-
กระหม่อมบุ๋ม หรือ โป่งตึง บอกอะไร?
กระหม่อมบุ๋ม

การตรวจร่างกายทารกจำเป็นต้องมีการคลำกระหม่อมหน้าด้วย หากกระหม่อมหน้าบุ๋ม หรือยุบลง แสดงถึงภาวะขาดน้ำ หากลูกน้อยมีอาการท้องเดิน หรืออาเจียนมากๆ คุณแม่ควรคลำกระหม่อมหน้าของลูก เพื่อดูว่ากระหม่อมบุ๋มลึกกว่าปกติหรือไม่ ถ้าคลำแล้วพบว่าบุ๋มลงไปมาก ลูกซึม ไม่เล่น ไม่ยิ้ม ไม่ร่าเริงเช่นเคย ดวงตาโหลลึก และปัสสาวะออกน้อย ลูกอาจมีอาการขาดน้ำรุนแรง หากช่วยเหลือไม่ทัน อาจมีอันตรายได้
กระหม่อมโป่งตึง

เมื่อลูกน้อยมีอาการตัวร้อน คุณแม่ควรคลำกระหม่อมดูว่ามีลักษณะโป่งตึงหรือไม่
หากลูกของคุณมีอาการตัวร้อน แต่ไม่ได้ร้องงอแง แล้วคลำกระหม่อมพบว่า มีลักษณะโป่งตึง ร่วมกับมีอาการซึม กินอะไรก็อาเจียนออกหมด แสดงว่าความดันในกะโหลกศีรษะมีมาก อาจเกิดความผิดปกติในสมอง เช่น เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือสมองอักเสบ ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์โดยเร็ว หากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายได้
อย่างไรก็ตามการบวม โป่ง นูนของกระหม่อมหน้าอาจไม่ได้บ่งบอกถึงการเพิ่มของความดันในกะโหลกเสมอไป หากลูกน้อยร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้กระหม่อมนูนในลักษณะเดียวกันได้
โดยปกติ กระหม่อมของทารกจะเต้นตุบ ๆ ตามชีพจรของลูก แต่หากพบว่า กระหม่อมโป่งพอง ไม่เต้นตุบๆ ไปตามจังหวะการเต้นของชีพจร แสดงว่าลูกอาจมีปัญหาเกี่ยวกับสมอง ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่