สำหรับเด็กที่อยู่ในวัยอนุบาล-ประถม การฝึกอ่าน ฝึกเขียน สระภาษาไทย ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ทีมแม่ ABK จึงขอสรุป สิ่งที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสระ มาให้แม่ ๆ ได้เอาไปฝึกลูก ๆ กันค่ะ
เรียนรู้ “สระภาษาไทย” ผันง่าย อ่านคล่อง ครบจบที่นี่!!
สระ หมายถึง เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา ตามหลักภาษา ถือว่าพยัญชนะจำเป็นต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้ สระมีกี่รูป มีกี่เสียง ใช้สระอย่างไร? วางสระในตำแหน่งไหน? เรารวบรวมมาให้แม่ ๆ นำไปสอนลูก ๆ แล้วค่ะ
สระภาษาไทย มีกี่รูป?
รูปสระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้แทนเสียงสระ
|
|
|
สระภาษาไทย มีกี่เสียง?
สระ 21 รูปสามารถเข้ามาประกอบกันเป็นเสียงสระได้ 32 เสียง โดยสะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน ดังนี้
เมื่อเวลาออกเสียงสระ เช่น อะ อา เอะ เอ เอียะ เอีย จะออกเสียงแตกต่างกัน บางตัวออกเสียงสั้น บางตัวออกเสียงยาว จึงแบ่งสระตามอัตราเสียงเป็น 2 จำพวก ได้แก่
- สระเสียงสั้น หรือ รัสสระ ได้แก่ สระที่ออกเสียงสั้น คือ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ไอ ใอ เอา
- สระเสียงยาว หรือ ทีฆสระ ได้แก่ สระที่ออกเสียงยาว คือ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ
ฐานการออกเสียงสระ
เสียงสระในภาษาไทยแบ่งตามฐานการออกเสียงออกเป็น 3 ชนิด คือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน ดังนี้
- สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือ สระที่เกิดจากฐานเสียงเพียงฐานเดียว เปล่งเสียงออกมาเป็นเสียงเดียว ไม่มีเสียงอื่นประสม มีทั้งสิ้น 18 เสียง ได้แก่ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ โอะ โอ เอาะ ออ
- สระประสม หรือ สระเลื่อน คือ สระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ มี 6 เสียงดังนี้
- เอียะ ประสมจากเสียงสระ อี กับ อะ
- เอีย ประสมจากเสียงสระ อี กับ อา
- เอือะ ประสมจากเสียงสระ อือ กับ อะ
- เอือ ประสมจากเสียงสระ อือ กับ อา
- อัวะ ประสมจากเสียงสระ อู กับ อะ
- อัว ประสมจากเสียงสระ อู กับ อา
- สระเกิน คือ สระที่มีเสียงซ้ำกับสระเดี่ยว ต่างกันก็แต่ว่าสระเกินจะมีเสียงพยัญชนะประสมหรือสะกดอยู่ด้วย มี 8 เสียง ได้แก่
- อำ ประสมจากเสียงสระ อะ และพยัญชนะ ม สะกด (อัม) เช่น ขำ บางครั้งออกเสียงยาว (อาม) เช่น น้ำ
- ใอ ประสมจากเสียงสระ อะ และพยัญชนะ ย สะกด (อัย) เช่น ใจ บางครั้งออกเสียงยาว (อาย) เช่น ใต้
- ไอ ประสมจากเสียงสระ อะ และพยัญชนะ ย สะกด (อัย) เช่น ไหม้ บางครั้งออกเสียงยาว (อาย) เช่น ไม้
- เอา ประสมจากเสียงสระ อะ และพยัญชนะ ว สะกด (โอว) เช่น เกา บางครั้งออกเสียงยาว (อาว) เช่น เก้า
- ฤ ประสมจากเสียงพยัญชนะ ร และสระ อึ (รึ) เช่น พฤกษา บางครั้งเปลี่ยนเสียงเป็น ริ เช่น กฤษณะ หรือ เรอ เช่นฤกษ์
- ฤๅ ประสมจากเสียงพยัญชนะ ร และสระ อือ (รือ)
- ฦ ประสมจากเสียงพยัญชนะ ล และสระ อึ (ลึ)
- ฦๅ ประสมจากเสียงพยัญชนะ ล และสระ อือ (ลือ)
บางตำราถือว่าภาษาไทยมี 21 เสียง ทั้งนี้ คือไม่รวมสระเกินทั้ง 8 เสียง เนื่องจากถือว่าเป็นพยางค์ ซึ่งมีหน่วยเสียงในตัวเองโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว และไม่รวมสระประสมเสียงสั้นทั้ง 3 เสียง คือ เอียะ เอือะ อัวะ เนื่องจากมีที่ใช้ในภาษาไทยน้อยมาก และสระ หมายถึง เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา ตามหลักภาษา ถือว่าพยัญชนะจำเป็นต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้ใหญ่จะเป็นคำเลียนเสียงซึ่งไม่ได้ใช้สื่อความหมายอื่น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น
