นอกจากนั้น ยังมีข้อแนะนำดีๆ จากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติในการเลือกขนม และอาหารว่างแก่เด็ก 2 ขวบขึ้นไปมาฝากเป็นแนวทางสำหรับคุณพ่อคุณแม่กันด้วย เริ่มจาก
- เด็กควรได้รับอาหารมื้อหลักวันละ 3 มื้อ นมวันละ 2-3 แก้ว (ควรเลือกนมจืดสำหรับเด็กทั่วไป และนมจืดพร่องมันเนย สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน ไม่แนะนำให้บริโภคนมหวาน หรือนมปรุงแต่ง) และอาหารว่าง
- อาหารว่างเป็นอาหารที่บริโภคระหว่างมื้อหลัก ควรบริโภคอาหารว่างไม่เกินวันละ 2 มื้อ แต่ละมื้อให้พลังงานไม่เกินร้อยละ 10 ของพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน นั่นคือ สำหรับเด็กเล็ก (อายุ 2-5 ขวบ) ไม่เกินมื้อละ 100-130 กิโลแคลอรี เด็กวัยเรียน (อายุ 6-12 ขวบ) ไม่เกินมื้อละ 150 กิโลแคลอรี เด็กวัยรุ่น (อายุ 13-15 ปี) ไม่เกินมื้อละ 200 กิโลแคลอรี หรือโดยเฉลี่ยมื้อละ 100-150 กิโลแคลอรี สำหรับเด็กอายุ 2-15 ปี
- อาหารว่างที่ดีควรจำกัดปริมาณน้ำมัน น้ำตาล และเกลือไม่ให้สูงเกินไป
- ควรรับประทานอาหารว่างห่างจากมื้อหลักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
- ไม่ควรใช้อาหาร หรือขนมเป็นเงื่อนไขของการให้รางวัลหรือการลงโทษ
- อาหารว่างที่ควรมีประจำบ้าน ได้แก่ นมจืด ผลไม้สด ผลไม้อบแห้งที่ไม่เติมน้ำตาล ขนมปังกรอบชนิดโฮลวีท
- ไม่ตุนของว่างที่มีไขมันและน้ำตาลสูงไว้ในบ้าน ได้แก่ น้ำอัดลม น้ำหวาน ขนมกรุบกรอบ ช็อคโกแลต ลูกอม คุกกี้
- อาหารว่างควรมีหลายประเภท ในแต่ละประเภทควรมีความหลากหลาย และมีคุณค่าสารอาหารที่แตกต่างกัน
√ ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับการกินขนม
- ควรกินห่างจากมื้ออาหารไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง
- ไม่กินอาหารว่างก่อนนอน
- กินขนมแล้วให้ดื่มน้ำเปล่า บ้วนปากหรือแปรงฟันด้วยเพื่อกำจัดของหวาน และช่วยลดจำนวนแบคทีเรียในช่องปากอันเป็นสาเหตุของฟันผุ
สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ ควรเลือกชนิดของ ขนมเด็ก ให้มีสารอาหารและพลังงานที่เหมาะสมไม่กินมากหรือน้อยเกินไป และกินขนมให้เป็นเวลาให้เหมาะสม โดยไม่ละเลยการกินอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับเด็กทุกคน
นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ครอบครัวยุคใหม่ไม่ควรมองข้าม
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- นมดี 100% ให้ลูกดื่ม สารอาหารเพียบ ในโครงการตามพระราชดำริของพ่อหลวง
- 10 สุดยอด “อาหารบำรุงสมอง” ลูกน้อย
- 7 สารอาหารต้องรู้ ดูแลสมอง สร้างไอคิให้ลูกรัก
จากเว็บไซต์ prevention.com
ภาพ shutterstock