โรค เป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย ปล่อยไว้อาจตัวเตี้ย! - Amarin Baby & Kids
เป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย

โรค เป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย ปล่อยไว้อาจตัวเตี้ย!

Alternative Textaccount_circle
event
เป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย
เป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย

โรค เป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย ปล่อยไว้อาจตัวเตี้ย! หมอแนะพ่อแม่สังเกตสัญญาณเตือนของโรคมักมาก่อนอายุ 8 ปี สามารถเป็นได้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย!

โรค เป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย ปล่อยไว้อาจตัวเตี้ย!

ลูกสาว 9 ขวบ มีประจำเดือนแล้ว ผิดปกติหรือไม่?

เมื่อลูกอายุได้ 7 – 8 ขวบ ร่างกายเด็กผู้หญิงจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง จะสูงขึ้น ในบางรายอาจจะเริ่มมีหน้าอก ทำให้แม่ ๆ เริ่มกังวลว่าร่างกายของลูกโตไวเกินไปหรือเปล่า ในเด็กชายบางราย อาจเริ่มมีกลิ่นตัว หน้ามันกันบ้างแล้ว ที่ลูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างนี้ จะใช่ภาวะ เป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย หรือเปล่านะ ทีมแม่ ABK ขอแชร์วิธีสังเกต โรคโตเกินวัย ในเด็กว่าคืออะไร? ต้องสังเกตอะไรบ้าง? ควรเริ่มสังเกตร่างกายลูกตรงจุดไหน? ตอนอายุเท่าไหร่? หากสงสัยว่าอาจเป็นโรค เป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย ควรจะทำอย่างไร? มาให้แม่ ๆ ได้ไปสังเกตลูก ๆ กันค่ะ

โรคโตเกินวัย คืออะไร?

ภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยหรือสภาวะที่เด็กโตเร็วกว่าปกติ (Precocious Puberty) พบได้ในเด็กทั้งเพศหญิงและชาย โดยจะพบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชายประมาณ 8 – 20 เท่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ พ่อแม่ ต้องใส่ใจและคอยหมั่นสังเกต เพราะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติในร่างกาย ที่จะนำไปสู่ปัญหา เด็กเตี้ย ในอนาคต รวมถึงปัญหาทางสภาพจิตใจ ซึ่งจะทำให้เด็กที่เกิดภาวะนี้เกิดความไม่มั่นใจ อายเมื่อถูกเพื่อนล้อ หรือบางรายอาจถูกล่วงเกินทางเพศและตั้งครรภ์ตั้งแต่ยังเด็กได้

ภาวะ เป็นสาวก่อนวัย เกิดจากสาเหตุอะไร?

ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานทางการแพทย์ที่ระบุชัดเจนว่าปัจจัยใด เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะนี้โดยตรง แต่พบว่ามีหลายปัจจัยที่มีส่วนร่วมในการเกิดโรค ดังนี้

  • ปัจจัยภายใน เช่น พันธุกรรม เด็กที่มีภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยมักมีประวัติพ่อหรือแม่มีภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยร่วมด้วย ในปัจจุบันพบความผิดปกติของยีนส์หลายชนิดที่เป็นสาเหตุของภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย
  • ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภาวะอ้วน/น้ำหนักเกิน ซึ่งมักเกิดจากปัจจัยทางโภชนาการ เช่น ชอบรับประทานอาหารประเภททอด อาหารไขมันสูง อาหารจานด่วนส่งผลให้เกิดภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย โดยเฉพาะในเด็กหญิง

โรค เป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย สังเกตได้อย่างไร?

