ทารกร้องไห้

วิจัยเผย! ทารกร้องไห้ เก่งที่สุดพบมากในประเทศนี้…!?

event
ทารกร้องไห้
ทารกร้องไห้

ทารกร้องไห้

ประเทศที่เด็กทารกร้องไห้ต่ำที่สุด

ส่วนประเทศที่พบอาการโคลิคในเด็ก หรือการที่เด็กทารกร้องไห้ต่ำที่สุด คือ เดนมาร์ก เยอรมนี รวมทั้งญี่ปุ่น

ส่วนปัจจัยที่ทำให้ทารกแต่ละประเทศแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม ประสบการณ์ของแม่ และพันธุกรรม โดยในอังกฤษ พบว่า คุณแม่เกือบ 3 ใน 4 ให้นมทารกหลังคลอด แต่กว่าครึ่งหยุดให้นมหลังผ่านไป 2 เดือน

ขณะที่การศึกษาอีกชิ้นพบว่า วัฒนธรรมการเลี้ยงลูกของผู้ปกครองในกรุงโคเปนเฮเกน ของเดนมาร์ก และกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษแตกต่างกัน เมื่อทารกตื่นขึ้นมาและร้องไห้ พ่อแม่ชาวเดนมาร์กจะเข้าไปสัมผัสลูกมากกว่า ซึ่งมีส่วนทำให้ทารกหยุดร้องไห้เร็วขึ้น

⇒ Must read : 10 วิธี ทำ ให้ ทารก หยุดร้องไห้
⇒ Must read : ปล่อยให้ลูกร้องไห้นานๆ ทำลายสมองจริงหรือ?

ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าเวลาที่ทารกร้องไห้นานที่สุด คือ

ทารกร้องไห้เฉลี่ย 2 ชั่วโมงต่อวัน ในช่วงอายุ 2 สัปดาห์แรก และจะร้องไห้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยไปจนถึงอายุ 6 สัปดาห์ ที่อัตราสูงสุดเฉลี่ย 2 ชั่วโมง 15 นาที ต่อวัน จากนั้นจะเริ่มลดลง เหลือราว 1 ชั่วโมง 10 นาที เมื่ออายุ 12 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม จำนวนเวลาที่ทารกแต่ละคนร้องไห้นั้นแตกต่างกันมาก บางคนอาจอยู่ที่วันละ 30 นาที แต่บางคนอาจมากถึง 5 ชั่วโมง

งานวิจัยชิ้นนี้ถือเป็นสถิติที่จัดทำขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นคู่มือสำหรับผู้ปกครอง เพื่อประเมินว่า ลูกน้อยร้องไห้มากกว่าระดับปกติหรือไม่ในช่วงอายุ 3 เดือนแรก หากพบว่า ร้องไห้มากกว่าปกติทีมวิจัยแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกมีอาการโคลิก ก็อย่างเพิ่งกังวลใจ เพราะอาการนี้จะหายไปเองเมื่ออายุ 3 เดือน ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ที่มีอาการนี้มักจะมีปัญหากระเพาะอาหารและลำไส้ยังไม่แข็งแรง แต่เมื่อครบ 3 เดือนแล้วจะแข็งแรงมากขึ้น ผู้ปกครองต้องใจเย็น และคอยอุ้มจนกว่าเค้าจะหยุดร้อง

และกรณีเด็กร้องไห้ 3 เดือน ในเมืองไทย แล้วเป็นเรื่องค่อนข้างปกติ เพราะสภาวะที่เด็กไม่คุ้นกับสภาพแวดล้อมใหม่ ซึ่งไม่เหมือนการอยู่ในครรภ์มารดาที่อบอุ่น ที่ยาวนานถึง 9 เดือน ก็เป็นไปได้ เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรให้ความรักความเข้าใจและความอบอุ่นกับเขาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นับเป็นสิ่งดีที่สุด

ทารกร้องไห้

เสียงร้องที่เด็กแรกเกิดจนถึง 3 เดือนใช้บ่อย มีอยู่ 5 เสียง

แง แง แง… : “ลูกหิวแล้ว” เสียงร้องแบบนี้จะมีเสียง “ง” หรือเสียงขึ้นจมูก โดยเริ่มจากร้องเบาๆ ติดๆ กัน จากนั้นลูกจะทำปากเหมือนพยายามดูดนม แล้วเสียงร้องก็ค่อยๆ ดังและกระชั้นขึ้นกลายเป็นร้องไห้โยเย จนกว่าจะได้นมหรืออาหารนั่นแหละ

อาว… (ก็เสียงหาวนอนนั่นแหละ): “ลูกง่วงแล้ว” สังเกตดูรูปปากของลูกจะเป็นรูปวงรี หรือรูปไข่ มีทั้งแบบหาวสั้น หรือหาวยาวๆ

เฮอะ เฮอะ เฮอะ… : “ลูกไม่สบายตัวเพราะ แฉะ เจ็บ หรืออึดอัด ฯลฯ” คล้ายกับเสียงร้องหิว แต่ต่างกันตรงเสียงต้นจะเป็น ฮ ตอนร้องเริ่มต้นก็ เฮอะ…นำมาก่อนติดๆ กันก่อน แล้วสักพักถ้าแม่แยกไม่ออก ก็จะกลายเป็นร้องไห้ชุดใหญ่ล่ะ

อือ อือ อือ… : “อีดอีดจัง ลมเต็มท้องเลยแม่” คำนี้เป็นเสียงในท้องของลูกน้อย นึกถึงเวลาผู้ใหญ่อย่างเราๆ ปวด/ไม่สบายท้อง ก็จะร้องคราง โอดโอย โอยนั่นแหละ

อา… : “ลูกอยากเรอจัง” ถ้าได้ยินเสียงนี้ ติดกันหลายที ก็ไม่ต้องตกใจ จัดให้ลูกได้เรอตามที่เขาต้องการก็เท่านั้นเอง

อ่านต่อ >> “ลักษณะสำคัญของอาการร้องไห้มากและวิธีรับมือที่ถูกต้อง” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up