อุทาหรณ์! ปล่อยลูกเล่นเกม 6 ชม. ติด ป่วยโรค ออฟฟิศซินโดรม - Page 3 of 3 - Amarin Baby & Kids
ออฟฟิศซินโดรม

อุทาหรณ์! ปล่อยลูกเล่นเกม 6 ชม. ติด ป่วยโรค ออฟฟิศซินโดรม

Alternative Textaccount_circle
event
ออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม

สาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม

  • เกิดจากการนั่งในอิริยาบถเดิมนานเกินไป โดยไม่มีการยืดเส้นสาย หรือลุกเดิน หรือเปลี่ยนท่าทาง เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  • เกิดจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป เพราะการเพ่งใช้สายตามากๆ บวกกับรังสีจากจอภาพ ทำให้เกิดอาการปวดหัวปวดตาได้
  • สภาพแวดล้อมในห้องไม่เหมาะสม เช่น ออฟฟิศแออัด อากาศไม่ถ่ายเท โต๊ะเก้าอี้ไม่เหมาะกับสรีระ อุปกรณ์ในออฟฟิศเต็มไปด้วยฝุ่น เป็นต้น
  • นอนน้อยเกินไป ทำให้เกิดความเครียดได้
เด็กป่วยเป็นออฟฟิศซินโดรม
สาเหตุหลักจากอาการออฟฟิศซินโดรมมาจากการนั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ

ทำอย่างไรไม่ให้เป็นโรค ออฟฟิศซินโดรม?

  1. ในช่วงที่ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์หรือแท็ปเล็ตเป็นเวลานาน ควรหาเวลาพักเพื่อผ่อนคลายร่างกายบ้าง เช่น ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย เดินไปสูดอากาศด้านนอก เดินไปเข้าห้องน้ำ ไม่ควรนั่งอยู่กับที่ติดกันนานเกินไป
  2. การออกกำลังกาย เพื่อยืดและคลายกล้ามเนื้อ เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน จะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ป้องกันเอ็นและข้อยึดแล้ว แถมยังช่วยผ่อนคลายความเครียด และยังช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงอีกด้วย
  3. ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น เปลี่ยนโต๊ะและเก้าอี้ให้เหมาะกับสรีระ ทำความสะอาดออฟฟิศหรือบ้านให้โล่งและอากาศถ่ายเทอยู่เสมอ
  4. ในกรณีที่มีอาการรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาการรักษาโดยใช้ยา เช่น ยาบรรเทาอาการกล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบ ยาคลายเครียด หรือทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ จัดสรรเวลาให้สมดุลกัน

สำหรับแม่ ๆ ที่กังวลว่าหากให้ลูกเล่นเกม แท็ปเล็ต คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ จะทำให้ลูกเป็นโรคนี้ จึงไม่อนุญาตให้แตะเลย ก็คงจะเป็นไปไม่ได้สำหรับเด็กที่รู้จักสิ่งเหล่านี้แล้ว เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้ก่อให้เกิดโทษเพียงอย่างเดียว หากเราใช้มันอย่างพอดี ไม่มากจนเกินไป แบ่งเวลาไปทำอย่างอื่นบ้าง เช่น ชวนลูกอ่านหนังสือ หากิจกรรมทำนอกบ้านด้วยกัน อุปกรณ์เหล่านี้แหละค่ะ ที่จะก่อประโยชน์ได้อย่างมาก

อ่านบทความดี ๆ ได้ที่นี่

กิจกรรมที่เหมาะกับเด็ก 4-12 ปี สนุกได้ประโยชน์ พัฒนาการดี

อาหารและเครื่องดื่ม ที่มีประโยชน์ สำหรับเด็กวัย 4-12 ปี

แพทย์เตือน! ให้ลูกเล่นมือถือ เสี่ยงพัฒนาการแย่ลงในทุกด้าน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : เฟสบุ๊คคุณแม่ Bumm Montira, AmarinTV, www.honestdocs.co

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up