เด็กผู้หญิง

  • มีประจำเดือนก่อนอายุ 9 ปี โดยเฉลี่ยแล้วอายุเริ่มแรกของการมีประจำเดือนของเด็กหญิงในประเทศไทย คือ 11.57 ปี โดยอายุแรกเริ่มต่ำสุด 7.96 ปี และสูงสุดเท่ากับ 16.92 ปี
  • มีไตเต้านม หรือเต้านมขึ้นก่อนอายุ 8 ปี มีสัญญาณของหน้าอกขึ้น มีตุ่มหรือก้อนเล็กๆ ใต้ลานนม หัวนมมีสีคล้ำขึ้น และเจ็บหน้าอก
  • มีขนขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ รักแร้
  • มีสิวขึ้นบนใบหน้าและตามตัว แถมเริ่มมีกลิ่นตัวที่รักแร้
  • มีน้ำมีนวลเหมือนจะอ้วน ตัวสูงใหญ่ขึ้น – สูงเร็วขึ้นอย่างรวดเร็ว

เด็กผู้ชาย

  • มีอัณฑะขนาดใหญ่ ก่อนอายุ 9 ปี
  • มีขนขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ รักแร้
  • มีสิวขึ้นบนใบหน้าและตามตัว แถมเริ่มมีกลิ่นตัวที่รักแร้
  • มีน้ำมีนวลเหมือนจะอ้วน ตัวสูงใหญ่ขึ้น – สูงเร็วขึ้นอย่างรวดเร็ว
เป็นสาวก่อนวัย
เป็นสาวก่อนวัย

ผลกระทบจากการเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย

ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังต่อไปนี้

ด้านร่างกาย

  • การที่เด็กมีฮอร์โมนเพศในปริมาณสูงกว่าปกติ จะทำให้เด็กโตเร็วกว่าเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน ฮอร์โมนเพศจะทำให้กระดูกโตเร็วและปิดเร็ว และหยุดการเจริญเติบโต สิ่งที่ตามมาคือ ระยะเวลาการเจริญเติบโตในวัยเด็กจะสั้นลงกว่าเด็กปกติ ทำให้เตี้ยเมื่อเป็นผู้ใหญ่
  • พบข้อสันนิษฐานทางการแพทย์ว่า การที่เด็กมีเต้านมขึ้นเร็วอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้น

ด้านจิตใจ

  • ในเด็กหญิง เด็กกลุ่มนี้จะมีสรีระร่างกายภายนอกเป็นสาววัยรุ่น ในขณะที่จิตใจยังเป็นเด็ก ทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกันระหว่างวุฒิภาวะทางร่างกายและจิตใจ อาจนำไปสู่การล่อลวงได้ง่าย นอกจากนี้ เด็กอาจจะรู้สึกว่าตัวเองมีรูปร่างแตกต่างไปจากเพื่อน ๆ วัยเดียวกัน อาจจะทำให้โดนล้อเลียนและมีพฤติกรรมแยกตัว ในบางรายอาจมีปัญหาในเรื่องของการดูแลประจำเดือน ทำให้เด็กกลุ่มนี้ไม่อยากไปโรงเรียนตามมา
  • ในเด็กชาย เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายสูงกว่าปกติ นำไปสู่การมีพฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง และมีอารมณ์ทางเพศ

ดังนั้น หากพ่อแม่ผู้ปกครองพบความผิดปกติของบุตรหลานได้เร็วเพียงใดก็จะนำไปสู่กระบวนการวินิจฉัยและรักษาภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยได้อย่างทันท่วงทียิ่งขึ้น สำหรับการวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยนั้นกุมารแพทย์จะดำนินการตามขั้นตอน ดังนี้

  1. เอกซเรย์กระดูก ซึ่งมักพบว่ากระดูกมีอายุมากกว่าอายุจริงของผู้ป่วย
  2. ตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมนในร่างกาย ส่วนใหญ่จะตรวจพบฮอร์โมนเพศในร่างกายมีระดับสูงกว่าวัย
  3. การตรวจอัลตราซาวด์ สำหรับเด็กหญิง เพื่อวัดขนาดและดูลักษณะของมดลูกและรังไข่เพื่อช่วยในการวินิจฉัย
  4. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI มักทำในเด็กชายทุกคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเป็นหนุ่มก่อนวัยและในเด็กหญิงที่เข้าวัยสาวก่อนอายุ 6 ปี เพื่อหาความผิดปกติในสมองที่เป็นสาเหตุ

หลังจากนั้นแพทย์จะประเมินผลการตรวจและให้การรักษาด้วยยาฉีดเพื่อควบคุมฮอร์โมนในรายที่จำเป็น จนกว่าผู้ป่วยจะมีอายุประมาณ 11-12 ปี หรืออายุกระดูก 12-13 ปี

โตเกินวัย
โตเกินวัย

4 ข้อสงสัยที่พ่อแม่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคโตกว่าวัย

