที่ดีของพลังงานและช่วยให้วิตามินที่ละลายในน้ำมันถูกดูดซึมได้ดีขึ้นควรเลือกน้ำมันพืชเพื่อใช้ในการประกอบอาหารให้แก่เด็กเช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
9.น้ำ  ควรให้เด็กบริโภคน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้ว  หรือให้เพียงพอกับปริมาณที่สูญเสียไปในแต่ละวัน
โดยสารอาหารแต่ละชนิดควรให้เด็กบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมเพราะถ้าให้ในปริมาณมากเกินจะทำให้เด็กมีภาวะโภชนาการเกินหรืออ้วนได้

ทางทีมบรรณาธิการ ABK ยังมีคลิปดี ๆ เกี่ยวกับสารอาหารที่ควรมีในมื้อกลางวันเด้กวัยเรียนมาฝากด้วยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

ฝ่ายโภชนาการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, PPTV HD

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

มื้อเช้ากิน “ข้าวกล้อง” โภชนาการลดเครียดเด็กเล็กวัย 1-3 ปี

นักโภชนาการแนะวิธี ตุนอาหาร ให้หลากหลาย ได้สารอาหาร ครบ 5 หมู่

ใส่ใจกับโภชนาการของลูกวัยอนุบาล

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up