พัฒนาการเด็ก 2 เดือน เรื่องการนอน : ในวัยนี้จะยังคงคล้ายกับวัย 1 เดือน โดยอาจนอนวันละประมาณ 15.5 ชั่วโมง ซึ่งแบ่งเป็นนอนตอนกลางคืนประมาณ 8.5 ชั่วโมง และนอนตอนกลางวันอีกประมาณ 7 ชั่วโมง ที่แบ่งเป็นนอนช่วงสั้น ๆ ประมาณ 3 ครั้ง
พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ด้านการสื่อสาร : ลูกจะยังคงร้องไห้เป็นการสื่อสารหลัก แต่อาจเริ่มทำเสียงในลำคอได้บ้างแล้ว และอาจแสดงอารมณ์ได้มากขึ้น โดยอาจยิ้มเมื่อรู้สึกชอบหรือพอใจ เมื่อได้ยินเสียงแม่ และมักจะหันหาและส่งเสียงตอบทันที ทั้งนี้ลูกจะมองเห็นได้ชัดในระยะ 8-9 นิ้ว โดยเด็กอาจมองตามการเคลื่อนไหวเมื่อมีคนเดินเข้ามาใกล้ อีกทั้งยังชอบมองรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากกว่าวัตถุหรือสีเรียบ ๆ อย่างสีขาวดำ ซึ่งแตกต่างจากเด็กทารกอายุ 1 เดือน
Must read : 10 พัฒนาการทารก (วัยแรกเกิด-12 เดือน) ที่บอกว่ารักคุณ
พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ด้านการเคลื่อนไหว : ในท่านอนคว่ำ ลูกสามารถ ยกศีรษะตั้งขึ้นได้ 45 องศา นาน 3 วินาที
วิธีส่งเสริมพัฒนาการ
- จัดลูกอยู่ในท่านอนคว่ำ ข้อศอกงอ
- หยิบของเล่นกรุ๋งกริ๋งมาเขย่าตรงหน้าลูก เมื่อลูกมองมาที่ของเล่นแล้ว ก็ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นขึ้นด้านบนเพื่อให้ลูกเงยหน้าจนศีรษะยกขึ้น นับ 1, 2 และจึงค่อยๆ เคลื่อนของเล่นลงมาอยู่ตรงหน้าลูกเหมือนเดิม
- ทำซ้ำอีกครั้งโดยเขย่าของเล่นตรงหน้าลูก เมื่อลูกมองที่ของเล่นแล้วก็ค่อยๆ เคลื่อน ของเล่นขึ้นด้านบนห่างจากจุดเดิมเพื่อให้เด็กเงยหน้าจนยกศีรษะขึ้น นับ 1, 2, 3
- แล้วจึงค่อยๆ เคลื่อนของเล่นลงมาอยู่ตรงหน้าเด็กเหมือนเดิม
พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา : ลูกสามารถมองตามสิ่งของ จากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง
วิธีส่งเสริมพัฒนาการ
- จัดให้ลูกอยู่ในท่านอนหงาย
- ให้คุณพ่อคุณแม่ถือของเล่นสีสดใสที่ไม่มีเสียง ห่างจากหน้าลูก ประมาณ 30 ซม. (1 ไม้บรรทัด) และอยู่ในตำแหน่งเลยจุดกึ่งกลางของใบหน้าลูก ไปทางซ้ายเล็กน้อย
- กระตุ้นให้ลูกสนใจ โดยแกว่งของเล่นให้ลูก จ้องมอง แล้วค่อยๆ เคลื่อนของเล่นนั้นให้ผ่านจุดกึ่งกลางใบหน้าลูกไปทางด้านขวาและสลับมาทางด้านซ้าย
หมายเหตุ : ถ้าลูกไม่มองตาม ให้ช่วยเหลือโดยการประคองหน้าลูกเพื่อให้หันมามอง และอาจใช้ใบหน้าของแม่กระตุ้น โดยการแสดงสีหน้า ยิ้ม ทำปากพูดคุยแต่ไม่ออกเสียง เพื่อให้ลูกมองตาม
Must read : 14 กิจกรรมเล่นกับลูก เสริม พัฒนาการทารก 2 เดือน
พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ด้านการเข้าใจภาษา : ลูกสามารถมองหน้า พ่อแม่ที่พูดคุย ได้นาน 5 วินาที
วิธีส่งเสริมพัฒนาการ
- จัดลูกในท่านอนหงาย หรือ อุ้มลูก โดยให้หน้าพ่อแม่ห่าง จากลูกประมาณ 60 ซม. (2 ไม้บรรทัด)
- สบตาและพูดคุยให้ลูกสนใจ เช่น ทำตาโต ขยับริมฝีปาก ยิ้ม หัวเราะ
