รวม เพลงแก้โคลิค ลูกทารกร้องกวน ร้องโคลิก ลองเปิดคลิปเสียงมหัศจรรย์ ช่วยลูกหยุดร้องไห้ ลดอาการโคลิค ลูกหลับสบายทั้งคืน ได้ผลชะงัด
รวมคลิป เพลงแก้โคลิค คลื่นเสียงปราบอาการโคลิก
ช่วยลูกหลับสบายทั้งคืน
อาการโคลิค พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดอายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ จนถึง 3 เดือน ซึ่งลูกทารกจะร้องมาก ร้องนาน ร้องโดยไม่มีสาเหตุ และมักชอบร้องตอนกลางคืนโดยจะร้องปากสั่นจนตัวงอ ทำให้พ่อแม่เกิดความเครียดและความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก คนโบราณจึงมักเรียกอาการนี้ว่า “เด็กร้องร้อยวัน” ซึ่งอาการที่ทำให้เกิดเป็นเรื่องของการปวดท้อง ไม่สบายท้องของเด็ก
โดยสาเหตุของการเกิดโคลิกในทารกยังไม่ทราบแน่นอน แต่อาจเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันคือ จากพื้นฐานอารมณ์ของเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กเลี้ยงยาก ลูกกลืนอากาศขณะดูดนมเข้าไปมาก แม่ไม่สามารถทำให้ลูกเรอได้เพียงพอ อากาศในท้องจึงก่อให้เกิดอาการแน่นอึดอัดในท้อง เกิดในเด็กที่มีภาวะ/โรคกรดไหลย้อน เกิดในเด็กที่มีการเคลื่อนตัวของลำไส้ผิดปกติ คือมีการเคลื่อนตัวของลำไส้มากเกินไป รวมไปถึงการที่ลูกกินนมมากเกินไป หรือน้อยเกินไป และการให้ลูกนอนในท่าที่ไม่เหมาะสมก็มีส่วน
- ลูกร้องโคลิค สาเหตุ อาการ และวิธีแก้ไข
- โคลิค หรือแม่ซื้อ เด็กร้องไห้ไม่ยอมหยุด
- ปล่อยให้ลูกร้องไห้นานๆ ทำลายสมองจริงหรือ?
นอกจากนี้ครอบครัวมีความเครียด พ่อแม่มีปัญหาทางอารมณ์ หรือมีความวิตกกังวลมาก (ซึ่งอาจตรงกับที่พบอุบัติการณ์โคลิกสูงในครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมสูงเป็นลูกของพ่อแม่ที่มีอายุมาก ครอบครัวที่มีลูกน้อย และในพ่อแม่ที่มีการศึกษาสูง) พบว่าความเครียดของแม่ตั้งครรภ์มีผลให้เกิดโคลิกในเด็กได้
ลักษณะอาการร้องของเด็กที่เป็นโคลิค
เมื่อลูกรู้สึกหิว กลัว เหนื่อย หรือรู้สึกเปียกชื้นมักจะส่งเสียงร้องไห้ออกมา แต่หากมีอาการโคลิคจะร้องไห้หนักมาก และร้องไห้ในช่วงเวลาเดิม ๆ เป็นประจำ โดยเฉพาะเวลาเย็นหรือหัวค่ำ และจะร้องเสียงดัง เสียงแหลม และนานกว่าปกติ “เวลาร้อง ลูกจะงอขา งอตัว กำมือ” โดยรวมแล้วจะร้องไห้ประมาณวันละ 3 ชั่วโมง มากกว่าสัปดาห์ละ 3 วัน และยาวนานอย่างน้อย 3 สัปดาห์หรือบางรายอาจนานกว่านั้น และอาจมีอาการดีขึ้นเมื่ออายุประมาณ 3-4 เดือน ซึ่งหากลูกร้องโคลิค พ่อแม่ควรสบายใจว่าอาการนี้จะหายแน่นอนไม่เป็นอันตราย แต่ต้องใช้เวลาและพยายามลดความเครียดของตัวเองลง
- พัฒนาการทารก 2 เดือน ตื่นบ่อย ร้องไห้เก่ง ใช่โคลิคหรือเปล่า ?
