พัฒนาการทารก 1 เดือน เช็กให้รู้ ลูกต้องการอะไรบ้าง? - Amarin Baby & Kids
พัฒนาการทารก 1 เดือน

พัฒนาการทารก 1 เดือน เช็กให้รู้ ลูกต้องการอะไรบ้าง?

account_circle
event
พัฒนาการทารก 1 เดือน
พัฒนาการทารก 1 เดือน

พัฒนาการทารก 1 เดือน เจอกันไม่นาน แม่รู้สึกว่าลูกโตไวมาก เช็กให้รู้พัฒนาการรอบด้านมีอะไรบ้าง พร้อมเคล็ดลับดูแลลูกสำหรับพ่อแม่มือใหม่

หลังจากได้พบหน้าทารกน้อยที่รอคอยมาตลอด 9 เดือน ช่วงเวลาสั้นในหนึ่งเดือนที่แม่กับลูกต่างเริ่มต้นเรียนรู้กัน ทารกที่เหมือนจะเอาแต่นอน กิน ร้องไห้ อึกับฉี่ และต้องคอยพึ่งพาคุณพ่อคุณแม่ตลอดเวลา แต่ระหว่างนี้พัฒนาการทั้งด้านร่างกายและจิตใจของเจ้าตัวน้อยเปลี่ยนแปลงในหลายอย่างทีเดียว

พัฒนาการทารก 1 เดือนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพริบตา พ่อแม่ต้องรู้

พัฒนาการทารก 1 เดือน

พัฒนาการทางร่างกาย หนึ่งเรื่องสำคัญของ พัฒนาการทารก 1 เดือน

ลูกน้อยวัย 1 เดือนมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว เช่น เสียงของแม่ เสียงสัตว์เลี้ยง หรือเสียงเปิดปิดประตูบ้าน ด้วยการทำหน้าเบ้เมื่อได้ยินเสียงดัง หรือหรี่ตาเมื่อถูกแสงจ้า สามารถยกกำปั้นเข้าหาปาก แม้จะตรงเป้าบ้างไม่ตรงบ้าง

ในวัยนี้ลูกน้อยได้ยินเสียงของคุณแม่ได้ชัดเจนแล้ว บางคนอาจหันตามเสียงที่คุ้นเคย สามารถมองเห็นวัตถุที่ห่างออกไป 8-12 นิ้วได้ชัดเจน สบตาเป็น เห็นภาพเป็นสีขาว-ดำ ชอบสัมผัสนุ่มๆของผิวคุณแม่หรือผ้าห่ม แต่รู้สึกไม่ปลอดภัยเลยถ้าโดนเหวี่ยง หรือจับเปลี่ยนทิศเร็วเกินไป

พัฒนาการทารก 1 เดือน
ภาพพัฒนาการทางสายตาของทารกวัย 1 เดือน

 

MUST READ :อันตราย !! จากการ อุ้ม เขย่าทารก “Shaken baby syndrome”

พัฒนาการทางอารมณ์ พื้นฐานจิตใจของพัฒนาการทารก 1 เดือน

แม้ลูกวัย 1 เดือนจะยังพูดคุยกับคุณแม่ได้ แต่ก็รู้จักสื่อสารความต้องการผ่านเสียงร้อง ฉะนั้นไม่ว่าลูกจะรู้สึกหิว กลัว ไม่สบายตัว อยากให้อุ้ม ลูกก็จะร้องบอกแม่รู้ พวกเขาสามารถตอบสนองต่อเสียงและรอยยิ้มของพ่อแม่ได้แล้ว สังเกตว่าเวลาแม่ยิ้มให้ ลูกจะยิ้มตอบ สนุกกับการได้มองหน้าคนใกล้ๆ จึงไม่จำเป็นต้องซื้อของเล่นในวันนี้

อย่างไรก็ดี ทารกแต่ละคนมีพัฒนาการเร็ว-ช้าแตกต่างกัน โดยไม่มีผลเกี่ยวข้องกับความฉลาดหรือความแข็งแรงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเป็นกังวลมากเกินไปหากทารกยังไม่มีพัฒนาการครบทุกข้อ ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้

