ลูกดื้ออาจไม่ใช่เพราะการเลี้ยงดู แต่อาจเป็น "โรคดื้อ" หรือโรค ODD - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
โรคดื้อ

ลูกดื้ออาจไม่ใช่เพราะการเลี้ยงดู แต่อาจเป็น “โรคดื้อ” หรือโรค ODD

Alternative Textaccount_circle
event
โรคดื้อ
โรคดื้อ

วิธีรับมือกับ โรคดื้อ และต่อต้าน

ความไม่เข้าใจและการลงโทษที่รุนแรง อาจทำให้สุขภาพจิตของลูกแย่ลงได้ จนอาจทำให้ลูกมีทักษะการเข้าสังคมที่ไม่ดี รวมไปถึงมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและรุนแรงได้ ดังนั้น เด็กที่เป็นโรคดื้อและต่อต้าน ควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี หากพบว่าลูกเป็นโรคนี้อยู่ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยทันที เพื่อร่วมกันรักษาและรับมือกับโรคนี้ได้อย่างถูกต้อง และวิธีการรับมือเบื้องต้น มีดังนี้

ทำความเข้าใจและรับมือในเชิงบวก

เด็กที่เป็นโรคดื้อมักมีปัญหาอยู่ภายในใจ อาจจะเกิดจากการที่ได้รับคำสั่งหรือการลงโทษที่มากกว่าเด็กคนอื่น ๆ  ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับผู้ใหญ่ การทำความเข้าใจและตอบรับลูกในเชิงบวก จะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์และลดปัญหาพฤติกรรมได้ คุณพ่อคุณแม่ควรหาเวลาที่จะทำกิจกรรมร่วมกันในทุก ๆ วัน แม้ลูกจะไม่ให้ความร่วมมือเลยก็ตาม แต่ในระยะยาวการได้รับความสนใจในแง่บวกนี้จะช่วยลดปัญหาทางพฤติกรรมของเด็กลงได้

ตั้งกฎให้ชัดเจน

เด็กที่เป็นโรคดื้อชอบที่จะต่อสู้กับกฎและความยุติธรรมต่าง ๆ เด็กจะพยายามหาช่องโหว่และพยายามหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ทุกครั้ง การตั้งกฎที่ชัดเจนในบ้านจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการลดการโต้เถียง ควรเขียนกฎด้วยคำง่าย ๆ เป็นประโยคสั้น ๆ แต่มีหลายข้อ และครอบคลุมทุกพฤติกรรมที่ลูกมีปัญหา เช่น กฎที่เกี่ยวข้องกับการทำการบ้าน การช่วยงานบ้าน เวลาเล่น เวลาดูโทรทัศน์ เวลานอนและความเคารพต่าง ๆ รวมถึงปัญหาพฤติกรรมที่ต้องการจะแก้ไข

วางแผนการแก้ไขพฤติกรรม

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูก ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทุกพฤติกรรมได้ในคราวเดียว ดังนั้น จึงควรมีการวางแผนการแก้ไขพฤติกรรมให้เหมาะสม ควรพูดคุยให้ลูกเข้าใจถึงผลดีที่จะได้รับหากพยายามแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ดีนั้น ๆ  การให้รางวัล เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากในเด็กที่เป็นโรคนี้

ลูกดื้อ
หากรับมือโรคดื้ออย่างถูกวิธี ลูกก็จะรู้สึกว่ามีคนเข้าใจ และไม่รู้สึกแปลกแยกจากสังคม

หนักแน่นกับบทลงโทษ

หากลูกทำผิดกฏหรือแสดงพฤติกรรมที่เป็นปัญหาอีก ทั้ง ๆ ที่มีการพูดคุยกันแล้ว จำเป็นต้องมีการลงโทษตามที่ตกลงกันไว้ ไม่ควรอนุโลมหรือเปลี่ยนแปลงการลงโทษให้เบาลง เพราะจะทำให้เด็กไม่หลาบจำ ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่อนุโลม 1 ครั้ง ลูกก็จะยกขึ้นมาอ้างทุกครั้ง และจะมีคำถามว่าทำไมคราวนี้จึงยอมไม่ได้ในเมื่อเคยยอมมาแล้ว

หลีกเลี่ยงการโต้เถียง

การยึดถือว่าผู้ใหญ่จะต้องมีอำนาจมากกว่าเด็ก และเด็กจะต้องรับฟังเท่านั้น นั้นใช้ไม่ได้ผลกับเด็กที่เป็นโรคนี้ เพราะการโต้เถียงเอาแพ้เอาชนะ การเหน็บแนม ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น การพูดคุยด้วยเหตุผลและทำตามกฏเกณฑ์ พร้อมทั้งลงโทษหากไม่ทำตามกฏนั้น เป็นวิธีที่จะช่วยลดการโต้เถียงได้ดีที่สุด

ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

ความเข้าใจอย่างชัดเจนถูกต้องและการปฏิบัติตัวของพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยในการรักษาลูกจากโรคดื้อ ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถช่วยเรื่องเทคนิคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่บ้านได้ นอกจากนี้จิตแพทย์จะสามารถวินิจฉัยและรักษาอาการป่วยที่เกิดขึ้นควบคู่กันไปอีกด้วย เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องแล้วอาจทำให้อาการดื้อและอารมณ์รุนแรงทวีความรุนแรงขึ้น

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

นักจิตวิทยาระดับโลกแนะ 3 วิธีรับมือ “ลูกดื้อ”

“ลูกซน” คือ “เด็กฉลาด” จริงหรือ?

10 แบบอย่างที่ดี ที่พ่อแม่ควรทำให้ลูกเห็น

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : taamkru.comwww.honestdocs.co

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up