Q : เด็กที่รับประทานเนื้อไก่บ่อยๆ ทำให้มีฮอร์โมนผิดปกติ เสี่ยงต่อการเกิดโรคโตกว่าวัยจริงหรือ?
A : ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานทางวิชาการที่บ่งชี้ว่า การรับประทานเนื้อไก่บ่อยๆ ทำให้เด็กเป็นโรคโตกว่าวัย ฉะนั้น พ่อแม่และผ้ปู กครองควรยึดแนวทางการดูแลด้านโภชนาการให้แก่บุตรหลานอย่างเหมาะสม กล่าวคือ รับประทานเนื้อไก่เท่าที่จำเป็น รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ระวังไม่ให้อ้วนหรือน้ำหนักเกินควรดื่มนมให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เหมาะสมตามวัย

Q : จริงหรือไม่ที่การฉีดยาเพื่อเลื่อนการมีประจำเดือนจะช่วยเพิ่มส่วนสูงได้?
A : ไม่จริง ในกรณีที่ฉีดในเด็กที่เข้าวัยรุ่นปกติ จริง ในเด็กที่มีภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย หากพ่อแม่หรือผู้ปกครองท่านใดกังวลว่าบุตรหลานของท่านมีความสูงปกติหรือไม่ แนะนำให้หมั่นสังเกตความสูงโดยเทียบกับเด็กทั่วไปและความสูงของพ่อแม่ (Midparental Height) อย่างง่ายๆ ดังนี้ คือ

เด็กชาย = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ + 13) ÷ 2
เด็กหญิง = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ – 13) ÷ 2

เมื่อคำนวณตามสูตรดังกล่าวแล้วนำค่าที่ได้มา ± 7-8 เซนติเมตร จะได้ช่วงความสูงตามพันธุกรรม (Target Height)

Q : เด็กหญิงที่เริ่มมีประจำเดือนแล้วจะหยุดสูงเลยจริงหรือไม่?
A : ไม่จริง ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานทางวิชาการที่บ่งชี้ว่า การรับประทานเนื้อไก่บ่อยๆ ทำให้เด็กเป็นโรคโตกว่าวัย ฉะนั้น พ่อแม่และผู้ปกครองควรยึดแนวทางการดูแลด้านโภชนาการให้แก่บุตรหลานอย่างเหมาะสม กล่าวคือ รับประทานเนื้อไก่เท่าที่จำเป็น รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ระวังไม่ให้อ้วนหรือน้ำหนักเกิน ควรดื่มนมให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เหมาะสมตามวัยปัจจุบันเด็กหญิงโดยทั่วไปจะมีประจำเดือนในช่วงอายุ 11-12 ปี หลังจากนั้นอัตราการเพิ่มความสูงจะค่อยๆ จนหยุดสูงในอีก 2 ปี โดยความสูงที่ได้หลังเริ่มมีประจำเดือน คือ 4-7 เซนติเมตร

Q : การฉีดยารักษาภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยจะทำให้มีความสูงมากกว่าพ่อแม่จริงหรือไม่?
A : ไม่จริง การฉีดยารักษาภาวะดังกล่าวจะทำให้เด็กมีความสูงอยู่ในช่วงพันธุกรรม (Target Height) และเด็กยังมีความจำเป็นต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มนมประมาณ 1 ลิตร/วัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ นอนประมาณ 8 ชั่วโมง/คืน

ปัจจุบันภาวะ เป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย นั้นสามารถรักษาได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกายลูก หากสงสัยว่าลูกอาจเกิดภาวะนี้ ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

สอนลูกให้รู้จักความแตกต่าง หนูไม่ต้องเหมือนใคร เป็นตัวเองก็ดีมากพอแล้ว

เพิ่มความสูง ด้วยสูตรคำนวณหาความสูงของลูก รู้ก่อนแก้ได้

รวม 15 ปลาไทย โอเมก้า 3 สูง กินแล้วฉลาด ความจำดี

รพ.จุฬาเผย! พบ เด็กเป็นเบาหวาน เพิ่มขึ้น 27%

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : ศ.ดร.นพ.วิชิต สุพรศิลป์ชัย หัวหน้าสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, Bangkok Hospital

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up