เลี้ยงลูกแบบเพื่อน 6 เทคนิคดี ได้ทั้งใจลูก และไร้ปัญหาแน่นอน!

event

มีพ่อแม่ในยุคใหม่หลาย ๆ คนมีสไตล์การเลี้ยงลูกแบบเพื่อนกันมากขึ้น เพราะ การเลี้ยงลูกแบบเพื่อน จะทำให้เด็กเกิดความไว้ใจ และกล้าเข้ามาปรึกษาพ่อแม่ในทุก ๆ เรื่อง แต่ในบางครอบครัว การเลี้ยงลูกแบบเพื่อน กลับกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลให้ลูกไม่มีความเคารพ และกล้าโต้เถียงพ่อแม่ ทำให้บางคนเกิดคำถามขึ้นว่า เลี้ยงลูกแบบเพื่อนดีหรือไม่ดีกันแน่

เลี้ยงลูกแบบเพื่อน ดีหรือไม่ จะเลี้ยงอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหา

เลี้ยงลูกแบบเพื่อน

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ในยุคใหม่อาจให้ความสนิทสนม และ เลี้ยงลูกแบบเพื่อน เพื่อหวังว่าเมื่อลูกมีปัญหาไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม ลูกก็จะกล้าเข้ามาปรึกษา แต่มีหลายครอบครัวที่กลับกลายเป็นปัญหาว่าการ เลี้ยงลูกแบบเพื่อน ทำให้ลูกไม่ให้ความเคารพ กล้าโต้เถียง นั่นเป็นเพราะอะไร ไปดูคำแนะนำจากคุณหมอกันค่ะ

ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา ประธานโครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) มีคำแนะนำถึง คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วงวัยกำลังโต หรือวัยรุ่น คือ เริ่มตั้งแต่ช่วงชั้นประถมตอนปลาย ย่างเข้ามัธยมศึกษาตอนต้น – มัธยมศึกษาตอนปลาย ว่า …ผู้หญิงจำนวนมากพูดถึงการเลี้ยงลูกแบบเป็นเพื่อนลูก แต่จริง ๆ แล้วการที่เรามีสถานภาพเป็นพ่อแม่อยู่ ก็ต้องทำให้ลูกเห็นว่าเรามีสถานภาพเป็นพ่อแม่จริง ๆ  ไม่ใช่เพื่อน ซึ่งการเลี้ยงลูกแบบเป็นเพื่อน ทำให้ลูกไม่เห็นความเป็นพ่อเป็นแม่ บทบาทของพ่อแม่ คือ ต้องแสดงให้เห็นความเป็นพ่อแม่ที่ลูกต้องเคารพ  ไม่ใช่เป็นบทบาทของเพื่อน แต่ก็สามารถเป็นเพื่อนคอยปรับทุกข์และสามารถเล่นสนุกกับลูกได้ ในเวลาเดียวกัน

√ วิธีการพูดคุยกับลูกแบบเพื่อน แต่ไม่ให้ลูกเถียงได้

เพราะวัยรุ่นไม่ต้องการให้พ่อแม่มาใส่ใจ หรือจู้จี้ แม่ที่ต้องเลี้ยงดูลูกวัยรุ่นจึงต้องใช้วิธีเสริมแล้วค่อยสอน แต่ไม่ควรสั่ง เนื่องจากวัยรุ่นทุกยุคทุกสมัยอย่างไร ก็ต้องการ ความเป็นตัวของตัวเอง และเวลาที่แม่ใส่ใจหรือสั่ง เขาจะคิดว่าตัวเองจะกลับไปเป็นเด็กอีก ดังนั้น แม่ต้องเสริมด้วยวิธีการแนะนำ และพูดคุยกับลูกโดยเปิดโอกาสให้ลูกแสดงความคิดเห็น แม่และลูกต้องรู้จักเป็นผู้ฟัง ความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกันก็ได้ แต่ท้ายที่สุดเขาก็จะคิดและหาข้อสรุปในเรื่องต่างๆ ได้ มิติของความเป็นเพื่อนจะอยู่ตรงที่เปิดโอกาสให้เขาได้พูดคุยแลกเปลี่ยนแบบเปิดกว้าง ไม่ใช่แม่ต้องทำตัวเป็นเพื่อนกับลูก

♥ อ่านต่อบทความแนะนำ : เลี้ยงลูกให้เป็น “คนปกติ” ตามวัย
♥ อ่านต่อบทความแนะนำ : จิตแพทย์แนะ เลี้ยงลูกให้สตรอง!! ต้องใช้ “หน้าต่างแห่งโอกาส 9 บาน”

ทั้งนี้ ดร.จิตรา ยังกล่าวอีกว่า ขณะที่แม่ปรารถนาดีกับลูก แม่ก็ต้องการให้ลูกเป็นไปตามแนวทางที่ตัวเองต้องการ เพราะคิดว่ามันคือสิ่งที่ดีที่สุด แม้ว่าลูกจะรู้ว่าแม่รัก แม่เป็นห่วง แต่วัยรุ่นก็รู้สึกว่าตัวเองโตแล้ว ซึ่งสิ่งที่วัยรุ่นแสดงให้รู้ว่าเขาโตแล้วคือพฤติกรรมการเถียงพ่อแม่ มันแสดงออกให้เห็นว่าเขาโตแล้ว และมีความคิดเป็นของตัวเอง

จึงเป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องสอนอย่างแนบเนียน ว่า แม้ลูกจะคิดว่าตัวเองโตเป็นผู้ใหญ่นั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า ลูกจะสามารถเถียงแม่หรือพ่อได้ แต่คนที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้วนั้น ต้องรู้จักฟังคนอื่น ยอมรับในความต่างและความคิดของคนอื่นได้ ไม่ใช่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางตลอดเวลา เมื่อไหร่ที่เราเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางแสดงว่าลูกยังอยู่ในสภาวะความเป็นเด็กอยู่นั่นเอง

นอกจากนี้ ให้คุณพ่อคุณแม่พูดบอกกับลูกไปตรง ๆ เลยว่า การที่แสดงว่าลูกกำลังคิดว่าตัวเองโตเป็นผู้ใหญ่แล้วหรือไม่นั้น ให้ดูจากคำพูด ซึ่งต้องเป็นคำพูดที่รู้จักรักษาน้ำใจคนฟัง เช่น พูดกับแม่และฟังใจแม่ได้ ไม่ใช่พูดกับแม่แล้วฝังใจ ไม่เคยฟังหรือเข้าใจความรู้สึกกันเลย ซึ่งเมื่อไหร่ที่ลูกและแม่พูดกันด้วยอารมณ์ฝังใจ จะเกิดด้านลบขึ้นในชีวิตทันที ทำให้เกิดการเอาชนะกันตลอดเวลา ซึ่งลูกในวัยรุ่นที่บอกว่าตัวเองโตแล้วนั้นต้องแสดงให้แม่เห็นผ่านการกระทำ ไม่ใช่เพียงแค่คำพูด วัยรุ่นบางคนไม่พอใจพ่อแม่ ก็จะเถียงและพูดประชดประชัน ถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และไม่ได้แสดงว่าตัวเองโตเป็นผู้ใหญ่

♥ อ่านต่อบทความแนะนำ : ลูกๆ ควรอ่าน 10 ข้อฉุกคิด ก่อนที่จะเถียงหรือขึ้นเสียงใส่แม่!

อ่านต่อ >> การเลี้ยงลูกแบบเพื่อน ดีจริงหรือ” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up