หมายเหตุ : สามารถฝึกได้ในหลายๆ สถานการณ์ เช่น ขณะที่อุ้มลูก ขณะให้นมลูก ขณะอาบน้ำ
พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ด้านการใช้ภาษา : เด็กทำเสียงในล้ำคอ (เสียง “อู” หรือ “อือ”) อย่างชัดเจน
วิธีส่งเสริมพัฒนาการ
- จัดลูกอยู่ในท่านอนหงาย ให้พ่อแม่นั่งข้างลูก และยื่นหน้า เข้าไปหาลูกในระยะห่างประมาณ 60 ซม. (2 ไม้บรรทัด)
- สบตาและพูดคุยให้ลูกสนใจแล้วทำเสียง อู หรือ อือ ในลำคอให้เด็กได้ยิน หยุดฟังเพื่อรอจังหวะให้ลูกส่งเสียงตาม
- เมื่อลูกออกเสียง “อู” ได้ ให้ผู้ปกครองเปลี่ยนไปฝึกเสียง “อือ” และรอให้เด็กออกเสียงตาม
Must read : ถอดรหัส เสริมพัฒนาการ 11 กระบวนท่าของทารกที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้!
พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม : ลูกสามารถยิ้มหรือส่งเสียงตอบได้ เมื่อพ่อแม่แตะต้องตัวและ พูดคุยด้วย
วิธีส่งเสริมพัฒนาการ
- จัดลูกอยู่ในท่านอนหงาย โดยให้พ่อแม่นั่งข้างลูก และยื่นหน้าเข้าไปหา
- สบตาลูกและสัมผัสเบาๆ พร้อมกับพูดคุย เป็นคาพูดสั้น ๆ ซ้ำ ๆ ช้าๆ เช่น “ว่าไงจ๊ะ… (ชื่อลูก)… คนเก่ง” “ยิ้มซิ” “เด็กดี” “… (ชื่อลูก)… ลูกรัก” “แม่รักลูกนะ”
- จากนั้นก็หยุดฟัง เพื่อรอจังหวะให้ลูกยิ้ม หรือ ส่งเสียงตอบ
หมายเหตุ : สามารถฝึกได้ในหลายๆ สถานการณ์ เช่น ขณะที่อุ้มลูก โดยให้หน้าลูกอยู่ระดับเดียวกับหน้าแม่ขณะอาบน้ำ หรือขณะนวดสัมผัส
อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่า พัฒนาการเด็กทารก 2 เดือน ลูกสามารถทำอะไรได้หลายอย่างขึ้น เริ่มเรียนรู้และส่งเสียงตามได้ แต่อาจจะยังไม่ชัด แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องรีบ ฝึกแค่สองคำก่อน แต่ให้สังเกตการณ์เปล่งเสียงของลูก เพราะการเปล่งเสียงเมื่อลูกเข้าสู่เดือนที่ 3 ก็จะแตกต่างออกไปอีก นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังในการเลี้ยงดูลูกวัย 2 เดือน คือ ระวังสิ่งของอันตรายรอบตัวลูก เพราะวัยนี้จะเริ่มหยิบสิ่งของต่างๆ , ระวังเสียงดัง และการพูด เพราะวัยนี้จะเริ่มฟังเสียง จำเสียง และควรเริ่มหาของเล่นให้ลูกจับ หรือให้ลูกได้มองบ่อยๆ เพื่อเสริมพัฒนาการมองเห็นให้ลูกในวัยนี้นะคะ
อ่านต่อบทความอื่นๆ น่าสนใจ คลิก :
- พัฒนาการเด็ก 1 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง แม่ต้องรู้!
- ลูกพัฒนาการช้า ควรไปหาหมอเมื่อไหร่ดี?
- สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก มีความสำคัญอย่างไร?
- 10 กิจกรรมเล่นกับลูก เสริมสร้าง พัฒนาการทารกแรกเกิด
- 17 ท่า นวดทารก ช่วยทำให้สุขภาพและพัฒนาการดี
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : หนังสือคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี thaichilddevelopment.com , www.pobpad.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่