พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก
เด็ก คือบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะจากการสมรส ในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 หมวดที่ 2 เรื่องการปฏิบัติต่อเด็ก เอาไว้ดังนี้
มาตราที่ 25 ระบุพฤติกรรมที่ผู้ปกครองไม่ควรกระทำ
1.ห้ามทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานพยาบาล ไว้กับบุคคลที่รับจ้างเลี้ยง ในที่สาธารณะ โดยไม่รับคืน
2.ห้ามทิ้งเด็กไว้โดยไม่มีการป้องกัน หรือไม่ดูแลสวัสดิภาพ หรือไม่ได้ให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม
3.ห้ามละเลยให้สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต และสุขภาพอนามัย จนอาจจะเกิดอันตรายกับร่างกาย และจิตใจได้
4.ห้ามปฏิบัติต่อเด็กในทางที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการเด็ก
5.ห้ามปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
มาตราที่ 26 ระบุว่าห้ามใครก็ตามกระทำการต่อไปนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่
1.กระทำการทารุณกรรมต่อร่างกาย หรือจิตใจเด็ก
2.จงใจละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต หรือการรักษาพยาบาล จนเกิดอันตรายแก่ร่างกาย และจิตใจ
3.บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร มีความเสี่ยงต่อการกระทำความผิด
4.ห้ามโฆษณา หรือเผยแพร่ว่าจะรับเด็ก หรือยกเด็กให้คนอื่นที่ไม่ใช่ญาติ ยกเว้นได้รับอนุญาตแล้วทางราชการ
5.บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอมให้เด็กไปขอทาน เร่ร่อน เป็นเครื่องมือในการกระทำผิด หาผลประโยชน์
6.ใช้ จ้าง วานเด็กให้ทำงาน หรือทำสิ่งที่อาจจะเกิดอันตราย ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และขัดขวางพัฒนาการ
7.บังคับ ยุยง ให้เด็กเล่นกีฬา หรือกระทำการเพื่อหาประโยชน์ทางการค้า โดยมีลักษณะทารุณกรรมต่อเด็ก
8.ใช้ หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนัน หรือเข้าไปในสถานที่เล่นพนัน ค้าประเวณี หรือสถานที่ที่ห้ามไม่ให้เด็กเข้า
9.บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม ยินยอมให้เด็กแสดงการกระทำลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเพื่อการใดก็ตาม
10.จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุรา หรือบุหรี่แก่เด็ก ยกเว้นการกระทำทางการแพทย์