คลิปป้าหมอสอน "ทารก ขาโก่ง" ดูอย่างไร? ต้องดัดขาไหม? - Page 3 of 3 - Amarin Baby & Kids
ทารก ขาโก่ง

คลิปป้าหมอสอน “ทารก ขาโก่ง” ดูอย่างไร? ต้องดัดขาไหม?

event
ทารก ขาโก่ง
ทารก ขาโก่ง
ขาโก่ง
ภาวะขาโก่งในเด็ก

ขาโก่งแบบธรรมชาติหายเองได้ เป็นอย่างไร แล้วจะหายเมื่อไหร่

 

กลไกการเจริญเติบโตตามธรรมชาติของกระดูกขาคนเรา แนวกระดูกขาจะมีการเปลี่ยนแปลงปรับสมดุลตามช่วงเวลา เพื่อให้ขามาอยู่ในแนวที่รับน้ำหนักตัวได้ดีที่สุด โดยขาคนเราประกอบด้วยสามส่วน คือส่วนต้นขาเหนือเข่า ส่วนขาใต้เข่า และเท้า ถ้ามองด้วยสายตาจะเห็นส่วนต้นขาอยู่ในแนวเส้นเดียวกันกับกระดูกใต้เข่า แต่ในความเป็นจริงกระดูกต้นขากับกระดูกส่วนใต้เข่าไม่ได้อยู่ในเส้นแนวเดียวกัน แต่จะทำมุมกันประมาณ 6-7 องศา

การเจริญเติบโตของแนวขาเกิดขึ้นทั้งแนวด้านข้าง ด้านหน้า-หลัง และแนวหมุน คือเปลี่ยนแปลงทั้งสามมิติ ในบทความนี้จะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงแนวขาด้านข้าง ซึ่งทำให้ขาดูโก่งออกด้านนอกหรือโก่งเข้าด้านใน

ลูกขาโก่ง
ลักษณะของขาในเด็กเล็กจนถึงวัยเด็กโต

(รูป A B C D แสดงภาวะปกติของกระดูกขาเด็กตามช่วงวัย)

A คือขาปรกติสำหรับทารก
B คือขาปรกติสำหรับ 1 ขวบครึ่ง
C คือขาปรกติสำหรับ 3 ขวบครึ่ง
D คือขาปรกติสำหรับ 7 ขวบ

  • จากภาพข้างบนจะเห็นว่า เมื่อแรกเกิดแนวกระดูกจะโก่งออกด้านนอกดังรูป A บางคนมากบางคนน้อย เชื่อว่าเกิดจากมดลูกที่มีรูปร่างเป็นถุงโค้ง และเด็กต้องขดตัวอยู่แน่นในครรภ์ เมื่อเกิดมาจะเห็นขาใต้เข่ามีลักษณะโค้งชัดเจน
  • เมื่อเด็กเริ่มเดิน เด็กบางคนจะเดินขาถ่างมากบางคนถ่างน้อย แนวกระดูกจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นขาตรงเมื่ออายุประมาณ 18 เดือน หรือ 1 ขวบครึ่ง ตามรูป B
  • ส่วนในรูป C เป็นแนวขาระยะ 3 ปีครึ่ง ขาจะโก่งเข้าด้านในเหมือนขาเป็ด เด็กบางคนเป็นมากบางคนเป็นน้อย ถ้าดูด้วยสายตาเทียบขาบนกับขาใต้เข่า มุมไม่น่าเกิน 10 – 15 องศา ถ้ามากกว่านี้ควรพาลูกไปพบแพทย์
  • เมื่อเด็กอายุมากขึ้น แนวขาจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นแบบรูป D แนวขาเหมือนผู้ใหญ่ คือโก่งเข้าด้านในเล็กน้อยประมาณ 7 องศา ที่อายุประมาณ 7 ปี

รูปด้านบนนี้ เป็นหลักที่ใช้ดูการเจริญเติบโตของแนวขาเทียบกับอายุที่ดี ถ้าสังเกตว่าลูกของเราแนวขาไม่เป็นไปตามนี้ ควรพาลูกมาตรวจกับแพทย์ คือถ้าเป็นแบบโก่งออกด้านนอกแบบธรรมชาติ ความโก่งจะค่อย ๆ ตรงเมื่ออายุ 2 ปี อย่างช้าไม่เกิน 3 ปี แต่ถ้าเป็นแบบขาโก่งเป็นโรค แนวขาจะโก่งออกมากยิ่งขึ้น นอกจากเด็กจะเดินไม่เป็นปกติแล้ว คือตัวจะโยกเยกไปตามขาข้างที่เดิน ข้อเข่าจะเสียเร็ว เนื่องจากการกระจายน้ำหนักของข้อไม่ดีเหมือนคนปกติ ข้อเข่าจะปวดตั้งแต่อายุน้อย อักเสบ เดินไม่ได้ไกลเนื่องจากความเจ็บปวด

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

♠ ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับภาวะ “ขาโก่ง”

Must readห่อตัวลูกไม่ถูกวิธี ทำ “ข้อสะโพกผิดปกติ” ได้

การอุ้มลูกโดยการช้อนใต้วงแขนลูกทั้งสองข้างแล้วยกขึ้นมาเป็นการอุ้มที่ถูกต้องแล้วค่ะ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ท่าที่อันตรายคือการจับส่วนอื่น ๆ ของแขน เพราะอาจทำให้ข้อศอกหรือข้อไหล่เคลื่อนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการจับเพียงแขนเดียว

สำหรับวิธีการทดสอบดูว่า ทารก ขาโก่ง หรือไม่ อย่างไรนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยหรือไม่แน่ใจ ควรพาลูกปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อย่าตัดสินใจด้วยตัวเอง หรือฟังจากเพื่อนคุณแม่คนอื่นนะคะ เพราะสรีระร่างกายของแต่ละคนต่างกัน

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up