8. อย่าละเลยอารมณ์ทางบวก
มีคุณพ่อคุณแม่หลายคนเข้าใจผิดว่าการจัดการกับความรู้สึกนั้นเอาไว้สำหรับจัดการอารมณ์ลบๆ เช่น เศร้า โกรธ หรือ กลัว เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การชวนลูกให้พิจารณาถึงอารมณ์ความรู้สึกทางบวก เช่น ดีใจ มีความสุข สนุกสนาน ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะมีคนไข้โรคซึมเศร้าหลายคนทีเดียวที่เมื่อจิตแพทย์ถามว่า เคยมีความสุขกับเรื่องอะไรบ้าง ปรากฏว่าเขาเหล่านั้นกลับนึกไม่ออก ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากว่ากำลังอยู๋ในภาวะซึมเศร้า แต่อีกส่วนหนึ่งมักเกิดจากการที่เราเองอาจไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับอารมณ์ทางบวกของตัวเองสักเท่าไหร่ เมื่อรู้ดังนี้แล้วเมื่อคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าลูกกำลังมีความสุข ก็อาจจะชวนเขาให้พูดคุยถึงมัน เช่น “ดูวันนี้ลูกมีความสุขมากเลย ไหนเล่าให้พ่อฟังหน่อยซิว่า ไปทำอะไรสนุกๆมาบ้าง” เพราะการได้เล่าเรื่องที่มีความสุข จะทำให้เขาต้องนึกถึงมัน และ เมื่อเขานึกถึงมัน เขาก็จะจำมันได้ในที่สุด
9. ยิ่งมีประสบการณ์ ยิ่งคุมอารมณ์ได้ดี
เนื่องจากบางความรู้สึก เช่น ความวิตกกังวลในวันที่จะต้องออกไปพูดหน้าชั้นนั้น ที่ไม่ว่าจะคิดอย่างไร หรือ จะทำอะไรสุดท้ายแล้วเราก็อาจจะยังคงรู้สึกกังวลเท่าเดิมอยู่ดี ยิ่งเป็นครั้งแรกๆด้วยแล้วล่ะก็แต่เราก็จะพบว่า เมื่อทำกิจกรรมเหล่านั้นไปมากๆเข้า นานๆไปความกังวลก็จะค่อยๆน้อยลง ซึ่งก็เกิดจะเกิดจากการที่เรา “ชำนาญ” หรือ “เคยชิน” กับการทำสิ่งเหล่านั้นนั่นเอง ดังนั้นอีกวิธีหนึ่งในการพัฒนา EQ ของลูก ในเวลาที่เขากำลังเครียดหรือกังวลกับการทำอะไรที่ไม่เคยทำมาก่อนก็อาจจะเป็นแค่เพียงการปลอบเขา และ บอกเขาว่า “ทำไปเถอะลูก เดี๋ยวทำบ่อยๆ หนูก็จะกังวลน้อยลงไปเอง”
10. ความฉลาดทางอารมณ์ของพ่อแม่ มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของลูก
เนื่องจากว่าอารมณ์ของคนเรานั้น สามารถไปกระตุ้นให้คนรอบข้างให้เกิดอารมณ์เดียวกันได้ เช่น คุณคงเคยมีประสบการณ์ที่สมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว หัวเราะเป็นบ้าเป็นหลังเพราะมุขตลกฝืดๆในทีวี จนทำให้ทุกคนในบ้านพลอยหัวเราะไปด้วย ด้วยความขบขันที่เห็นคนๆนั้นหัวเราะขนาดนั้น หรือ หากคุณมีเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งที่เป็นคนขี้โมโห หงุดหงิดง่าย เห็นอะไรก็ขวางหูขวางตา ไม่พอใจอะไรก็บ่นๆๆๆๆๆๆ อยู่กันไปสักพัก คุณก็อาจจะรู้สึกหงุดหงิดไปกับเขาด้วยว่า “มันจะหงุดหงิดอะไรกันนักกันหนา” จึงสำคัญมากที่นอกจากจะฝึกลูกให้เป็นคนที่มี EQ ดีแล้ว คุณพ่อคุณแม่เองก็ควรที่จะพัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่รู้ทันอารมณ์และสามารถจัดการอารมณ์ของตัวเองได้อย่างเหมะสมด้วย
นอกจากจะทำให้บรรยากาศในบ้านอบอุ่นปลอดภัยและเหมาะสมต่อการเติบโตของลูกๆแล้ว พวกเขาจะยังได้เห็น จดจำ และ ลอกเลียนแบบวิธีการ หลัก คิด และ คำพูดต่างๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ เอาไว้จัดการกับอารมณ์ของตนเองอีกด้วย เมื่อลูกได้เติบโตขึ้นในบ้านที่มีการจัดการอารมณ์ที่ดี คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะพอวางใจได้ว่า เมื่อถึงวันที่เขาเป็นผู้ใหญ่ ลูกก็น่าจะเป็นแบบอย่างที่ดี และ สามารถถ่ายทอดทักษะดีๆเหล่านี้ต่อไปยังลูกของเขาได้ ดังที่เราเคยทำมานั่นเอง
อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!
- สอนลูกมีความฉลาดทางอารมณ์ ด้วยการสร้าง 7 นิสัยเพิ่มสุขนี้!
- กอดลูก ทารก ภาษารักง่ายๆ ช่วยเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์
- ไอคิวกับอีคิว แตกต่างกันอย่างไร
- 4 เคล็ดลับสร้าง “ลูกอารมณ์ดี”
เรื่องโดย : อ.นพ.อัศวิน นาคพงศ์พันธุ์ อาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หรือ คุณหมอตั้มแห่งเพจ “เลี้ยงลูกให้เป็นปกติ”