เด็ก 6-12 ปี
เด็ก 6-12 ปี วัยแห่งการเตรียมพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เริ่มตั้งแต่เข้าเรียนประถมศึกษา จนเข้าวัยรุ่น
อยากจัดฟัน แต่ฟันแท้ยังไม่ขึ้น ควรดัดฟันหรือไม่?
ถ้าฟันแท้ขึ้นมาไม่เป็นระเบียบ พ่อแม่อยากพาลูกไปจัดฟัน ควรไปเมื่อไร
สังเกตตรงไหน ลูกเรามีความคิดสร้างสรรค์หรือเปล่า
Q: คุณสมบัติของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์มีอะไรบ้างคะ เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ มักจะ… มีความอยากรู้ อยากเห็น อะไรที่ไม่รู้จะถามทันที ชอบตั้งคำถามอยู่ตลอดเวลา เช่น ถามว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้ หรือถ้าเราไม่ทำตามแบบนี้ แต่ลองทำแบบอื่น แล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร มีความคิดแบบลู่ออก กระจายออก เวลาที่คิดอะไรมักจะคิดเผื่อหลายๆ อย่าง มีความคิดที่หลากหลาย เช่น ถ้าถามว่า ลูกเห็นสีเขียวแล้วนึกถึงอะไร ลูกจะไม่ตอบเพียงแค่ว่า ต้นไม้ แต่จะนึกไปถึงสิ่งอื่นๆอีก เช่น ทหาร หรือบรอคโคลี่ ชอบทำงานที่ยากและท้าทาย มีสมาธิสูง เวลาที่มีปัญหาหรือคำถามจะพยายามค้นหาคำตอบ พยายามอย่างไม่ลดละเพื่อเอาชนะอุปสรรคต่างๆ สนุกกับเกมที่ยุ่งยากต้องทุ่มเทเวลา เช่น ต่อเลโก้ ต่อแบบจำลอง หรือต่อจิ๊กซอว์ มีความเป็นตัวของตัวเอง เชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิด กล้าแสดงออก แต่ก็มีความยืดหยุ่น รับฟังเหตุผล และไม่ยึดติดแม้จะกล้าคิด แต่เมื่อเข้าใจว่าสิ่งที่คิดไม่มีความเป็นไปได้ ก็รู้จักที่จะรับฟังความคิดเห็น ข้อมูลจากคนรอบข้างแล้วนำมาประยุกต์เข้ากับความคิดของตนเอง มีแรงจูงใจสูง อยากได้อยากทำอะไร จะพยายามคิดทำ […]
ปฏิเสธซื้อของแพงให้ลูกโตอย่างนุ่มนวล
ลูกร้องขอซื้อแต่ของแพงๆ โดยให้เหตุผลว่า ‘ใครๆ เขาก็มีกัน’ แต่คุณแม่ไม่คิดว่าของเหล่านั้นเป็นสิ่งจำเป็นหรือมีประโยชน์เพียงพอ ควรให้เหตุผลกับลูกอย่างไรดีคะ
ช่วยลูกแยกแยะโลกความจริงกับโลกในโทรทัศน์
บางครั้งบางคราว เด็กๆ ก็สับสนระหว่างภาพที่ปรากฎในรายการโทรทัศน์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง คุณพ่อคุณแม่คือคนสำคัญที่ต้องเพิ่มทักษะการดูโทรทัศน์อย่างมีสติให้ลูก
พ่อแม่ต้องไม่ละเลย! เมื่อลูกเลือกคบเพื่อน
แม้ลูกจะเริ่มโตจนรับผิดชอบตัวเองได้หลายเรื่องแล้ว แต่เรื่องเพื่อน เด็กวัยนี้มักหาความพอดีได้ยาก จะดูแลอย่างไรให้พอดี และลูกไม่รู้สึกต่อต้าน
ลูกสาววัยรุ่นเลียนแบบ เซเล็บส์
