ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอกของทารกโดยอัตโนมัติ มีประโยชน์อย่างมาก คือเป็นการช่วยทารกปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่นอกท้องแม่ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว รวมทั้งเรื่องการมีชีวิตรอด และเป็นสัญญาณแสดงความปกติทางกายด้วย เมื่อสมองส่วนกลางเริ่มทำงานตั้งแต่ลูกอายุได้ 6 เดือนแล้ว การตอบสนองเหล่านี้จึงจะหายไป ลองมาดูว่าปฏิกิริยาสะท้อนกลับนั้นมีอะไรบ้าง
การสะดุ้งหรือผวาเป็นแบบไหน : เวลาสะดุ้งหรือผวา ลูกจะแอ่นหลัง ยืดคอ แขน มือ และขา แล้วจึงหดมือกลับมาไว้ใกล้หน้าอก
สิ่งกระตุ้น : มีหลายอย่าง ตั้งแต่เสียงดังแบบต่างๆ การอุ้มแบบปุบปับ ความรู้สึกเหมือนจะตกจากที่สูง การปลุกให้ลูกตื่นนอน อากาศเย็น
ปฏิกิริยานี้ไม่ควรเกิน : อายุประมาณ 2 เดือน
การก้าวเดิน
เป็นแบบไหน : เมื่ออุ้มทารกในลักษณะตัวตั้งตรง และยกขึ้นลง จะเห็นเท้าข้างหนึ่งอยู่ด้านหน้าเท้าอีกข้างเป็นท่าคล้ายกับการเดิน ลักษณะนี้บ่งบอกว่าไขสันหลังและก้านสมองของลูกทำงานปกติ
สิ่งกระตุ้น : การถูกสัมผัสบริเวณฝ่าเท้า และถูกอุ้มขึ้นลงในลักษณะตัวตั้งตรงซึ่งทำให้เด็กรู้สึกว่าน้ำหนักของร่างกายลงมาอยู่ที่เท้าทั้งคู่
ปฏิกิริยานี้ไม่ควรเกิน : ประมาณ 2 เดือน
การซุกไซ้หาอาหาร
เป็นแบบไหน : ลูกจะหันหน้าตามขณะแม่ใช้นิ้วมือสัมผัสและไล้ไปกับผิวหน้า หรือแตะที่มุมปากของเขา และจะพยายามซุกไซ้ใบหน้าหาตำแหน่งหัวนมแม่ เพื่อดูดนมตามสัญชาตญาณการหาอาหาร
สิ่งกระตุ้น : การสัมผัสใบหน้าหรือแตะมุมปากลูก หลังจากนั้นประมาณ 3 สัปดาห์ลูกจะหาหัวนมแม่เจอได้เองโดยไม่ต้องกระตุ้น
ปฏิกิริยานี้ไม่ควรเกิน : ประมาณ 4 เดือน
การดูด
เป็นแบบไหน : ลูกจะดูดทุกอย่างที่เข้าปากโดยอัตโนมัติ
เริ่มตอนไหน : ลูกดูดนิ้วมือตัวเองตั้งแต่อยู่ในท้องแม่แล้ว เมื่อคลอดออกมา ปฏิกิริยานี้ช่วยให้ลูกเข้าใจต่อไปได้ว่า นับจากนี้เขาจะมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการดูดนมจากอกแม่หรือจากขวด
ปฏิกิริยานี้ไม่ควรเกิน : ประมาณ 4 เดือน
การนอน
เป็นแบบไหน : เมื่อทารกนอนหันหน้าไปข้างใด แขนและขาข้างที่หน้าหันไปนั้นจะยืดออก และแขนอีกข้างหนึ่งงอขึ้น
ปฏิกิริยานี้ไม่ควรเกิน : ประมาณ 4 หรือ 5 เดือน
การจับ
เป็นแบบไหน : จับหรือกำนิ้วมือแม่แน่น
สิ่งกระตุ้น : การลูบฝ่ามือลูกเบาๆ
ปฏิกิริยานี้ไม่ควรเกิน : ประมาณ 5 หรือ 6 เดือน
บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง