5.ถึงแม้พ่อแม่จะฟัง แต่ก็รู้สึกว่าไม่ได้ตั้งใจฟังเราเลย
บางครั้งคุณพ่อ คุณแม่อาจไม่ใส่ใจคำพูดของลูก ฟังให้มันจบๆ ผ่านๆ ไป แต่ลูกกำลังรู้สึกอยากเล่ามากๆ ตื่นเต้นมากๆ อยากให้ใครสักคนรับฟัง แต่พ่อแม่ก็ไม่สนใจฟังอย่างตั้งใจ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ปฏิเสธ การพูดกันก็จะน้อยลง การที่คนที่ลูกรักมากที่สุด ไม่รับฟัง ยิ่งจะทำให้กำลังใจของลูกลดลง ไม่อยากให้พ่อแม่ฟังอีก
6.บางครั้งพ่อแม่ชอบถาม เหมือนจับผิด
เมื่อพ่อแม่เริ่มตั้งคำถามที่ดูเหมือนจะจับผิด ลูกจะตั้งด่านกำแพงระแวงพ่อแม่ และมีความรู้สึกว่าทำไมพ่อแม่ต้องจับผิดตัวเองด้วย จริงๆ พ่อแม่อาจจะแค่เป็นห่วง และอยากคุยกับลูกบ้าง
7.เมื่อให้ลูกแสดงความคิดเห็น ก็ไม่ยอมฟัง
พ่อแม่ชอบเสนอให้ลูกแสดงความคิดเห็น แต่เมื่อลูกพูดออกไป ก็ปัดความเห็นลูกทิ้ง ทำให้ลูกคิดว่าคิดอะไรออกไปก็ไม่ดีสักอย่าง ขี้เกียจเสนอแล้ว ไม่พูดดีกว่า พ่อแม่ควรให้เหตุผลว่าทำไมความคิดของลูกถึงไม่ผ่าน แล้วลองให้ลูกคิดใหม่อีกครั้ง อย่าไปให้ลูกรำคาญพ่อแม่ที่ไม่ฟังตัวเอง จนกลายเป็นการไม่เข้าใจกัน
8.พ่อแม่มักเข้ามาพูดกับลูกผิดจังหวะ
บางครั้งลูกกำลังง่วนอยู่กับการทำการบ้าน มึนงงกับการเรียน หรือกำลังทำงานประดิษฐ์ชิ้นเอกที่ต้องใช้สมาธิ แต่พ่อแม่ก็เข้ามาขัดจังหวะ ในเวลาที่ลูกกำลังยุ่งๆ เมื่อลูกมีอาการหน้าตึงใส่ทันที แทนที่บรรยากาศการพูดคุยจะสบาย ไม่กดดัน กลับกลายเป็นการจบลงด้วยการทะเลาะ และต่างฝ่ายต่างก็ต้องเลิกพูดคุย
เทคนิคทำให้ลูกชอบพูดคุยกับพ่อแม่
1.คิดว่าลูกของเราเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่ง เปิดใจ ฟังลูก และไม่คิดว่าเขาคือเด็ก ให้คิดว่าเขาคือผู้ใหญ่เหมือนเรา
2.ใกล้ชิดลูกแต่ไม่วุ่นวาย เจ้ากี้เจ้าการ บีบบังคับ คอยดูแลอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ เมื่อมีปัญหาก็พร้อมคุย
3.อย่าสั่งสอน อบรม ดุว่า โวยวาย ทั้งที่ยังฟังไม่จบ ฟังให้ชัด ฟังให้หมด อดทนฟังจนจบ ก่อนที่จะสอนลูก