Q: ลูกสาววัยทวีน เป็นพวกเสพติดเซเล็บส์ ทั้งการแต่งตัว ท่าทาง การพูดจา รู้สึกว่าจะอินจนเกินน่ารักไปซะแล้ว A: สิ่งที่ควรชี้แจ้งปลูกฝังอันดับแรกคือ ค่านิยมที่เหมาะสม พ่อแม่คือคนสำคัญที่จะชี้ให้ลูกเข้าใจว่า ความสวยงามหรือรูปลักษณ์ภายนอกไม่ได้นำมาซึ่งความสุข และไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต อันดับแรก คุณควรคอยสังเกตและพูดคุยกับลูกบ่อยๆ ว่า ลูกชอบดาราหรือคนดังคนไหน และชอบเพราะอะไร ลองรับฟังเขาอย่างไม่มีอคติ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ เช่น “เลดี้กาก้าอาจเป็นคนเด่นเพราะการแต่งตัว แต่เขารักษาความดังอยู่ได้เพราะตั้งใจทำงานและฝึกฝนอยู่เสมอ” อย่าลืมชื่นชมคนธรรมดาที่อยู่ใกล้ตัวให้ลูกฟัง เช่น “น้าเก๋เป็นพยาบาลที่ใส่ใจคนไข้ คนทั้งโรงพยาบาลชอบและชมให้แม่ฟังบ่อยๆ” เป็นต้น ที่มา: กองบรรณาธิการเรียลพาเรนติ้ง
กิจกรรมเพิ่มความคิดสร้างสรรค์
“การเปิดโอกาสให้ลูกทำกิจกรรมสันทนาการตามความต้องการและความสมัครใจของเขา โดยไม่บีบบังคับ จะเป็นการช่วยกระตุ้นและคงไว้ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ของลูกได้” ผศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำกิจกรรมเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ ดังนี้ เล่นดนตรี ฟังดนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลงบรรเลง และเพลงคลาสสิก เพราะการฟังเพลงที่มีเนื้อร้อง จะจูงใจให้คิดไปตามแต่ความหมายของเนื้อเพลง เป็นการจำกัดความคิดให้อยู่กับเรื่องที่เนื้อเพลงบอก ขณะที่เพลงบรรเลง หรือเพลงคลาสสิกจะเกิดจากเครื่องดนตรีหลายชนิด มีความหลากหลายของระดับเสียง ทำให้ระบบประสาทการฟังแยกแยะเสียงได้ละเอียดขึ้น ฟังแล้วกระตุ้นให้เกิดความคิดที่หลากหลายซับซ้อนขึ้น เล่นกีฬา ทำให้เกิดการวางแผน ได้ออกกำลังกาย ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงทั่วร่างกาย รวมถึงสมองด้วย เล่นเกมส์เสริมความคิดสร้างสรรค์ เช่น ต่อจิ๊กซอว์ โกะ หมากรุก หมากฮอส เกมเศรษฐี เพราะเหล่านี้ต้องใช้ความคิดวางแผนล่วงหน้า มีหลากหลายทางเลือกในการตัดสินใจ สามารถเล่นได้หลายแบบ มีความแตกต่างแทบทุกครั้งที่เล่น ซึ่งต่างจากของเล่นสำเร็จรูปที่กดปุ่มอย่างมาก การเล่นสนุกแบบเด็กๆ เช่น เล่นบทบาทสมมุติ ทำให้ใช้ความคิดที่หลากหลาย ก็นับเป็นการเล่นที่เสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยเช่นกัน ที่มา: กองบรรณาธิการเรียลพาเรนติ้ง
ปกป้องลูกจาก สื่อเรื่องเพศ
สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ควรรู้ไว้คือ ต้องใส่ใจกับพฤติกรรมของลูก แต่ไม่ปิดกั้นเขาจากสื่อ (เชื่อเถอะ คุณปิดกั้นเขาไม่ได้หรอก) ควรสอนให้เขารู้ว่า สิ่งใดไม่เหมาะสมหรืออันตราย พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้เป็นประจำ
สอนลูกใช้เงินเป็นตั้งแต่เด็ก
สอนลูกใช้เงินให้เป็น ควรสอนตอนอายุเท่าไหร่ สอนอะไร และอย่างไร
บริหารเวลา รับมือการบ้านกองโต
พอเข้าวัยประถม ลูกๆ ก็มีการบ้านที่ต้องทำมากขึ้น จนแม้แต่พ่อแม่ยังต้องปวดหัวไปด้วย ลองมาหาวิธีช่วยลูกจัดตารางทำการบ้าน บริหารเวลาให้เป็นกันดีกว่า
4 วิธีช่วยพี่โตดูแลตัวเอง
“ลูกวัยนี้ไม่ชอบให้พ่อแม่ติดตามวุ่นวายยามเขาอยู่นอกบ้าน แต่คุณช่วยเขาให้มีความมั่นใจและมีวิธีดูแลตัวเองได้”
จับสัญญาณว้าวุ่น เมื่อวัยทีนเผชิญโลกใบใหญ่
“ถึงเรื่องที่ลูกวัยทีนรู้สึกเครียดหรือกังวลจะเป็นเรื่องปกติ และเขามักอยากเผชิญโลกใหญ่ด้วยตัวเอง แต่บางครั้งลูกก็อยากให้พ่อแม่ช่วยเขาบ้าง แม้จะไม่เอ่ยปากตรงๆ ก็ตาม”
อ่านก่อนนอนกับลูกวัยทวีน ใครว่าทำไม่ได้
เพราะลูกวัยทวีนมีการพัฒนาความคิดแบบนามธรรมอย่างชัดเจน มีความเป็นตัวของตัวเองสูงขึ้น และสนใจค้นหาอัตลักษณ์ (ความเป็นตัวเอง) สิ่งที่ตอบสนองความต้องการค้นหาตัวเองได้ วัยรุ่นไม่เกี่ยงหรอกที่จะอ่านไม่ว่าจะอ่านในโลกดิจิตอลหรืออ่านจากหนังสือ ขอเพียงเรายังยึดโยงจิตใจรักการอ่านของลูกได้อย่างต่อเนื่อง
เมื่อลูกรักอยากเป็นคนดัง
ดูทีวีก็บอกว่าอยากเป็นนางเอก แต่พอมาดูคอนเสิร์ตก็บอกอยากเป็นนักร้องอีก อยากหลายอย่างแบบนี้จะดีหรือ คุณแม่เริ่มงง “ลูกจะเอาอย่างไรกันแน่”
วัยทวีนมีการบ้านมากไปหรือเปล่า
โพลจาก Parenting.com ในหัวข้อความเห็นต่อปริมาณการบ้านของลูกๆ มาดูกันว่าคุณพ่อคุณแม่ชาวอเมริกันเขาว่าอย่างไร
รักของเด็กแรกรุ่น เป็นอย่างไรกันนะ
ความรักสำคัญต่อคนทุกเพศทุกวัย แล้วเด็กๆเขาคิดว่าความรักคืออะไร มาดูกัน
สอนเด็กขี้อายให้พูดคล่อง
ถ้าเป็นเทคโนโลยีแล้ว ลูกของคุณปราดเปรื่องสุดๆ เล่นคอมพิวเตอร์ได้คล่องแคล่ว แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง แค่จะถามราคาของที่อยากได้พวกเขายังไม่กล้าด้วยซ้ำ! มาฝึกลูกให้กล้าพูดกันเถอะ
แนะนำเว็บไซต์เกมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน
เกมเสริมทักษะก่อนวัยเรียน จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะเบื้องต้นที่คุณครูจะถามพวกเขาในชั้นเรียน อาทิ การจับคู่ภาพ การแยกสี การนับเลข วันนี้เรียลพาเรนติ้งขอแนะนำ Section เกมของเด็กก่อนวัยเรียนในเว็บไซต์ education.com