- วิธีทำให้ทารกหยุดร้องไห้ อย่างได้ผลคือพ่อแม่
- ทารกร้องไห้มีน้ำตาตอนกี่เดือน
อย่างไรก็ดี อาการโคลิค นี้ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ เพลงแก้โคลิค ซึ่งเป็นคลื่นความถี่เสียงของแพทย์ชาวต่างประเทศ ซึ่งมากกว่า 80% ช่วยลดอาการ โคลิค ในเด็กได้ โดยเป็นเสียงประเภทเสียงที่คล้ายกับสภาพแวดล้อมตอนที่ลูกทารกยังอยู่ในท้องแม่ ซึ่งช่วยให้ลูกรู้สึกเหมือนอยู่ในที่ที่ปลอดภัย ลดความเครียดจากเสียงภายนอก เช่น เสียงพูดคุยของพ่อ แม่ เสียงโทรทัศน์ เสียงรถยนต์ เสียงเปิด-ปิดประตู เสียงเท้าเดิน ฯลฯ ส่งผลให้ทารกนอนหลับยาวนานขึ้นทำให้ทารกอารมณ์ดี ร่าเริงแจ่มใส และมีพัฒนาการสมองที่ดียิ่งขึ้น มีสมาธิเฉลียว ฉลาด เพราะตลอดเวลาที่นอนหลับและรู้สึกตัวก็จะได้ยินเสียงนี้ตลอดดังนั้นเพื่อช่วยลดอาการลูกร้องโคลิค ทีมแม่ ABK จึงได้รวบรวมมาฝากคุณพ่อคุณแม่ เจ้าตัวเล็กบ้านไหนกำลังร้องไห้ ลองเปิดให้ฟังกันนะคะ
ขอบคุณคลิปวีดีโอ เพลงแก้โคลิค จาก : ววัชรพงษ์ วาณิชธนอนันต์
ข้อแนะนำในการดูแลทารกทีมีอาการโคลิค นอกจากการใช้ เพลงแก้โคลิค
- การสร้างบรรยากาศในการเลี้ยงดูให้สงบ
- อุ้มทารกเมื่อมีอาการ โดยพยายามสังเกตว่ามีอะไรที่ทำให้ทารกไม่สบายตัว เช่น ผ้าอ้อมเปียก อากาศที่ร้อนหรือเย็นเกินไป
- ให้อาหารไม่มากหรือน้อยเกินไป สังเกตอาการหิวของทารก และให้นมตามที่ต้องการ อาการโคลิกจะพบได้ทั้งในทารกที่กินนมแม่และนมผสม
- ถ้าทารกที่กินนมแม่แนะนำให้กินต่อไป ถ้าคิดว่าทารกอาจมีปฏิกิริยาต่อสารอาหารที่แม่รับประทาน และสารนั้นอาจผ่านมาทางน้ำนม อาจลองให้คุณแม่หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนมวัว ไข่ ถั่ว แล้วดูการตอบสนอง ในทารกที่ดื่มนมผสมแนะนำให้ดื่มต่อไปยกเว้นมีข้อมูลที่ชี้นำว่าอาจแพ้นมวัว เช่น อาการแหวะนม มีผื่นขึ้น ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นเลือด ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อแนะนำให้เปลี่ยนนมเป็นชนิดอื่น
ในส่วนของการใช้ยาขับลม simethicone ไม่ค่อยได้ผลมากนัก การใช้ยาขับลมที่ผสมสารหลายอย่าง เช่น Gripe Water เพื่อลดอาการท้องอืด ย่อยไม่ดี แต่ต้องระวังในส่วนประกอบว่ามี น้ำตาลหรือแอลกอฮอล์ ซึ่งจะมีผลเสียกับทารกได้ ยากลุ่มที่ลดการบีบตัวของลำไส้อาจทำให้อาการดีขึ้น แต่จะต้องระวังผลข้างเคียงของยา เช่น กดการหายใจ ทำให้ง่วงซึม จึงควรหลีกเลี่ยง
เมื่อไหร่จึงควรพาลูกพบคุณหมอ?
หากลูกทารกมีอาการร้องไห้อย่างรุนแรง และไม่สามารถควบคุมได้ ไม่เพียงแต่เป็นตัวบ่งชี้ของอาการโคลิกเท่านั้น แต่เป็นการบอกถึงอาการป่วย อื่นๆ ได้ด้วย จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดค่ะ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.pobpad.com
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่ภาพด้านล่าง ⇓
ร้องไห้แต่ไม่มีน้ำตา..อันตรายหรือไม่? ระวังก่อนติดเชื้อ หรือ เกิดภาวะขาดน้ำ