3. อย่าอายที่จะพูดเสียงสูง เสียงเล็ก กับลูก
โดยธรรมชาติแล้วพ่อแม่มักจะทำเสียงสูงๆ เหมือนกับกำลังร้องเพลงเวลาที่คุยกับเด็กทารก ซึ่งอันที่จริงแล้ว เด็กทารกจะตอบสนองได้ดีขึ้นและสนใจมากขึ้น หากคุณคุยกับเขาด้วยประโยคสั้นๆ และเสียงสูง ๆ แทนที่จะพูดด้วยเสียงที่ราบเรียบ
4. พูดทีละคน
สำหรับเด็กเล็กๆ นั้น คำพูดของคุณจะต้องแย่งความสนใจจากเสียงแบคกราวน์ และสิ่งล่อตาล่อใจอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ดังนั้น เมื่อคุณจะคุยกับลูก คุณควรลดเสียงแบคกราวน์ลงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเวลาที่คุยกับลูก คุณควรพูดทีละคน เพื่อที่จะให้เขาสามารถฟังตามคำพูดของคุณได้ แม้ว่าเขาจะยังไม่เข้าใจสิ่งที่เขาได้ยินทั้งหมดก็ตาม
5. ชวนพูดคุยกับลูกเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
เมื่อถึงเวลาป้อนอาหาร อาบน้ำ หรืออุ้มลูก พูดกับเขาอธิบายให้เขารู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ พูดถึงอุณหภูมิ กลิ่นผิวสัมผัส และการกระตุ้นทางประสาทสัมผัสอื่นๆ เรียกชื่ออวัยวะที่เขาสนใจ วัตถุสิ่งของในชีวิตประจำวัน อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ของใช้ในบ้านหรือของเล่นของเขา
นักวิจัยได้วิเคราะห์การสนทนาของแม่ลูก 24 คู่ โดยลูกมีอายุระหว่าง 15-21 เดือน พบว่าการใช้เวลากับลูกเพื่อพูดคุยกับเขาถึงของที่เขากำลังเล่น จะมีผลต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็กได้ดีกว่าการพูดถึงสิ่งที่ยากๆ เนื่องจากเด็กมีความสนใจของเล่นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คำศัพท์ที่เกี่ยวกับการเล่นและของเล่นจึงเป็นสิ่งที่เขาจดจำได้ง่าย
6. ตอบลูกให้มากกว่า สิ่งที่ลูกถาม
เมื่อลูกชี้ไปที่สุนัขในบ้านและพูดว่า “หมา หมา” แทนที่จะตอบลูกเพียงว่า “ใช่จ๊ะ นั่นคือหมา” ก็ควรเพิ่มข้อมูลแก่เขา เช่น “ใช่จ๊ะ นั่นคือหมาพันธ์ุโกลเดนรีทริฟเวอร์มีขนยาวๆ สีทองๆ ” แม้ว่าลูกของคุณอาจไม่เข้าใจหรือไม่สามารถจดจำทุกถ้อยคำที่คุณพูด แต่ข้อมูลเหล่านี้จะซึมเข้าไปในระบบการเรียนรู้ของเขา
7. ใช้ภาษาที่ถูกต้อง
ลูกจะเรียนรู้ภาษาได้อย่างถูกต้องและชัดเจน หากเราคอยช่วยแก้ไขคำศัพท์ที่เขาพูดผิดให้ถูกต้อง เช่น แทนที่จะปล่อยให้ลูกพูด “ไอติม” ซึ่งอาจฟังดูน่ารัก แต่ทางที่ดีควรสอนให้เขาพูด “ไอศกรีม” เพื่อที่เขาจะได้เรียนรู้คำที่ถูกต้อง และถ้าต้องจ้างพี่เลี้ยงเด็ก ก็ควรเลือกคนที่พูดภาษาได้ถูกต้องชัดเจนด้วย
8. พูดให้ถูกหลักไวยากรณ์
ก่อนที่ลูกจะมีอายุ 3 ขวบ จะเป็นช่วงที่เขาเรียนรู้ที่จะผสมประโยคได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ เด็กจะรู้จักเรียงคำให้เป็นประโยค โดยเรียนรู้จากบทสนทนาที่เขาได้ยินจากพ่อแม่หรือคนเลี้ยงทุกวัน ดังนั้นเราจึงควรพูดให้เป็นประโยคอย่างถูกต้อง แทนที่จะพูดเป็นภาษาเด็กๆ เป็นคำๆ
⇒ Must read : เริ่มสอนภาษาไทย ให้ลูกหัดพูด ด้วย 3 วิธีการเพิ่มคลังศัพท์ใหม่แบบง่ายๆ
9. แก้ไขคำพูดที่ผิดของลูกให้ถูกต้อง โดยทำอย่างนุ่มนวล
แทนที่จะชี้ให้ลูกเห็นว่าเขาพูดจาผิดหลักไวยากรณ์หรือออกเสียงไม่ถูกต้อง โดยต่อว่าเขาทันที ก็ควรใช้วิธีแก้คำพูดให้เขาอย่างนุ่มนวล เช่น หากลูกพูดว่า”หนูยินว่าพ่อกลับมา” ก็อาจจะตอบลูกให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์ว่า “ใช่จ๊ะ หนูได้ยินว่าพ่อกลับมาบ้านแล้ว” เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า ลูกจะพยายามพูดตามประโยคที่ถูกต้องและรู้จักแก้ไขคำที่เขาพูดผิด
มีการศึกษาหลายชิ้นพบว่า เด็กที่พ่อแม่คอยแก้ไขและสอนคำพูด จะเข้าใจหลักของภาษาและไวยากรณ์ได้ดีกว่าเด็กคนอื่นๆ และเมื่อทำการทดสอบด้านความสามารถด้านภาษา พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะทำคะแนนได้ดีกว่าด้วย
อ่านต่อ >> “เทคนิคฝึกลูกพูด ตั้งแต่เล็กๆ ให้มีทักษะการพูดที่ดีไปจนโต” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่