เด็กแรกเกิด กับ12 สิ่งที่แม่มือใหม่ต้องรู้! - amarinbabyandkids

รวม 12 เรื่องของ เด็กแรกเกิด ที่แม่มือใหม่ต้องรู้!

event

เด็กแรกเกิด

8. มีสิวเม็ดเล็กๆ และผื่นขึ้น ทั้งหน้า ทั้งตัวเต็มไปหมด

เม็ดผดเล็กๆ ที่คุณแม่เห็นเป็นเรื่องธรรมดาที่ทารกต้องมี โดยลักษณะผื่นจะเป็นตุ่มขาวๆ ซึ่งเกิดจากฮอร์โมนที่ตกค้างของแม่ หรือบางครั้งคุณแม่อาจเห็นเป็นลักษณะคล้ายสิวซึ่งเกิดจากสาเหตุเดียวกัน แต่มีการอักเสบมากกว่า โดยผื่นทั้ง 2 ประเภทนี้มักจะขึ้นที่ใบหย้าของทารก บริเวณแก้ม จมูก และหน้าผาก และจะหายไปเองตอนลูกน้อยอายุราว 6 สัปดาห์

ระหว่างนี้ให้คุณแม่ใช้น้ำอุ่นและสบู่อ่อนๆ ทำความสะอาดตรงบริเวณที่ขึ้นผื่น แต่ไม่ควรทาครีมที่ใช้รักษาสิวในวัยรุ่น เพราะตัวยาแรงเกินไปสำหรับผิวหน้าอันบอบบางของลูกน้อย

 >> 7 ปัญหาผดผื่นในเด็กแรกเกิด ที่พ่อแม่ควรรู้!

9. จามบ่อย

การจาม โดยปกติเกิดจากการเป็นหวัด แต่สำหรับการจามบ่อยๆ ในทารกแรกเกิดเป็นเพราะเด็กกำลังทำให้ทางเดินหายใจของตัวเองโล่ง ซึ่งหลังจากที่คุณแม่ให้นมลูกเสร็จแล้ว อาจสังเกตเห็นว่าลูกมักมีอาการจามออกมา นั้นเป็นเพราะทารกไม่สามารถหายใจทางปากได้ และมีรูจมูกที่เล็กนิดเดียว เมื่อต้องดูดนมก็ต้องกลั้นหายใจเป็นจังหวะ ทำไมต้องจามออกมาเพื่อให้หายใจสบาย ซึ่งหากคุณแม่สังเกตเห็นการจามของทารกว่าไม่มีอาการอื่นร่วมด้วยอย่างน้ำมูกหรือไข้ขึ้น ก็คงไม่มีอะไรที่ต้องกังวล

10. ผิวหนังลอก

อาการผิวหนังลอกของเด็กทารกแรกเกิด เป็นเพราะเมื่อคลอดออกมา ไขมันที่เคลือบอยู่ที่ผิวหนังตอนที่ลูกอยู่ในท้องจะหลุดออกด้วย ทำให้ผิวหนังชั้นนอกแห้งและเริ่มลอก เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมภายนอกท้องแม่ และในช่วง 1-2 สัปดาห์ ผิวหนังเก่าของลูกนั้นก็จะหลุดลอกออกมาพร้อมกับมีผิวหนังใหม่ที่ใสกว่า เต่งตึงกว่า ขึ้นมาแทนที่ ทั้งนี้คุณแม่ต้องระวังอย่าเผลอไปแกะ ดึง หรือขัด ผิวที่กำลังลอกของลูกน้อยเด็ดขาด ควรปล่อยให้ลอกออกมาเอง โดยจะหายได้ใน 2-3 วัน คุณแม่ไม่ต้องไปทำอะไรกับผิวของลูกเลย

11. สำหรับเด็กผู้ชาย อาจมีลูกอัณฑะใหญ่เกินตัว

ลักษณะลูกอัณฑะที่ดูใหญ่เกินตัวลูกไป ทั้งนี้เป็นเพราะฮอร์โมนจากแม่ ซึ่งอยู่ในร่างกายและเนื้อเยื่อของเด็กยังถูกขับออกมาไม่หมด จึงทำให้เด็กผู้ชายมีอัณฑะที่ดูใหญ่ ส่วนเด็กผู้หญิงก็อาจมีลักณะอวัยวะเพศดูบวมๆ เต่งออกมาในช่วง 2-3 วันแรก ซึ่งถ้าลูกไม่ร้อง ไม่เจ็บหรือมีอาการอักเสบ คุณแม่ก็สามารถสบายใจได้

12. มีบางเวลา เหมือนลูกหยุดหายใจ!

คุณแม่อาจสังเกตเห็นในขณะที่ลูกนอน บางครั้งเหมือนลูกหยุดหายใจ นั้นเป็นเพราะกล้ามเนื้อในระบบทางเดินหายใจของทารกยังไม่แข็งแรงเต็มที่ การกระเพื่อมของทรวงอกจึงมีน้อย และเมื่ออายุประมาณ 6 สัปดาห์ การหายใจของลูกจะชัดขึ้นเอง แต่หากคุณแม่สังเกตเห็นอีกว่าลูกหยุดหายใจเกิน 20 วินาที นั่นอาจเป็นสัญญาณอันตราย คุณแม่ต้องรีบพาไปพบหมอด่วน

 >> SIDS หรือไหลตายในเด็ก ภัยเงียบของลูกน้อย

จากอาการทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เพราะตั้งแต่เด็กทารกคลอดออกมา สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำในการดูแลลูกน้อย คือ คอยสังเกตและตรวจพัฒนาการทางร่างกายของลูก ก่อนว่ามีอะไรบกพร่องหรือไม่ ซึ่งเด็กทารกแรกคลอดจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอน และไม่ต้องตกใจหากลูกนอนหลับยาวๆ ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่กินอะไรเลย นั้นเป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติ เพราะภายในร่างกายของทารกยังคงมีการสะสมอาหารจากสายสะดือของคุณแม่เอาไว้อยู่

สำหรับคุณแม่ลูกอ่อนมือใหม่ ก็อาจจะได้พบกับพฤติกรรมที่ไม่คุ้นชินของลูกน้อยแตกต่างจากในช่วงที่ตัวเองเป็นคนท้อง ซึ่งพฤติกรมหลังที่ทารกคลอดออกมานั้น เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรรู้และเตรียมพร้อมรับมือไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยลดความเหนื่อยในการเลี้ยงดูพวกเขาในช่วงแรกได้เพียงแค่ให้เข้าใจถึงสัญญาณ อาการที่เด็กพยายามสื่อสารกลับมาเท่านั้นเองค่ะ

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.pstip.com , women.sanook.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up