ตำแหน่งของสระ
สระภาษาไทย ต่าง ๆ เมื่อประสมกับพยัญชนะต้น จะอยู่ในตำแหน่งที่แตกต่างกัน ได้แก่
- ไม่ปรากฏรูปสระ ได้แก่ สระอะเมื่อมีตัว ร สะกด (-รร) สระโอะเมื่อมีตัวสะกด (โ–ะ) และสระออเมื่อมีตัว ร สะกด (-ร) เช่น สรร คน รก จง พร
- ข้างหน้าพยัญชนต้น ได้แก่สระอะเมื่อมีตัว ว สะกด (โ-ว) สระเอ (เ-) สระแอ (แ-) สระโอ (โ-) สระเออที่มีตัว ย สะกด (เ-ย) สระใอ (ใ-) และสระไอ (ไ-) เช่น โสว เก เซ เข แล แพ แก โต โพ โท เนย ใกล้ ใคร ใหญ่ ไป ไซ ไส
- ข้างหลังพยัญชนะต้น ได้แก่ สระอะ (-ะ) สระอา (-า) สระออ (-อ) และ ร หัน (-รร) เช่น กะ จะ ปะ มา กา ตา ขอ รอ พอ ธรรม
- ไว้ข้างบนพยัญชนะต้น ได้แก่ สระอือเมื่อมีตัวสะกด (-ื) สระอิ (-ิ) สระอี (-ี) สระอึ (-ึ) และไม้หันอากาศ (–ั) เช่น บิ สิ มิ ปี ดี มี หึ สึ หัน กัน ปัน
- ข้างล่างพยัญชนะต้น ได้แก่ สระอุ (-ุ) และสระอู (-ู) เช่น ผุ มุ ยุ ดู รู งู
- ข้างหน้าและข้างหลังพยัญชนะต้น ได้แก่ สระเอะ (เ-ะ) สระแอะ (แ-ะ) สระโอะ (โ-ะ) สระเอาะ (เ-าะ) สระเออะ (เ-อะ) สระเออ (เ-อ) และสระเอา (เ-า) เช่น เละ เตะ เกะ และ แพะ แกะ โปะ โละ เลอะ เถอะ เจอะ เจอ เธอ เรอ เกา เผา เรา
- ไว้ข้างหน้าและข้างบนพยัญชนะต้น ได้แก่ สระเอะเมื่อมีตัวสะกด (เ–็) สระแอเมื่อมีตัว ร สะกด (เ—็ร) สระแอะเมื่อมีตัวสะกด (แ–็) สระเออะสระเออเมื่อมีตัวสะกด (เ–ิ) และสระเออะที่มีตัว ย สะกด (เ—็ย)
- ข้างบนและข้างหลังพยัญชนะต้น ได้แก่ สระอืเมื่อไม่มีตัวสะกด (-ือ) สระอัวะ (-ัวะ) สระอัว (-ัว) สระอำ (-ำ) สระเอา (เ-า) และสระเอาะเมื่อมีตัวสะกด (–็อ) เช่น มือ ถือ ลือ ผัวะ ยัวะ ตัว รัว หัว รำ ทำ จำ
- ข้างหน้า ข้างบน และข้างหลังพยัญชนะต้น ได้แก่ สระเอียะ (เ-ียะ) สระเอีย (เ-ีย) สระเอือะ (เ-ือะ) และสระเอือ (เ-ือ) เช่น เผียะ เพียะ เกียะ เสีย เลีย เปีย เสือ เรือ เจือ\
>>สรุปตำแหน่งของ สระภาษาไทย มาได้ตามตารางดังต่อไปนี้<<
สระเสียงสั้น |
สระเสียงยาว |
สระเกิน |
|||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ไม่มีตัวสะกด | มีตัวสะกด | ไม่มีตัวสะกด | มีตัวสะกด | ไม่มีตัวสะกด | มีตัวสะกด | ||
–ะ | –ั–1, ———2, -รร, -รร-, โ——5 | –า | –า– | –ำ | (ไม่มี) | ||
–ิ | –ิ– | –ี | –ี– | ใ– | (ไม่มี) | ||
–ึ | –ึ– | –ือ | –ื– | ไ– | (ไม่มี) | ||
–ุ | –ุ– | –ู | –ู– | เ–า | (ไม่มี) | ||
เ–ะ | เ–็–, เ––2 | เ– | เ–– | ฤ, –ฤ | ฤ–, –ฤ– | ||
แ–ะ | แ–็–, แ––2 | แ– | แ––, เ—็—2 | ฤๅ, –ฤๅ | (ไม่มี) | ||
โ–ะ | –– | โ– | โ–– | ฦ, –ฦ | ฦ–, –ฦ– | ||
เ–าะ | –็อ–, -อ-2 | –อ | –อ–, ––3 | ฦๅ, –ฦๅ | (ไม่มี) | ||
–ัวะ1, —ววะ2 | (ไม่มี) | –ัว1, —วว2 | –ว– | ||||
เ–ียะ | (ไม่มี) | เ–ีย | เ–ีย– | ||||
เ–ือะ | (ไม่มี) | เ–ือ | เ–ือ– | ||||
เ–อะ | เ–ิ–4, เ—็— เ––4 |
เ–อ | เ–ิ–, เ––5, เ–อ–6 |
||||
หมายเหตุ
|
ครบทุกหลักการเขียน การอ่าน สระภาษาไทย กันแล้ว แม่ ๆ สามารถนำไปสอนลูก ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเปิดเทอมที่จะถึงนี้ก็ได้เลยค่ะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
แบบฝึกหัดภาษาไทย สำหรับอนุบาล-ป.1 ฝึกอ่าน-เขียน เตรียมความพร้อมด้านภาษา
เริ่มสอนภาษาไทย…ให้ลูกหัดพูด ด้วย 3 วิธีการเพิ่มคลังศัพท์ใหม่แบบง่ายๆ
รวม แบบฝึกหัด ป.1 ดาวน์โหลดฟรี! กว่า 90 ชุด (ไทย วิทย์ คณิต อังกฤษ)
ขอบคุณข้อมูลจาก : th.wikibooks.org
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่