พัฒนาการทารก วัย 9 เดือน
- คลานเก่ง
- เข้าใจเสียงห้าม
- เล่นจ๊ะเอ๋ ตบมือ
- ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือหยิบของชิ้นเล็ก
วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– หัดให้เกาะยืน เกาะเดิน
– หัดให้เด็กใช้นิ้วหยิบ จับของกินชิ้นเล็กเข้าปาก เช่น ข้าวสุก มะละกอหั่น มันต้มหั่น ฟักทอง ต้ม
– ห้ามใช้ถั่ว หรือของที่จะสำลักได้
เคล็ดลับ : วัยนี้ชอบเล่นอะไรที่เปิดปิดเหมือนบานพับประตูได้ เช่น หนังสือปกแข็ง ฝาตู้เก็บของ กล่องกระดาษที่มีฝาปิด ลูกชอบนั่งเล่นได้เป็นร้อยครั้ง เป็นการฝึกกล้ามเนื้อตาและกล้ามเนื้อมือทำงานประสานกัน
พัฒนาการเด็กทารก วัย 10 เดือน
- เหนี่ยวตัว ตั้งไข่ ลุกขึ้น เกาะยืน เกาะเดิน
- ส่งเสียงต่างๆ “หม่ำ หม่ำ”, “จ๊ะ จ๋า”
วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– จัดที่ให้เด็กคลาน และเกาะเดินอย่างปลอดภัย
– เรียกเด็ก และชูของเล่นให้เด็กสนใจเพื่อลุกขึ้นจับ
เคล็ดลับ : ลูกชอบเล่นหาของที่ซ่อน เป็นการฝึกกล้ามเนื้อการเคลื่อนไหว และ เรียนรู้ว่าวัตถุไม่สูญหายไปไหน ถึงแม้ไม่เห็นก็ตาม เช่น ซ่อนของเล่นไว้ใต้ผ้า แล้วเอามือลูกไปเปิดผ้าเพื่อให้เห็นของเล่น ลูกก็จะทำเลียนแบบได้
พัฒนาการเด็ก วัย 11 เดือน
- ตบมือ
- โบกมือบ๊ายบาย
- พูดคำแรก
เคล็ดลับ : กระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาโดยการพูดคุยโต้ตอบกับลูกบ่อยๆ บอกลูกว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ ถามลูกบ่อยๆ ทำท่าทางประกอบด้วย จะช่วยให้ลูกเข้าใจมากขึ้น ไม่ใช้ทีวี หรือ ดีวีดี
พัฒนาการทารก วัย 12 เดือน
- ก้าวเดินได้เอง
* ถ้าลูกอายุ 1 ปี ยังไม่เกาะเดิน ไม่สามารถใช้นิ้วมือหยิบของกินเข้าปาก ไม่เลียนแบบท่าทาง และเสียงพูด ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
เคล็ดลับ : เด็กบางคนพูดเร็ว คลานเร็ว กว่าเด็กอื่นวัยเดียวกัน บางคนทำได้ช้ากว่าคนอื่น แต่ส่วนใหญ่จะทำได้ในที่สุด แต่ถ้าสงสัยว่าลูกอาจมีปัญหาพัฒนาการช้าผิดปกติ ควรให้แพทย์ตรวจดู ดีกว่าเก็บความวิตกกังวลไว้นานเกินไป
พัฒนาการทารก ดังกล่าวนี้ แสดงความสามารถตามวัยของเด็ก ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจมี พัฒนาการเร็ว – ช้า แตกต่างกัน ถ้าถึงอายุที่ควรทำได้แล้วเด็กทำไม่ได้ ควรให้โอกาสฝึกก่อน ใน 1 เดือน ถ้าไม่มีความก้าวหน้า ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
- ความเชื่อโบราณ! การไหว้ผีบ้านผีเรือน-แม่ซื้อ และรับขวัญเมื่อพาลูกทารกเข้าบ้าน
7 สิ่งสุดว้าว! ทารกทำได้ในครรภ์แม่
ทารกในครรภ์เติบโตช้า ภาวะน่าเป็นห่วง
ขอบคุณบทความ พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
ที่มาข้อมูล: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่