- เล่นเกมหาของ – วิธีการก็คือ การหาขวดน้ำหรือแก้วน้ำมาสามใบค่ะ เสร็จแล้วให้ใช้ลูกบอลลูกเล็ก ๆ หรือตุ๊กตา ซ่อนไว้ใต้แก้ว และคว่ำแก้วทั้งหมดลง ค่อย ๆ สับไปซ้ายทีขวาที โดยให้ลูกเห็น แล้วถามลูกว่า ลูกบอลอยู่ไหนนะ หนูหาให้แม่หน่อยได้ไหมลูก แล้วลูกก็จะเริ่มนึกและหาบอลภายในแก้วที่คว่ำอยู่ค่ะ กิจกรรมที่ลูกจะได้ก็คือ การเรียนรู้ความเคลื่อนไหว และจะกลายเป็นเด็กที่ช่างสังเกตและจดจำค่ะ
- เล่นแสงและเงา – แนะนำให้คุณแม่หาไฟฉายมาสักอัน แล้วปิดไฟในห้องนอนให้มืด หากกำแพงหรือเพดานก็ได้นะคะ ทำเป็นฉาก แล้วเอามือของคุณแม่นี่ละค่ะ ทำเป็นตัวสัตว์ ยกตัวอย่างเช่น ผีเสื้อ หรือสุนัข ก็ได้ พร้อมกับบอกชื่อเรียกว่า นี่คืออะไร ส่งเสียงแบบไหน สิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส เป็นต้น
- กล่องที่มีเสียงดัง – กล่องที่ว่าอาจจะเป็นกล่องพลาสติก กล่องขนมหรือกล่องกระดาษก็ได้นะคะ แล้วใส่ของเล่นเข้าไปให้ลูกเขย่าเล่น และต้องให้ลูกน้อยเปิดหยิบออกมาดูได้ด้วยนะคะ ลูกจะได้เรียนรู้ด้านเสียง และทำความเข้าใจว่า เวลาที่เขาเขย่าสิ่งนี้ จะเกิดเสียงดังขึ้นนั่นเองค่ะ
- ออกกำลังกายบริหาร – ให้ลูกนอนหงายลงบนขาของคุณแม่ค่ะ แล้วให้ลูกจับมือของคุณแม่ พร้อมกับแกว่งช้า ๆ พร้อมกับร้องเพลง ช่วงจังหวะนี้อย่าลืมสบตาพร้อมกับชวนลูกคุยไปด้วยนะคะ นอกจากลูกจะได้ออกกำลังกายแล้ว ยังสามารถสร้างกระชับความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกได้อีกด้วยค่ะ
- ซ่อนของเล่นชิ้นโปรดไว้ด้านหลัง – ให้คุณแม่หยิบของเล่นชิ้นโปรดของลูกมาหนึ่งชิ้น และอุ้มให้ลูกนั่ง พร้อมกับเอาของเล่นนี้ไปวางไว้ด้านหลังของลูก ลองดูสิคะว่า ลูกจะสามารถหันกลับมามองและเอื้อมหยิบเอง หรือจะให้ลูกนอนแล้วเอาของเล่นไปอยู่ด้านหลังหรือเหนือศีรษะลูกค่ะ โดยสลับข้างซ้ายขวา พัฒนาการที่ลูกจะได้คือ การพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และเชื่อมประสาทการทำงานระหว่างมือ และสมองไปด้วย
- ของเล่นในน้ำ – ขณะที่ลูกอาบน้ำนั้น ให้คุณแม่หาลูกบอลใบเล็กมาให้ลูกเล่นโดยมีสีที่หลากหลายและถือได้ สิ่งที่ลูกจะได้ก็คือ การเรียนรู้ผลของการกระทำนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ถือลูกบอลและตีบนน้ำ ก็จะส่งผลให้น้ำกระเด็นและมีเสียง เป็นต้น
- ให้ลูกเล่นสี – สีที่ว่านี้แนะนำให้ใช้สีผสมอาหารผสมนะคะ เพราะแน่นอนว่า ลูกจะต้องมีเผลอเอามือเข้าปากแน่นอน หลังจากที่คุณแม่ผสมสีเสร็จแล้ว ก็ให้อุ้มลูกนั่งบนเก้าอี้ พร้อมกับเอาสีที่ผสมเตรียมไว้มาวางให้ลูกค่ะ ลูกก็จะเริ่มอยากรู้ และใช้มือของพวกเขา แตะสีเหล่านั้นเล่น อาจจะมีบ้างค่ะ ที่จะไปป้ายโต๊ะ ผม หรือใบหน้า ของตัวเองแน่นอน แนะนำให้คุณแม่หากระดาษหนังสือพิมพ์หรือพลาสติกมาปูรองไว้ใต้เก้าอี้ด้วยนะคะ มิเช่นนั้นละก็พื้นบ้านของคุณแม่ต้องเลอะเทอะแน่ ๆ การปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้การเล่นสีนั้น จะช่วยส่งเสริมด้านสายตา และการมองเห็นนั่นเอง
