พัฒนา eq ลูก ด้วย10 ทักษะ สร้างหลักคิดให้พ่อแม่ - amarinbabyandkids
พัฒนา eq ลูก

10 ทักษะสร้างหลักคิดเพื่อพัฒนาอารมณ์ EQ ของลูกน้อย

event
พัฒนา eq ลูก
พัฒนา eq ลูก

แม้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องของการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ นั้นจะถูกพูดถึงมายาวนานเกือบจะ 30 ปีแล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่าการพัฒนา EQ นั้นก็ยังคงเป็นหลักการหนึ่งที่สำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก

เพื่อที่จะเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จทั้งในด้านหน้าที่การงาน และ การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีผลอย่างมากต่อการมีความสุขในชีวิตเมื่อลูกๆของเรานั้นเติบโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่

หากจะถามว่าแล้วความฉลาดทางอารมณ์คืออะไร คำอธิบายที่ง่ายที่สุดก็น่าจะเป็น ความสามารถของคนเราในการที่จะ รู้ ว่าตัวเอง (รวมไปถึงคนอื่น) กำลังรู้สึกอย่างไร และ สามารถที่จะ “จัดการ” กับความรู้สึกเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสมแบบที่คนอื่นๆในสังคมยอมรับได้ และด้วยความสามารถในการรับรู้และจัดการกับอารมณ์นั้นจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อเด็กๆของเราอายุ 3 ขวบโดยประมาณ  คุณพ่อคุณแม่จึงสามารถที่จะส่งเสริมทักษะดังกล่าวได้ตั้งแต่เมื่อลูกกำลังจะเริ่มเข้าโรงเรียนอนุบาล เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ง่ายต่อการเรียนรู้ในเรื่องนี้

พัฒนา eq ลูก ด้วย 10 ทักษะสร้างหลักคิด ที่พ่อแม่ควรรู้

พัฒนา eq ลูก

โดย 10 หลักคิดที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้เพื่อที่จะได้นำไปสอนให้ลูกๆเติบโตไปเป็นคนที่มี EQ ดีมีดังต่อไปนี้

1. ความรู้สึกเป็นสิ่งที่ห้ามไม่ได้ แต่ควบคุมได้

กฎข้อแรกของการจัดการอารมณ์ก็คือ เด็กๆควรจะต้องรู้ก่อนว่าความรู้สึกของคนเรานั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง ห้ามไม่ได้แต่สิ่งที่เราสามารถห้ามได้คือ การกระทำของเรา เช่น เมื่อมีใครมาเหยียบเท้าของเรา เราก็อาจจะรู้สึก โกรธ หรือ โมโห ซึ่งนั่นเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่ลูกต้องเรียนรู้ก็คือว่า เมื่อ โกรธแล้ว โมโหแล้ว เขาควรจะทำอย่างไร เช่น เขาควรจะเดินเข้าไปชกหน้าคนๆนั้น หรือ เขาควรที่จะพูดกับเขาดีๆ หรือ เพียงแค่หายใจเข้าออกลึกๆ แล้วเดินจากไป

ดังนั้นเมื่อลูกของคุณกำลังมีความรู้สึกอะไรบางอย่าง คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะต้องคอยสังเกตว่าการแสดงออกของเขามันเหมาะสมพอควรหรือไม่ ซึ่งถ้าคำตอบคือไม่ ก็ควรจะสอนเขาว่า  พ่อเข้าใจว่าลูกคงโกรธมาก แต่พูดกันดีๆก็ได้ อย่ามาตีพ่อแบบนี้ พ่อไม่ชอบ

2. ในเหตุการณ์เดียวกันคนเราอาจจะรู้สึกไม่เหมือนกัน

เนื่องจากคนเราแต่ละคนนั้น มีความสนใจ หรือ ความคาดหวังในเรื่องต่างๆไม่เท่ากัน เช่น บางคนอาจจะให้ความสำคัญกับเรื่องเรียนมาก เมื่อเรียนได้ไม่ดีก็จะรู้สึกแย่ ขณะที่อีกคนให้ความสนใจกับเรื่องอื่นมากกว่า จึงไม่ได้รู้สึกอะไร ความรู้สึกของแต่ละคนนั้นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเหมือนกัน และการที่เราจะรู้ได้ว่าใครรู้สึกอย่างไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น ก็สามารถทำได้ด้วยการถาม เช่น พ่อรู้ว่าลูกชอบเล่นเตะต่อยกับเพื่อน แต่ลูกลองดูสิว่าเพื่อนร้องไห้ทุกครั้งเลยเวลาที่เล่นแบบนี้  ลูกคิดว่าเค้าน่าจะรู้สึกยังไง

เมื่อเราตั้งคำถามชวนลูกให้คิดถึงความรู้สึกของผู้อื่น นั่นคือจุดเริ่มต้นของการเกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หรือที่เรียกว่า Empathy และเมื่อเราตั้งคำถามชวนลูกให้คิดถึงความรู้สึกของตัวเอง นั่นก็คือจุดเริ่มต้นของการเกิดความสามารถในการพิจารณาตัวเอง หรือ ที่เรียกว่า self-monitoring

3. การพิจารณาตัวเองคือหัวใจสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์

หากเราอยากที่จะ “จัดการ” กับอะไรก็ตามเราก็ต้อง “รู้” เสียก่อนว่าสถานการณ์ตอนนี้ของเรื่องที่เราอยากจะจัดการนั้นเป็นอย่างไร อารมณ์ความรู้สึกของคนเราเองก็เช่นกัน หากเราอยากจะจัดการหรือควบคุมมัน ขั้นแรกเลยคือเราก็ต้อง “รู้” เสียก่อนว่า ตอนนี้เรากำลังรู้สึกอย่างไร นี่เองคือสิ่งที่เรียกว่า self-monitoring ดังนั้นจึงต้องอาศัยการตั้งสติ และ ค่อยๆพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจ แน่นอนว่าในเด็กเล็กๆอาจจะเป็นการยากที่เขาจะทบทวนและบอกความรู้สึกของตัวเองได้ คุณพ่อคุณแม่จึงอาจจะต้องช่วยให้ลูก “รู้” อารมณ์ความรู้สึกของตัวเองด้วยการตั้งคำถาม เช่น แม่ว่าตอนนี้หนูน่าจะกำลังโกรธอยู่ใช่ไหมลูก ไหนโกรธใคร โกรธเรื่องอะไรลองบอกแม่ซิ

อ่านต่อ >> “ทักษะสร้างหลักคิดเพื่อพัฒนาอารมณ์ EQ ของลูกน้อย ที่พ่อแม่ควรรู้” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up