7. ล่วงละเมิดทางกายและวาจา
เด็กที่มีปัญหาสุขภาพจิตนั้น ส่วนใหญ่จะเจอกับการล่วงละเมิดทางกายและวาจาจากผู้ปกครองค่ะ การดุด่าว่ากล่าวและลงโทษเมื่อเด็กๆ ทำผิดคือสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนทำด้วยความรักและหวังดีนะคะ แต่การลงโทษในเรื่องที่เล็กน้อยมากเกินไป บ่อยเกินไป และรุนแรงเกินไป จะทำให้เด็กๆ ต่อต้านต่อพฤติกรรมของพ่อแม่ค่ะ การลงโทษเด็กๆ ควรจะเป็นวินัยเชิงบวกมากกว่าการดุด่าว่ากล่าวค่ะ เด็กๆ ต้องการอ้อมกอด จูบเบาๆ และการแสดงความรัก ถ้าคุณพ่อคุณแม่ตะโกนใส่ลูก ดุด่าลูก เรียกเขาด้วยคำหยาบคาย (แม้จะด้วยเจตนาดี) ลูกกำลังเข้าใจคุณพ่อคุณแม่ผิดค่ะ
8. มีอารมณ์ปรวนแปร
เพราะการเลี้ยงลูกต้องใช้ความอดทนอย่างสูง โดยเฉพาะลูกที่ยังเป็นเด็กไร้เดียงสา บางครั้งก็อาจเผลอทำบางสิ่งบางอย่างขัดตาขัดใจพ่อแม่ขึ้นมาได้ จนพ่อแม่บางคนสะกดอารมณ์ไม่อยู่ต้องตีกันสักเพี้ยะสองเพี้ยะ แต่ถ้านั่นเป็นแค่การแสดงอารมณ์โกรธ และตีเพื่อระบายอารมณ์ของตัวเอง ก็เท่ากับเป็นการสอนเรื่องการใช้ความรุนแรงให้กับลูกไปในตัว
แม้ว่าการแก้ไขนิสัยเจ้าอารมณ์ของคนเป็นพ่อแม่จะเป็นเรื่องยาก แต่พ่อแม่ที่มีนิสัยนี้ติดตัวก็คงเข้าใจถึงความเลวร้ายของมันได้เป็นอย่างดี และเชื่อว่าร้อยทั้งร้อยไม่มีใครต้องการส่งต่อนิสัยเจ้าอารมณ์ให้กับลูกเป็นแน่ ดังนั้น การฝึกความอดทนอดกลั้นเป็นทางเดียวที่จะยุติปัญหานี้ ถ้าทนไม่ไหวจริง ๆ แทนที่จะตีลูก อาจเดินออกไปสงบสติอารมณ์ข้างนอก (แต่ถ้าจะทิ้งลูกไว้คนเดียวในห้อง ต้องมั่นใจว่าลูกอยู่ในที่ที่ปลอดภัยด้วยนะคะ)
นอกจากนั้น การเปลี่ยนทัศนคติ มองสิ่งต่างๆ ที่ลูกทำในแง่บวกเข้าไว้ก็ช่วยได้เช่นกัน เพราะเมื่อลูกทำบางสิ่งที่ไม่ถูกใจ การมองในแง่บวกก็อาจช่วยให้คุณหัวเราะไปกับความน่ารักของเด็กๆ แทนการโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง หรือตีความว่าลูกดื้อ ลูกท้าทาย นั่นเอง
9. ชอบบังคับ
พ่อรู้ดีที่สุด แม่รู้ดีที่สุด ว่าอะไรที่ดีกับลูก แต่บ่อยครั้งที่พ่อแม่ก็เลือกสิ่งที่ตัวเอง “คิด” ว่าดีที่สุดต่อลูก โดยไม่ถามลูกสักคำ ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยที่ไม่ควรจะต้องบังคับถึงเรื่องใหญ่ๆ ทั้งเรื่องคณะที่จะเรียนไปจนถึงงานที่จะทำ จนกลายเป็นพวกบ้าอำนาจไปในที่สุด สิ่งเหล่านี้นอกจากจะทำให้เด็กๆ ต้องทนรับความกดดันแล้ว ยังสร้างความเครียดให้กับเขา ซึ่งอาจส่งผลกระทบมากเกินกว่าที่คุณพ่อคุณแม่จะคิดได้ค่ะ
10. ไม่วางแผนนิสัยการใช้เงิน
