ทั้งที่ไม่สามารถจะรักษาของไว้ได้ ดร.เคที เรชเก้ ที่ปรึกษาด้านการเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยโคลัมบัส โอไฮโอ อธิบายว่า “เรื่องให้เด็กวัยนี้คิดได้อย่างผู้ใหญ่ว่า เขาควรรู้ค่าของข้าวของต่างๆ นั้น ยังไม่สามารถเข้าใจได้จนกว่าจะทำงานหาเงินได้เอง”
แต่ถ้าคุณอยากลดจำนวนของหายดร.เรชเก้มีคำแนะนำว่า คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกมีส่วนในการจับจ่ายข้าวของ เช่น ให้เขาออกเงินซื้อของที่เขาอยากได้ด้วย แม้เขาจะออกเพียงเล็กน้อยก็ตาม
นอกจากนี้ควรตกลงกฎกติกากับเขาให้ชัดเจนเรื่องการใช้และการดูแลสิ่งของ เช่น ลูกต้องเก็บกระเป๋าสตางค์ไว้ในกระเป๋าที่มีซิปทุกครั้งที่ใช้งานเสร็จ และเมื่อเลิกเรียนเสื้อตัวแพงที่เขาอยากได้นั้นต้องอยู่ในกระเป๋า เตรียมพร้อมเอากลับบ้านและเมื่อใดก็ตามที่ของหาย ลูกต้องรับผิดชอบด้วย
คุณแม่ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อลูกขี้ลืม และทำของหายบ่อยๆ
– อย่าโวยวายเกินกว่าเหตุ ไม่อย่างนั้นคุณจะไม่มีวันรู้อีกเลยว่าลูกทำอะไรหายบ้าง
– ให้ลูกตามหาของสิ่งนั้น โดยสอนวิธีหาให้เขาก่อน เช่น เดินย้อนกลับไปตามทางเดิมที่เพิ่งมา หรือสอบถามจากพนักงานที่เคาน์เตอร์ แต่อย่าหาให้ลูกเสียเอง ถ้าหาไม่เจอก็อาจให้ติดประกาศไว้ที่บอร์ด (กรณีหายที่โรงเรียน)
– รักลูกให้ถูกทาง ถ้าลูกนึกไม่ออกว่าลืมของไว้ที่ไหน ก็ให้เขาใช้ของเก่าที่มีอยู่ให้นานขึ้นอีกนิด เพื่อให้เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลที่จะตามมาของสิ่งที่เขาได้ทำลงไปหรือปล่อยให้มันเกิดขึ้น
ลูกอาจไม่ได้เป็น “สมาธิสั้น” แต่แค่เป็นเด็ก “ขี้ลืม” เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรใส่ใจจัดระเบียบหนูน้อยให้มากกว่านี้ และติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้สูญเสียของมีค่าหายไป ต้องซื้อซ้ำใหม่หลายๆ ครั้งนะคะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร AMARIN Baby & Kids
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