จับลูกนอนคว่ำ ที่ไม่ได้มีดีแค่ช่วยลูกหัวทุยสวย - amarinbabyandkids
จับลูกนอนคว่ำ

จับลูกนอนคว่ำ ที่ไม่ได้มีดีแค่ช่วยลูกหัวทุยสวย!!

Alternative Textaccount_circle
event
จับลูกนอนคว่ำ
จับลูกนอนคว่ำ

ให้ลูกนอนคว่ำ ที่ไม่ได้มีดีแค่ช่วยลูกหัวทุยสวย!!

คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า แล้วถ้าจะให้ลูกนอนคว่ำละ เพราะอยากให้ลูกหัวทุยสวย จริงๆ ให้นอนคว่ำได้ค่ะ แต่ควรรอให้ลูกสามารถชันคอ และเริ่มยกศีรษะของตัวเองขึ้นได้ ซึ่งช่วงหลัง 2 เดือนขึ้นไป ลูกจะเริ่มมีพัฒนาการการชันคอ ยกศีรษะขึ้นได้บ้างแล้ว ช่วงนี้คุณแม่อาจจัดท่าให้ลูกได้นอนทั้งท่านอนหงาย และนอนคว่ำในขณะที่ลูกตื่น แต่ถ้าเป็นการนอนหลับในช่วงกลางคืน หรือกลางวันที่หลับยาวๆ ควรมีผู้ใหญ่คอยจับพลิกตัวให้ลูกด้วย ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนคว่ำนานๆ ค่ะ

การนอนคว่ำไม่ได้เลวร้ายเสมอไป เพราะยังมีข้อดีหลายอย่าง ตามนี้ค่ะ

  1. ช่วยให้อวัยวะภายในอย่างปอด สามารถขยายตัวและทำงานได้ดี เวลาที่ลูกหายใจก็จะช่วยส่งออกซิเจนไปเลี้ยงยังอวัยวะทุกส่วยของร่างกายได้ดีมากขึ้น
  2. ช่วยให้ลูกไม่นอนผวา ไม่สะดุ้งตื่นบ่อยๆ
  3. ช่วยให้ลูกหัวทุยสวย ศีรษะได้รูปสวย ไม่แบนจากการนอนหงาย

Tips for mom…การยกตัวลูกขึ้นจากท่านอนคว่ำ

เมื่อลูกอายุได้ 2 เดือนขึ้นไป เขาจะสามารถพลิกตัวให้มาอยู่ในท่านอนคว่ำได้ แต่เพื่อช่วยให้ลูกสบายไม่อึดอัด คุณแม่ควรอุ้มลูกขึ้นเพื่อเปลี่ยนท่าให้ลูก จะเป็นการนอนหงาย หรือนอนตะแคงบ้างก็ได้ ซึ่ง Dr.Frances Williams กุมาแพทย์[2] ได้ให้คำแนะนำในการยกตัวลูกขึ้นจากท่านอนคว่ำที่ถูกต้องไว้ดังนี้

1. ประคองท้องและศีรษะลูก

ให้คุณแม่สอดมือข้างหนึ่งเข้าไประหว่างขาของลูก เพื่อให้ฝ่ามือของคุณแม่วางบนท้อง และทรวงอกของลูก จากนั้นให้วางมืออีกข้างไว้ใต้แก้มลูก พร้อมประคองศีรษะลูกให้อยู่แนวเดียวกับลำตัว

2. ประคองท้องและทรวงอกลูก

จากนั้นให้คุณแม่ยกลูกขึ้น โดยให้เลื่อนมือข้างหนึ่งที่อยู่ใต้แก้มมาอยู่รอบทรวงอกลูก เสร็จแล้วให้หมุนตัวลูกเข้าหาลำตัวคุณแม่ (ลักษณะคือตัวลูกจะหันด้านหน้าออกมา) แต่ศีรษะลูกต้องให้อยู่สูงเหนือลำตัวส่วนอื่นของลูก

จากการการยกตัวลูกขึ้นจากท่านอนคว่ำ คุณแม่จะวางลูกลงนอนท่าหงาย หรือจะอุ้มไว้ในอ้อมแขนก็ได้ ซึ่งช่วยให้ลูกสบาย และไม่ร้องงอแงค่ะ

อ่านต่อ ประโยชน์จากการให้ลูกนอนคว่ำ คลิกหน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up