วิธีสร้างวินัยเชิงบวก ด้วย 10 เทคนิคไม่ให้ลูกต่อต้าน! - amarinbabyandkids
วิธีสร้างวินัยเชิงบวก

วิธีสร้างวินัยเชิงบวก ด้วย 10 เทคนิคแสนง่าย ไม่ให้ลูกต่อต้าน!

event
วิธีสร้างวินัยเชิงบวก
วิธีสร้างวินัยเชิงบวก

วิธีสร้างวินัยเชิงบวก ที่ดีให้ลูก เป็นการที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจของลูก และในขณะเดียวกันก็ใช้เป็นเครื่องมือในการสอนพฤติกรรมที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน

แล้วพูดอย่างไรให้ลูกฟัง! ทำอย่างไรให้ลูกเชื่อ? …เป็นคำถามยอดฮิตของคุณพ่อคุณแม่ในทุกยุคทุกสมัย

ซึ่งสาเหตุหลักที่ลูกไม่ค่อยเชื่อฟัง มีอยู่ 2 สาเหตุ ได้แก่ พัฒนาการ และวิธีการสื่อสารของคุณพ่อคุณแม่ กล่าวคือ ยิ่งลูกโตขึ้น มีพัฒนาการมากขึ้น ความรู้สึกนึกคิด และความเป็นตัวของตัวเองก็จะมีเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นการแสดงความคิดเห็น และการแสดงความรู้สึกของลูก ที่แตกต่างไปจากความต้องการของคุณพ่อคุณแม่ จึงเป็นเรื่องธรรมดา

สิ่งสำคัญคือ เราจะมีวิธีการสื่อสารอย่างไร ที่จะไม่ไปกระตุ้นต่อมต่อต้าน ต่อมดื้อรั้น และต่อมก้าวร้าวของลูก ซึ่งหลายๆครั้งวิธีการสื่อสารของเรานี้เอง ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เด็กไม่เชื่อฟัง

10 เทคนิคแสนง่าย วิธีสร้างวินัยเชิงบวก
โดยไม่ให้ลูกต่อต้าน!

เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นวิธีการสื่อสารกับลูกอย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากความรุนแรง และการทำร้ายร่างกายและจิตใจของเด็ก เป็นเครื่องมือการสื่อสาร ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจของลูก และในขณะเดียวกันก็ใช้เป็นเครื่องมือในการการสอนพฤติกรรมที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน

วิธีสร้างวินัยเชิงบวก

นอกจากนี้ เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวกยังเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ช่วยสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดี ระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูกอีกด้วย โดยเป้าหมายสูงสุดของการใช้เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก คือ การสอนให้ลูกมีวินัยในตนเอง และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถรับผิดชอบหน้าที่ตนเอง และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข …เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก 10 เทคนิค ที่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องมีติดตัวไว้ ได้แก่

1. เทคนิคการชม

คือการชมเชยลูกเมื่อลูกกำลังมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสม โดยการชมที่มีประสิทธิภาพ จะเป็นการชมถึงพฤติกรรมเจาะจง และตามด้วยคุณลักษณะที่สอดคล้องกับพฤติกรรม

ตัวอย่างที่ :

แม่ภูมิใจมาก ที่หนูเล่นแล้วเก็บ หนูเป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบมากเลย

(คำชม)    +   (พฤติกรรมเจาะจง)      (คุณลักษณะ)

ตัวอย่างที่ 2 :

เก่งมาก ที่หนูพับขากางเกงขึ้นไม่ให้เปียกน้ำ หนูเป็นเด็กที่รู้จักแก้ไขปัญหา

(คำชม)    +    (พฤติกรรมเจาะจง)        (คุณลักษณะ)

 

การชมโดยการบอกพฤติกรรมเจาะจง และคุณลักษณะ จะช่วยให้ลูกเห็นภาพเป็นรูปธรรมชัดเจนว่า พฤติกรรมใดที่คุณพ่อคุณแม่คาดหวังให้เขาทำ นอกจากนี้ ยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์จิตใจ ให้ลูกมองตนเองในทางที่ดี และมีความสามารถอีกด้วย


2. เทคนิคการแสดงความเข้าใจ

คือ การบอกอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมของลูกที่กำลังเกิดขึ้น โดยการบอกว่าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจ ว่าลูกรู้สึกอย่างไร เพราะอะไร ลูกจึงแสดงพฤติกรรมนั้น

ตัวอย่างที่ 1 :

แม่เข้าใจว่า  หนูไม่พอใจ  ที่แม่ไม่ซื้อของเล่นให้  หนูจึงร้องไห้โวยวาย

(แสดงความเข้าใจ  +  ความรู้สึก  +  สาเหตุ  +  พฤติกรรมที่แสดง)

ตัวอย่างที่ 2 :

พ่อเข้าใจว่า หนูโกรธ ที่น้องมาแย่งของเล่นหนูไป หนูเลยตีน้อง

(แสดงความเข้าใจ + ความรู้สึก +  สาเหตุ  +  พฤติกรรมที่แสดง)

 

การแสดงความเข้าใจ จะช่วยให้ลูกเรียนรู้และเข้าใจอารมณ์ของตัวเอง ซึ่งเป็นพื้นฐานของความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ ที่สำคัญเทคนิคการแสดงความเข้าใจนี้ มีเป้าหมายเพื่อปลอบให้อารมณ์ลูกลดลงสู่ระดับปกติได้เร็ว เพื่อที่ว่าหลังจากเขาอารมณ์ปกติแล้ว เราจึงสามารถสอนพฤติกรรมที่เหมาะสมได้

อ่านต่อ >> “เทคนิคแสนง่าย วิธีสร้างวินัยเชิงบวกโดยไม่ให้ลูกต่อต้าน!” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up