ลูกเราพร้อม ” เล่นเป็นทีม ” หรือยัง

Alternative Textaccount_circle
event

คำแนะนำคือ ควรลองสำรวจดูก่อนว่าลูกพร้อมไหมสำหรับกีฬาประเภททีม หรือต้องเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง ด้วยคำถามเหล่านี้

 

 

 
1 ลูกชอบกีฬาประเภทนั้นจริงหรือ บางครั้งพ่อหนูแม่หนูอาจเห่อตามกระแส หรือเกาะเพื่อนสนิทที่เป็นสปอร์ตเกิร์ลเหนียวแน่นจนตามไปร่วมทีมด้วย ถ้าอย่างนั้นต้องคุยกันให้ดีก่อน เพราะถ้าไม่เริ่มจากความชอบ เดี๋ยวลูกก็เบื่อและเลิกเล่น เสียเวลาเปล่าๆ

 

 

 
2 เขาสามารถเคลื่อนไหวร่างกายและประสานมือ – ตาได้อย่างคล่องแคล่วไหม ดร.แซลลี่ไวท์ ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากวิทยาลัยนอร์เทอร์ดัมในบัลติมอร์ แนะนำว่า ถ้าลูกของคุณสามารถจับลูกบอลที่พุ่งตรงเข้ามาหาได้ เขาก็มีทักษะพอจะเริ่มเล่นกีฬาที่ใช้การเคลื่อนไหวร่างกายซับซ้อน (มากกว่าการวิ่ง) ได้แล้วละค่ะŽ ถ้าอยากเพิ่มความมั่นใจให้ลูก คุณพ่อคุณแม่จะสวมบทโค้ช ฝึกเทคนิคใหม่ๆ ให้เขาที่บ้านก็ได้นะ

 

 

 
3 ลูกมีสมาธิพอจะจดจ่ออยู่กับเกม/กิจกรรมตลอดหนึ่งชั่วโมงได้หรือเปล่า การแข่งนัดหนึ่งกินเวลาตั้งแต่ครึ่งไปจนถึงหนึ่งชั่วโมง ถ้าลูกจดจ่ออยู่กับเกมไม่ได้และงอแงขอให้พ่อแม่พากลับบ้าน สมาชิกในทีมที่เหลือก็คงต้องลำบากแล้วละ

 

 

 
4 เขาเล่นตามกฎได้หรือเปล่า ถึงแม้ว่าลูกจะเก่งเทคนิคหรือทำแต้มได้มากเท่าไร แต่ถ้าเขาไม่ปฏิบัติตามกฎ (รวมไปถึงเรื่องการมีน้ำใจนักกีฬาและการทำงานเป็นทีม) หนูๆ ก็อาจมีปัญหาได้แถมเป็นปัญหาใหญ่เสียด้วยสิ

 

 

 
5 ลูกพร้อมจะรู้จักเพื่อนใหม่ไหม การเข้าร่วมทีม โดยเฉพาะทีมของโรงเรียน แปลว่าเขาจะต้องทำความรู้จักกับเด็กที่มาจาก

 

 

 
ห้องอื่น หรือเพื่อนกลุ่มที่เขาไม่ได้สนิทสนมด้วยมาก่อน หากว่าลูกปรับตัวไม่เก่ง ก็คงต้องมีแบบฝึกหัดเรื่องการเข้าสังคมแถมไปด้วยแล้วละ

 

 

 
6 มีเวลาทำตามตารางซ้อมได้ไหม การเข้าร่วมกิจกรรมอย่างทีมกีฬา หมายความว่าทั้งลูกและคุณต้องตื่นเร็วขึ้นเพื่อมาให้

 

 

 
ทันซ้อมตอนเช้า หรือกลับบ้านช้าลงเพราะต้องซ้อมหลังเลิกเรียน แถมอาจมีแข่งขันวันเสาร์ – อาทิตย์ด้วย คงต้องคุยกันให้ดีๆ ว่าทุกคนพร้อมสำหรับภารกิจที่เพิ่มขึ้นหรือเปล่า

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up