การบูลลี่ในโรงเรียน ไม่ว่า ลูกถูกบูลลี่ หรือ ลูกไปบูลลี่คนอื่น ต่างก็ไม่ใช่เรื่องดี เพราะผลของการบูลลี่ทั้งต่อคนที่ถูกกระทำและตัวผู้กระทำเอง อาจสร้างแผลทางใจฝังลึกจนยากเยียวยาได้
วิธีสร้างเกราะป้องกัน ลูกถูกบูลลี่
และไม่ให้ลูกบูลลี่คนอื่น
ปัจจุบันข่าวเรื่อง การ Bully (พฤติกรรมรุนแรง กลั่นแกล้ง รังแกผู้อื่นทั้งทางวาจาและร่างกาย) เริ่มมีให้เห็นมากขึ้นในสังคมไทย ซึ่งไทยเราตกอยู่ในอันดับ 2 ของโลก ที่มีสัดส่วนนักเรียนถูกรังแกจากเพื่อนนักเรียนด้วยกันสูงถึงร้อยละ 40 รองจากญี่ปุ่น ทั้งนี้ผลร้ายที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่เฉพาะกับคนที่ถูกบูลลี่ แต่คนที่ไปบูลลี่คนอื่น ก็ล้วนแล้วแต่ต้องได้รับาดเจ็บทั้งกายและใจจากการกระทำเหล่านนั้นไปด้วย ดังเช่นข่าวที่มีออกมาให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง … และเช่นเดียวกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งมีเด็กชายคนหนึ่งที่ผูกคอตาย โดยมีสาเหตุมาจากการถูกเพื่อนบูลลี่ต่างๆ สารพัด ซึ่งหนูน้อยคนนี้ได้เขียนจดหมายทิ้งไว้ด้วย
Must read >> แพทย์เผย! เด็กไทย ชอบแกล้งเพื่อน ติดอันดับ 2 ของโลก!
โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ จัสมิน มะลิ ได้มาโพสต์ข้อความว่า “วันที่ 5 มีนาคม เวลา 17.30 น. น้องมาร์ค ผูกคอตายเพราะถูกเพื่อนบูลลี่ ต่างๆ นานาอยากถามว่าการบูลลี่ แล้วสุดท้ายได้อะไร คุณอาจจะได้ความสุขแต่อีกหลายๆ คนต้องจมอยู่กับความทุกข์ของการบูลลี่ ของคุณ คุณคิดได้หรือเปล่าว่าการกระทำแบบนี้ส่งผลดีหรือผลเสียความสุขของใครหลายๆ คน คือความทุกข์ของคนๆ หนึ่ง นอกจากนี้ยังมีการติด #หยุดบูลลี่” ทิ้งท้าย
ทั้งนี้ญาติได้เล่าว่าเด็กชายผู้เสียชีวิต น้องอาศัยอยู่กับตาตั้งแต่ยังเด็ก ส่วนพ่อและแม่นั้นแยกทางกันตั้งแต่น้องยังไม่คลอด อีกทั้งน้องยังเป็นเด็กเรียนเก่ง และเป็นหัวหน้าห้องด้วย แต่มีหลายครั้งที่น้องกลับมาจากโรงเรียนก็มักจะบ่นว่าถูกเพื่อนแกล้งสารพัด จนกระทั่งก่อนเกิดเหตุน้องขาดเรียนหลายวัน ไม่ไปโรงเรียน สุดท้ายจึงเกิดเรื่องสุดเศร้าขึ้น ซึ่งทางทีมแม่ ABK ก็ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งมา ณ ที่นี้ด้วย
Must read >> ลูกโดนแกล้ง พ่อแม่ช่วยได้ ป้องกันก่อนสายใช้กำลัง- ฆ่าตัวตาย
จะป้องกัน ลูกถูกบูลลี่ ได้อย่างไร
อย่างไรก็ตามทั่วโลกได้มีการรณรงค์มาตลอดเกี่ยวกับเรื่องของการต่อต้านการบูลลี่ เพราะสังคมปัจจุบันทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันและตอนนี้เข้าสู่ปี 2020 แล้ว ก็ไม่ควรที่จะเอาปมด้อย รูปลักษณ์ ฯลฯ โดยผู้โพสต์ได้นำเรื่องนี้มาเล่าต่อก็เพื่อจะให้เป็นเคสตัวอย่าง และไม่ให้เกิดขึ้นกับใครอีกต่อไปด้วย
ทั้งนี้คำว่า “บูลลี่” คือพฤติกรรมกลั่นแกล้งรังแกผู้อื่น โดยเฉพาะคนที่อ่อนแอกว่าและมักเกิดขึ้นในโรงเรียนเกือบทั่วโลก ไม่ใช่แค่เฉพาะในประเทศไทย ซึ่งเราอาจจะจะได้ยินคำว่า “Bully” บ่อยครั้ง เนื่องจากทุกวันนี้ผู้คนสื่อสารกันผ่านโลกไซเบอร์กันมาก จนคิดว่าเป็นแค่การบูลลี่ในโลกไซเบอร์ แต่ในความจริงแล้วการบูลลี่เกิดขึ้นได้ทุกที่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นในสถานศึกษา หรือที่ทำงาน และเกิดขึ้นมานานแล้ว
การรับมือ ลูกถูกบูลลี่ คือ มีสติ เงียบเฉย ตอบโต้ ชี้แจงให้ถูกจังหวะ ไม่คิดแค้น เครียด หรือวิตกกังวลเกินไป รวมถึงเลือกที่จะใช้ชีวิตในสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี ปิดรับเรื่องราวทางโซเชียลฯ บ้าง หากหาทางออกไม่ได้ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม
อ่านต่อ >> “7 วิธีสร้างเกราะป้องกันลูกโดนบูลลี่
และไม่ให้ลูกไปบูลลี่คนอื่น” คลิกหน้า 2
ขอบคุณเฟซบุ๊ก : จัสมิน มะลิ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่