ลูกพูดช้า สาเหตุ

ประสบการณ์จากคุณแม่ ลูกพูดช้า สาเหตุ เพราะดูทีวี มือถือ และแท็บเล็ต

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกพูดช้า สาเหตุ
ลูกพูดช้า สาเหตุ

Smart phone หรือ Tablet ทำให้ลูกพูดช้าจริงหรือ?

หลายครอบครัวในสมัยนี้ชอบเลี้ยงลูกด้วยเทคโนโลยี ด้วยมือถือ ด้วยเกมส์ออนไลน์ต่างๆ เพราะคิดว่าจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูก แต่คุณหมอด้านสุขภาพจิตเด็กออกมาเตือนว่า หากปล่อยให้เด็กเล็กๆ อยู่กับโทรศัพท์มือถือ จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กด้วย ชมคลิปได้ที่นี่

ลูกพูดช้า สาเหตุ เกิดจากอะไร?

  1. มีความผิดปกติทางการได้ยิน เช่น หูดับ หูหนวก
  2. พัฒนาการล่าช้า หรือมีภาวะปัญญาอ่อน พัฒนาการด้านอื่นๆ ก็ช้าไปพร้อมๆ กัน
  3. ภาวะออทิสติก มีความบกพร่องทางการใช้ภาษาสื่อสารกับผู้อื่น การพูด หรือการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด
  4. ครอบครัว หรือญาติพูดช้า มีความบกพร่องเฉพาะด้านคือการพูดอย่างเดียว
  5. ขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม เช่น พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ เปิดทีวีให้ลูกดู แต่ไม่มีการสื่อสารโต้ตอบ ทำให้เป็นการสื่อสารทางเดียว พัฒนาทางภาษาจึงหยุดชะงัก โดยมากจะให้พี่เลี้ยงเป็นคนเลี้ยงดู ไม่มีการเล่นหรือพูด

 

ลูกพูดช้าเกิดจากอะไร
ลูกพูดช้าเกิดจากอะไร

พัฒนาการพูดตามวัยเป็นอย่างไร?

  • 4 -6 เดือน มองหน้าคนที่พูดด้วย หันหาที่มาของเสียงหัวเราะ ส่งเสียงอ้อแอ้ เล่นน้ำลาย
  • 7 -9 เดือน เริ่มรู้จักการเลียนเสียง ตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ ส่งเสียงยังไม่เป็นภาษา
  • 10 – 12 เดือน ทำท่าตามคำสั่งที่มีท่าทางประกอบ พูดเป็นคำที่มีความหมาย เช่น หัดเรียก “แม่”
  • 18 เดือน ชี้รูปภาพ/อวัยวะตามคำบอกได้ ทำตามคำสั่ง 1 ขั้นได้ พูดคำ 1 พยางค์ได้ 10 คำ ฮัมเพลงตามได้
  • 2 ปี พูดคำ 2-3 คำติดกันได้อย่างมีความหมาย เช่น กินข้าว ไปเที่ยว หิวนม หิวน้ำ แต่ยังไม่เป็นประโยค
  • 3 ปี พูดเป็นประโยคได้ เล่าเรื่องได้เข้าใจ 50% เช่น บอกชื่อ นามสกุลได้ ฟังคำสั่งที่ซับซ้อนเข้าใจมากขึ้น
ลูกพูดช้า
พัฒนาการพูดของทารก

ลูกพูดช้า เมื่อไหร่ควรไปหาหมอ?

  • 18 เดือน ไม่เข้าใจ หรือไม่สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เช่น เรียกชื่อแล้วไม่หันตามเสียง มานี่ นั่งลง
  • 2 ขวบ ไม่พูดเป็นคำที่มีความหมาย พูดคำเดี่ยวๆ ได้น้อยกว่า 5 – 6 คำ
  • 2 ขวบ 6 เดือน ยังไม่พูด 2 คำติดกัน หรือยังไม่พูดเป็นวลี เช่น ไปเที่ยว ไม่เอา หม่ำหนม เป็นต้น

Amarin Baby and Kids แนะนำให้คุณพ่อ คุณแม่ ต้องคอยสังเกตลูกน้อย ว่าลูกของเราพูดช้าหรือไม่ และป้องกันไม่ให้ “ลูกพูดช้า” ด้วยการพูดคุยกับลูก ไม่ปล่อยให้ลูกดูทีวีนานๆ หรือเล่นมือถือสมาร์ทโฟน หรือแท็บเลตบ่อยๆ พัฒนาการในการพูดของลูกจะได้เป็นไปตามช่วงวัยที่เหมาะสม

เครดิต: pantip.com, กุมารแพทย์โรงพยาบาลเจ้าพระยา, คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล, ไทยรัฐทีวี, haamor.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up