พัฒนาการทารก 1 เดือน

อย่างไรก็ตาม พัฒนาการเด็กข้างต้นนี้เป็นเกณฑ์อ้างอิงเบื้องต้นสำหรับเด็กทั่วไปว่าสามารถทำอะไรได้ใน แต่ละช่วงวัย ซึ่งอาจมีทักษะบางอย่างที่เด็กปกติ จำนวนหนึ่งทำได้เร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์นี้เล็กน้อย คุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไป ขอเพียงลูกเป็นเด็กที่แข็งแรง สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ อารมณ์ดี ก็เพียงพอ

เช็ก  7 พัฒนาการช้า ลูกเป็นแบบนี้รีบแก้ด่วน

  1. มีปัญหาเรื่องการกลืน กลืนนมแล้วสำลัก หรืออาเจียนบ่อย
  2. ไม่กระพริบตาเมื่อมีแสงจ้า ไม่สอบสนองเสียงดัง
  3. ไม่สบตา สายตาไม่โฟกัสไปที่จุดใดจุดหนึ่ง ไม่มองตามวัตถุ
  4. มีอาการขากรรไกรขณะอยู่เฉยๆ ไม่ร้องไห้
  5. นอนนิ่ม ไม่ขยับแขนขยับขา  หรือแขนขาอ่อนแรง หรือแรงเยอะเกินไป

เคล็ดลับดูแลลูกน้อยอย่างเข้าใจ

* ทารกมีอาการคัดจมูกบ่อย และอาจเกิดจากโรคหวัดได้ถึง 10-12 ครั้งต่อปี แถมมีโอกาสติดเชื้อและมีอาการแพ้ได้ง่ายด้วย

* ทารก 1 เดือนอาจมีอาการไอบ่อยเช่นเดียวกับคัดจมูก โดยเฉพาะในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย บางคนอาจไอติดต่อกันนานถึง 21 วัน ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรซื้อยาแก้ให้ลูกเอง

 MUST READ : วิธีช่วยลูกหายคัดจมูกไม่ต้องกินยา

* วัยแรกเกิด นมแม่คืออาหารหลักของลูกน้อย จะกินนมบ่อยทุกๆ 2-3 ชั่วโมง (ถ้าเป็นนมผงลูกจะร้องหิวทุก 3 ชั่วโมง)  ตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา คุณแม่อาจเริ่มสังเกตได้ว่าตอนไหนลูกจะหิว หรือแยกเสียงร้องของลูกได้ว่า เสียงใดเป็นเสียงร้อยหิวนม

การให้นมสำหรับคุณแม่ให้นมเอง ควรปล่อยให้กินตามต้องการ เมื่ออิ่มก็จะเบือนหน้าออกจากเตา หรือหลับคาอกเลย ระยะนี้คุณแม่ยังต้องให้นมลูกบ่อยสักหน่อย แต่ไม่นานลูกจะดูดนมต่อมื้อมากขึ้นและอิ่มเร็วขึ้นเอง  ไม่จำเป็นต้องให้ลูกดื่มนม เพราะในนมมีปริมาณน้ำมากพอแล้ว

ส่วนการขับถ่ายของลูกน้อยจะสอดคล้องกับปริมาณการกิน โดยเฉพาะทารกจะถ่ายวัน 2 ครั้ง ส่วนเด็กนมแม่ล้วนอาจไม่ถ่ายเป็นบางวัน ลองสังเกตดูหากอึของลูกเป็นก้อนกลมแข็ง แสดงว่าอาการท้องผูก

 Thing to do ลิสต์นี้แม่ห้ามลืม

  • พาลูกไปพบแพทย์และฉีดวัคซีนตามนัด
  • หาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย หรือเดทกับคุณพ่อบ้าง
  • ถ่ายภาพลูกวัย 1 เดือน

แหล่งข้อมูล    www.thebump.com

 

ถอดรหัส เสริมพัฒนาการ 11 กระบวนท่าของทารกที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้!

 

ประโยชน์ที่พ่อและแม่ควรนอนใกล้กันกับลูกน้อย

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up