- ให้ลูกได้ก้าวขา (หัดเดิน) ผ่านเท้าของคุณพ่อคุณแม่ – ให้คุณพ่อคุณแม่นำลูกน้อยมายืนบนเท้าของตัวเองด้านหน้า พร้อมกับจับมือลูกก้าวเดินไปพร้อม ๆ กัน พยายามทำเป็นประจำทุกวัน จะช่วยเสริมกล้ามเนื้อและยืดเส้นยืดสาย ที่สำคัญ ยังเป็นการหัดให้ลูกสามารถยืนทรงตัวได้ด้วยตัวเอง ได้ไวขึ้น เป็นต้น
- เปิดเพลงให้ลูกเต้น – แม้ว่าลูกของคุณพ่อคุณแม่ยังยืนเต้นไม่ได้ แต่การนั่งเต้น หรือการมีที่เกาะจับให้กับลูก ๆ ก็จะพยายามจับและยืดตัวเองขึ้น พร้อมกับขย่มขาของตัวเองให้เป็นไปตามจังหวะของเสียงเพลง การฝึกลูกด้วยวิธีนี้จะช่วยให้ลูกได้ออกกำลังกาย พร้อมกับอารมณ์ดี และรักในเสียงเพลง
- ให้ลูกเล่นน้ำแข็ง – น้ำแข็งที่ว่าที่จะให้ลูกเล่นนั้น จะต้องมั่นใจว่าสะอาดและปลอดภัยสำหรับกับลูก แนะนำให้เป็นก้อนสี่เหลี่ยมที่คุณแม่แช่แข็งไว้ เอาให้ลูกเล่นสักก้อนถึงสองก้อนนะคะ พอเล็กลงแนะนำให้เปลี่ยนก้อนใหม่ค่ะ มิเช่นนั้น ลูกอาจจะเอาน้ำแข็งเข้าปากจนทำให้ติดหลอดลมได้ เท่านี้ลูกของคุณแม่ก็สามารถฝึก พัฒนาการทารก 7 เดือน ได้แล้วค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมการเรียนรู้จากการสัมผัส และการช่างสังเกต เป็นต้น
- เล่นลูกบอล – ลูกบอลที่ว่านี้ควรจะเป็นลูกบอลพลาสติกนะคะ คล้าย ๆ กับลูกบอลชายหาด และจะต้องไม่บาดคมกับนิ้วมือและผิวหนังของลูก วิธีการเล่นคือ ให้ลูกนั่งและเอาลูกบอลวางไว้ตรงหน้า หรือไม่ก็ให้ลูกนอนหงายแล้วเอาลูกบอลวางไว้บนท้องของลูก การเล่นด้วยวิธีนี้จะช่วยทำให้ลูกได้เข้าใจถึงความแข็งแรงของวัตถุและกล้ามเนื้อได้
- ปล่อยให้ลูกได้นอนคว่ำ – การปล่อยให้ลูกได้นอนคว่ำเล่นบ้างวันละครั้งถึงสองครั้ง จะช่วยพัฒนการกล้ามเนื้อท้องให้ลูก พร้อมกับเข้าใจว่า เวลาที่เขาเคลื่อนไหว ร่างกายของเขาจะสามารถขยับได้ เวลาที่ให้ลูกเล่น อย่าลืมเอาของเล่นมาวางไว้ตรงหน้าให้กับลูกด้วยนะคะ
เห็นไหมคะว่า การ พัฒนาการทารก 7 เดือน นั้นมีเยอะมาก ๆ และของเล่นแต่ละอย่างที่จะมาช่วยเสริมนั้น ไม่ได้มีราคาแพงเลย แถมยังเป็นของเล่นใกล้ตัวอีกเสียด้วยนะคะ และคนที่จะมาช่วยส่งเสริมพัฒนาการให้กับลูกได้ดีที่สุดก็คงจะไม่มีใคร นอกจากคุณพ่อคุณแม่นั่นเอง
ขอบคุณที่มา: Momjunction
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
- 5 กิจกรรมและวิธีการเสริม พัฒนาการทารก 6 เดือน
- อยากให้ลูกมีพัฒนาการดี พ่อแม่ต้องทำ 5 สิ่งนี้ให้กับลูก!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่