การต้อนรับน้องตัวเล็ก สำหรับพี่ๆ นั้น คุณแม่อาจกังวลว่าลูกคนโตจะปรับตัวได้หรือเปล่า เพื่อป้องกันความรู้สึกน้อยใจ อิจฉา หรือความรู้สึกขัดแย้งอื่นๆ ที่ลูกคนโตต้องพบ คุณแม่และคนในครอบครัวก็ต้องปรับตัวและเตรียมใจด้วยเช่นกัน เข้าใจลูกให้มากขึ้นกว่าเดิมสักนิด รับรองได้ว่าบ้านนี้จะมีแต่พี่น้องรักกัน
โดยเรื่องนี้ต้องอยู่ที่พ่อแม่ คนในบ้าน และญาติผู้ใหญ่หลายๆคน ซึ่งอันดับแรกในช่วงก่อนและหลังคลอด ต้องไม่มีการล้อ เช่น แม่มีน้องใหม่เดี๋ยวก็ตกกระป๋องแล้ว เพราะจะทำให้เด็กเสียความมั่นใจ คิดว่าความรักที่พ่อและแม่เคยมีให้ตนคนเดียวต้องถูกแบ่งไปให้น้องอีกคน แรกๆ เด็กอาจไม่ได้คิดอะไรด้วยซ้ำ แต่หากคนรอบข้างพูดกรอกหูบ่อยๆ คงไม่ดีแน่
1. แนะนำให้ลูกรู้จักกับน้องตั้งแต่อยู่ในครรภ์
ให้ลูกได้คุ้นเคย ได้สัมผัสท้อง และพูดคุยกับน้องในท้อง ทำได้ง่ายๆ เช่น เวลาแม่จะทาครีมที่ท้อง ลองให้ลูกช่วยทาด้วยก็ได้ เป็นการบ่มเพาะความรักความผูกพันระหว่างพี่และน้องไว้เนิ่นๆ ก่อนที่จะได้เจอหน้ากัน และถือเป็นการปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อน้องให้กับพี่ไปในตัว
2. ให้ลูกดูรูปตัวเองตอนที่ยังเป็นทารก
และเล่าให้ฟังว่าตอนเด็กๆ เขาเป็นอย่างไรบ้าง เลี้ยงยากไหม ร้องไห้บ่อยหรือเปล่า อธิบายว่าน้องที่เกิดใหม่ยังพูดไม่ได้จึงร้องไห้แทน พ่อแม่เลยต้องเอาใจใส่น้องมากหน่อย พอโตแล้วน้องก็จะเลิกร้องไห้ เป็นเด็กดี พูดรู้เรื่องและทำอะไรได้สารพัดเหมือนพี่ยังไงล่ะ
3. เมื่อแม่กลับถึงบ้านหลังคลอด
ให้ความสนใจกับลูกที่รอเราอยู่ที่บ้านเป็นอันดับแรก เพราะลูกอาจรู้สึกเหงาและคิดถึงแม่ที่หายหน้าไปคลอดน้อง รับขวัญโดยการกอดเขาแน่นๆ เสียหน่อย ให้คนอื่นอุ้มน้องเบบี๋เอาไว้ก่อน หรือถ้าวุ่นวายจนไม่มีโอกาสกอดลูก แนะนำให้พาลูกไปฝากที่บ้านญาติเสียก่อน คุณควรพร้อมจริงๆ ที่จะกอดให้ลูกมั่นใจว่ายังรักเขาเหมือนเดิมทันทีที่พบกัน
4. หากิจกรรมให้ลูกทำ
ขณะที่คุณวุ่นอยู่กับการเลี้ยงเจ้าคนเล็ก อาจหาขนมให้กิน หรือบอกให้เขาเลือกหนังสือนิทานที่จะให้คุณอ่านให้ฟัง เตรียมเอาไว้หลังจากที่เปลี่ยนผ้าอ้อมให้น้องเสร็จ หรือไม่ก็ให้เขาเป็นลูกมือช่วยหยิบของเสียเลย ช่วยเบาแรงไปได้โขทีเดียว
อ่านต่อ >> วิธีเตรียม “พี่มือใหม่” ป้องกันความรู้สึกอิจฉา-น้อยใจ ปลูกฝังให้รักน้อง คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่