เตือน! เด็กติดโซเชียลหนัก เสี่ยงป่วย โรค Tic Tok ! - Amarin Baby & Kids
โรค Tic Tok

ลูกติดโซเชียลหนัก ระวังป่วย โรค Tic Tok ชอบพูดซ้ำๆ กล้ามเนื้อกระตุกเอง!

Alternative Textaccount_circle
event
โรค Tic Tok
โรค Tic Tok

โรค Tic Tok – เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป โรคภัยไข้เจ็บใหม่ๆ ก็โผล่มาให้เห็นได้เรื่อยๆ ท่ามกลางโรคระบาดครั้งใหญ่ของโลก อย่างโควิด-19 ที่กำลังดำเนินไปอย่างไม่มีทีท่าจะสงบลงง่ายๆ ก็ได้มีโรคอุบัติใหม่ให้พ่อแม่อย่างเราๆ ต้องได้กังวลกันอีกแล้ว กับโรคที่เด็กๆ จะมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อแบบไม่ได้ตั้งใจควบคุมไม่ได้ ชอบพูดอะไรซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งความจริงแล้วตัวการสำคัญก็ไม่ใช่ใครที่ไหน หากแต่เป็น “โลกโซเชียล” ที่พวกเรารู้จักกันดี

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับ “โรคติกส์” หรือ “โรคทูเร็ตต์” ซึ่งเป็น ภาวะความผิดปกติทางระบบประสาทส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกอยากเคลื่อนไหวร่างกายไปมาซ้ำๆ หรือ เปล่งเสียงซ้ำๆ ร่วมกับมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ ของร่างกายโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น สะบัดคอไปมา ทำหน้าผากย่น กระตุกมุมปาก และ ขยิบตา เป็นต้น  และด้วยอาการใหม่ที่พบในครั้งนี้ มีความคล้ายคลึงกับ “โรคติกส์” หรือ “โรคทูเร็ตต์” ทีมแพทย์จึงเรียกอาการใหม่นี้ด้วยชื่อชั่วคราวว่า “กลุ่มอาการคล้ายโรคติกส์” หรือ “Tic Tok” ไปก่อน และยังไม่ฟันธงว่าเป็นอาการเดียวกับโรคติกส์ และ ทูเร็ตต์ หรือไม่

ลููกติดโซเชียลหนัก ระวังป่วย โรค Tic Tok ชอบพูดซ้ำๆ กล้ามเนื้อกระตุกเอง!

โรค Tic Tok คืออะไร?

ชื่อกลุ่มอาการเจ็บป่วยใหม่ที่ไม่คุ้นหู อย่าง “Tic Tok”  หรือ กลุ่มอาการคล้ายโรคติกส์ อาจยังไม่ใช่ชื่อโรคทางการแพทย์อย่างเป็นทางการ เพราะเป็นอาการที่แพทย์และผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตเด็ก ตลอดจนงานวิจัยต่างๆ ได้ทำการศึกษา และค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้  ดาวิเด มาร์ติโน นักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยคาลการี กล่าวว่า โรคนี้ อาจเป็นเหมือน “โรคระบาด ภายในโรคระบาด”
โรค Tic Tok
โรค Tic Tok
นับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19 กุมารแพทย์และผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตเด็กได้สังเกตเห็นอาการกระตุกที่เพิ่มขึ้นในเด็กและวัยรุ่นบางคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระตุกเกร็งหรือโรคติกส์ นอกจากนี้สิ่งที่น่าสนใจคือการพบว่าเด็กที่มีอาการของโรคจะส่งเสียงที่มีลักษณะซับซ้อน และแปลกประหลาดอย่างกะทันหัน
โดยทีมวิจัยหลายทีม ได้ค้นพบอาการแปลก จากการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ของเด็กในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19  โดยการวิจัยส่วนใหญ่ยกตัวอย่าง กรณีของแอพ Tik Tok เป็นหลัก โดยนักวิจัยพบว่าอาการของโรคมีความสัมพันธ์กับการใช้แอพ Tik Tok  ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้เด็กๆ มีอาการคล้ายกับโรคทูเร็ตต์แบบชั่วคราวได้
โดยเฉพาะกับเด็กผู้หญิงอายุตั้งแต่ 12-25 ปี ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ในเด็กหญิง 100 คน มีถึง 20 คน ที่มีอาการของ “โรคติกส์” หรือ “โรคทูเร็ตต์” แบบชั่วคราว ซึ่งถือเป็นเรื่องแปลกไม่น้อย เพราะตามปกติแล้วอาการของโรคทูเร็ตต์ มักพบในเด็กที่อายุน้อยกว่านี้ และที่สำคัญมักพบในเด็กผู้ชายมากกว่าผู้หญิง นอกจากนี้หลักฐานทางการศึกษาวิจัย ยังพบว่า ความเครียดและวิตกกังวลส่วนบุคคล สามารถทำให้อาการรุนแรงขึ้น และยืดเยื้อได้