พ่อแม่บางคนใช้เงินไม่เป็น ไม่มีการวางแผนการเงิน สร้างหนี้สินมากมาย นอกจากจะทำให้ลูกได้นิสัยเหล่านั้นไป ยังทำให้เดือดร้อนต่อตัวเองและลูกอีกด้วยค่ะ ขณะที่พ่อแม่บางคนก็ตระหนี่ถี่เหนียวเกินไป จนกดดันให้ลูกมีนิสัยลักเล็กขโมยน้อยได้ หรือถ้าหากคุณพ่อคุณแม่จ่ายให้ง่ายเกินไป เด็กๆ ก็อาจจะกลายเป็นเด็กที่ไม่รู้จักคุณค่าของเงินได้นะคะ
11. ไม่เชื่อใจลูก
พ่อแม่บางคนก็เป็นแบบนี้นะคะ คือเชื่อใจคนอื่นมากกว่าเชื่อลูกตัวเอง จนในบางครั้งลูกๆ ก็ไม่ได้อธิบายในสิ่งที่เขาต้องการ พฤติกรรมแบบนี้ของพ่อแม่จะทำให้ลูกต่อต้านและยิ่งทำให้สิ่งที่พ่อแม่ไม่อยากให้ทำค่ะ
สรุปแล้วคือ สัญญาณที่บอกว่าคุณเป็นพ่อแม่ที่เริ่มเลี้ยงลูกไม่โอเคแล้ว เช่น เด็กๆ ไม่มีความมั่นใจ มีพฤติกรรมที่ไม่ดี หรือมีปมไปตลอดชีวิต ความเป็นพ่อแม่นั้นเป็นไปตลอดชีวิตค่ะ ลูกก็เช่นกัน เขาจะเฝ้ามองคุณไปตลอดเหมือนกัน ดังนั้นหากรู้สึกว่าพฤติกรรมลูกเริ่มไม่โอเคสำหรับตัวคุณพ่อคุณแม่เองแล้ว สิ่งที่ต้องเริ่มทำให้เร็วคือ เปลี่ยนตัวเองก่อนเลยค่ะ ไม่ต้องไปเปลี่ยนที่ลูก เมื่อไหร่ที่เห็นลูกทำผิดก็สอนกันไป และทำตัวอย่างให้ลูกเห็นด้วย
ลูกเราจะเป็น เพชร หรือ ขยะ สำหรับสังคมและประเทศชาติ ก็ขึ้นอยู่กับคุณพ่อคุณแม่แล้วค่ะ ว่าคุณจะเป็นตัวอย่างให้เขาเป็นไปในทิศทางใด
12. หลงในอบายมุข
การใช้เวลากับสมาชิกในครอบครัวอาจลดน้อยลงในกรณีที่พ่อแม่หลงมัวเมาอยู่กับอบายมุข รวมถึงเงินทองและความสุขที่จะค่อยๆ ร่อยหรอตามไปด้วย หากคุณพ่อคุณแม่ตระหนักได้ว่าตนเองตกอยู่ในภาวะดังกล่าว ก็ถือเป็นโชคดีที่จะได้รู้ถึงความเลวร้ายและถอนตัวออกมา แต่หลายคนก็ไม่สามารถทำได้ เพราะจิตใจไม่เข้มแข็ง เมื่อถูกเพื่อนชวนก็ใจอ่อนตกปากรับคำไปกับเขา ปล่อยให้ลูกๆ และครอบครัวล่มสลายทางใครทางมันก็มีให้พบเห็นอยู่บ่อยๆ
สุดท้ายนี้ ข้อเสียของคนเป็นพ่อแม่ทั้ง 12 ข้อนี้หากลด ละ เลิกได้ ครอบครัวและลูกๆ จะมีความสุขขึ้นอีกมากค่ะ และเราเชื่อว่า คนเราเมื่อเลือกเป็นพ่อแม่ของเด็กสักคนหนึ่งแล้ว การจะกล่อมเกลาเลี้ยงเขาให้เติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ อาจไม่จำเป็นต้องหาเทคนิคสร้างเด็กดีจากที่ไหน เพราะบางเรื่องก็สร้างได้จากตัวคุณพ่อคุณแม่นั่นเอง อยู่ที่ว่า วันนี้คุณจะยอมรับและปรับตัวเพื่อลูก ๆ กันหรือเปล่าค่ะ
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- ทำ หน้าที่พ่อแม่ให้ดีที่สุด หยุดกังวลเกินเหตุจนบั่นทอนจิตใจตน
- 7 หน้าที่พ่อแม่ เลี้ยงลูกชาย เป็นเด็กรักดี ไม่เกเร
- 7 วิธี การเป็นพ่อแม่ที่ดี ของลูก ไม่ยากอย่างที่คิด
- พ่อแม่รังแกฉัน ! บาป 14 ประการ จากท่าน ว.วชิรเมธี
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก : wehavekids.com , www.manager.co.th