สาเหตุของโรค Tic Tok

จากช่วงเวลาที่โรคนี้ปรากฏขึ้น ทีมวิจัยได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า อาการกระตุกของกล้ามเนื้อแบบไม่ได้ตั้งใจ และการชอบพูดอะไรซ้ำไปซ้ำมา อาจเกิดได้จากความเครียดสะสมที่เกิดขึ้นในช่วงของการต้องใช้ชีวิตอยู่กับบ้านและโลกออนไลน์เป็นเวลานาน แม้ในปัจจุบันจะยังไม่มีการชี้ชัดว่าสาเหตุเกิดมาจากโลกออนไลน์ หรือ ภาวะโรคระบาดกันแน่  อย่างไรก็ตาม มีเด็กๆ ที่มีอาการคล้ายกับโรคทูเร็ตต์เพิ่มมากขึ้นกว่าที่เคย
ซึ่งนักวิจัย รวมถึงงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า คนที่มีอาการส่วนใหญ่ คือ เด็กผู้หญิง ซึ่งพบในช่วงของโรคระบาด และทั้งหมดเป็นคนที่ติดตาม เน็ตไอดอล หรือ อินฟลูเอนเซอร์ที่อยู่ บนโลกออนไลน์ ซึ่งในท้ายที่สุดที่ผลการวิจัยยังคลุมเครือ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า ความเครียดของการต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว การไม่ได้พบปะผู้คน การใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในช่วงระบาดใหญ่ของโควิด-19 โดยรวม รวมถึงการดูคลิปใน Tik Tok ที่ผู้คนเปล่งคำพูดสำบัดสำนวนต่างๆ บนโซเชียลมีเดีย ก็อาจมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ได้

โรค Tic Tok

สำหรับโรคติกส์ ที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรค Tic Tock  นั้นไม่สามารถรักษา ให้หายขาดได้ การใช้ยาจะบรรเทาอาการได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการมักเป็นๆ หายๆ และแน่นอนว่า เมื่อเกิดโรคแปลกประหลาดที่อ้างอิงผลจากงานวิจัยในครั้งนี้ อาจทำให้พ่อแม่ที่มีลูกวัยเรียนวัยรุ่น รู้สึกกังวลใจกับการใช้โซเชียลมีเดียของลูกได้
ดังนั้นทางที่ดี ผู้ปกครองควรดูแล และจำกัดการใช้งานหน้าจอต่างๆ ของลูกๆ ให้พอเหมาะ อย่างไรก็ตาม มีหลายวิธีที่คุณพ่อคุณแม่โดยเฉพาะของเด็กผู้หญิงกลุ่มที่งานวิจัยพบว่ามีความเสี่ยง โดยเราสามารถชี้แนะลูกๆ ถึงโทษ และภัยจากการใช้โซเชียลมีเดียอย่างไม่เหมาะสมได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับลูกแล้วยังเป็นการเสริมสร้างความฉลาดรอบด้านให้กับลูกๆด้วน Power BQในด้าน ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี HQได้อีกด้วยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : futurism.com , vice.com 
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up