ลักษณะนิสัยทารก

“8 ลักษณะนิสัยทารก” ลูกเป็นเด็กแบบไหน? ต้องเลี้ยงให้ถูกทาง!

Alternative Textaccount_circle
event
ลักษณะนิสัยทารก
ลักษณะนิสัยทารก

5. ปรับตัวเร็ว หรือ ปรับตัวช้า

สังเกตอย่างไร ลูกเป็นเด็กง่ายๆ เปลี่ยนที่กิน ที่นอนก็กินได้ นอนหลับ ให้ลองกินอาหารใหม่ก็รับได้เร็ว ใช้เวลาไม่มากในการปรับตัวกับคนแปลกหน้าไม่คุ้นเคย หรือลูกเป็นเด็กติดที่นอน ติดอาหาร ป้อนอาหารใหม่ให้ลองทีไร เป็นบ้วนออกทุกที และกับคนหน้าใหม่ๆ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ต้องขอเวลาพอสมควรถึงจะวางใจให้เข้าใกล้ได้

ควรเลี้ยงอย่างไร แม้ลูกจะเป็นเด็กที่ปรับตัวได้เร็ว การเปลี่ยนสถานที่นอนที่กินไม่ทำให้เขาเดือดร้อน กังวลใจ เข้ากับคนง่าย พาไปไหนพ่อแม่สบายอกสบายใจอยู่แล้ว ถึงอย่างนั้นถ้าคุณจะให้เขาอยู่กับคนหน้าใหม่ในชีวิต เช่น พี่เลี้ยงใหม่ ก็อย่าชะล่าใจ คุณยังควรให้เวลากับลูกอยู่ เพื่อดูให้มั่นใจว่า ลูกปรับตัวกับพี่เลี้ยงได้แล้วจริงๆ

สำหรับลูกที่ปรับตัวช้า ติดที่ ติดคน การเปลี่ยนแปลงแม้เล็กๆ น้อยๆ อาจทำให้เขากังวลใจ หากจำเป็นต้องพาลูกเดินทางไปไหนๆ หรือไปพักค้างคืน แปลกที่นอน ที่กิน และพบคนแปลกหน้า ความสงบของคุณเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่จะทำให้ลูกรับรู้ว่าเขาจะปลอดภัย ต่อมาคือแม้ลูกจะโยเย หรือปฏิเสธสิ่งต่างๆ ขอให้ใจเย็นๆ ให้เวลาเขาค่อยๆ ปรับตัวรับกับสิ่งใหม่ อีกอย่างที่จะช่วยคุณได้มากคือการเตรียมสิ่งของที่ลูกคุ้นชินติดไปด้วย เช่น ผ้าห่ม หนังสือ หรือของเล่น พอให้ลูกอุ่นใจว่ายังมีของคุ้นเคยอยู่บ้าง

6. แสดงความรู้สึก : เบาะๆ เบาๆ หรือแรงจัดชัดเจน

สังเกตอย่างไร ลูกมักจะแสดงความรู้สึกออกมาให้รู้อย่างชัดเจน อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดเป็นร้องไห้เสียงดัง พอใจก็ถีบแขนถีบขาหัวเราะเอิ๊กอ๊ากหรือดีใจก็ยิ้มส่งเสียงอืออา ขนาดไม่สบอารมณ์ขอแค่สะอื้นเบาๆ

ควรเลี้ยงอย่างไร พ่อแม่ไม่ควรจะรู้สึกแย่ เวลาที่ปราบพยศลูกไม่สำเร็จ และให้เข้าใจว่านี่คือการแสดงออกของลูก หากว่าคุณถึงจุดที่รู้สึกรับไม่ไหวแล้ว ให้ปล่อยลูกไว้ในที่นอนหรือเปลที่ปลอดภัย แล้วเดินออกมาพักยกก่อน ให้เวลาทั้งลูกและตัวคุณเองด้วย รู้สึกดีขึ้นแล้วค่อยว่ากันใหม่ ท่าทีที่สงบและเย็นลงของคุณจะช่วยให้ลูกน้อยค่อยๆ ผ่อนคลายลงได้

สำหรับลูกที่ไม่ค่อยแสดงออก ไม่อือไม่หืออะไร พ่อแม่ควรจะสังเกตท่าทีของเขา เช่น เวลาที่เขาร้องแต่ไม่เสียงดัง ร้องอั้นๆ อึดอัดๆ เพราะความเบื่อหรือหงุดหงิด คุณสามารถเข้าไปปลอบเขาได้ เช่น “อ๋อ เบื่อใช่มั้ยลูก? เสียงดังไป ลูกไม่ชอบเนอะๆ” ให้เขารู้ว่าพ่อแม่ใส่ใจ และพร้อมตอบสนองความรู้สึกของเขาเสมอ

7. อารมณ์ดีเป็นนิจ หรือ ขาหงุดหงิดเป็นประจำ

สังเกตอย่างไร ลูกมักจะตื่นขึ้นมาพร้อมกับรอยยิ้ม ในหนึ่งวันอารมณ์ดีเป็นส่วนใหญ่ หรือมักจะหน้าคว่ำ หน้างอ ไม่สบอารมณ์อยู่เสมอ

ควรเลี้ยงอย่างไร สำหรับลูกที่อารมณ์ดี กิจวัตรต่างๆ ที่ทำร่วมกันจะมีแต่ความครื้นเครง สำหรับลูกที่หงุดหงิดบ่อย ต้องลองหาสาเหตุก่อน เช่น หงุดหงิดเพราะป่วยไข้ หรือไม่สบายตัวรึเปล่า พ่อแม่ที่หมั่นยิ้มแย้มแจ่มใสเวลาที่อยู่กับลูกจะช่วยให้ลูกผ่อนคลายอารมณ์ลงได้ ทั้งเด็กอารมณ์ดีและหงุดหงิดง่ายบ่อยๆ ควรจะได้รู้จักอารมณ์ต่างๆ ของเขาเอง วิธีง่ายๆ คือ พ่อแม่สังเกตและช่วยบอกขณะที่ลูกอยู่ในอารมณ์นั้นๆ เช่น “อืม สบายอกสบายใจน่ะสิ ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่เลย” “โอ๊ะๆๆ ร้องอย่างนี้ ลูกหงุดหงิดเนอะ ไหนแม่ช่วยดูนะหงุดหงิดอะไรเอ่ย”

เด็กๆ ควรได้รู้จักอารมณ์ทั้งดีและไม่ดีของตัวเอง เมื่อโตขึ้น เขาจะรู้จักความรู้สึกและอารมณ์ของตัวเองมากขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกรับมือกับความรุนแรงของอารมณ์ตัวเองได้

8. มุ่งมั่น หรือ ล้มเลิกง่าย

สังเกตอย่างไร ลูกมักจะไม่ยอมปล่อยของเล่น ไม่ยอมให้หลุดมือ ต่อให้กำลังเปลี่ยนผ้าอ้อมอยู่ หรือเวลาจัดการของเล่นให้ถูกใจไม่ได้ เขาก็ร้องไห้สักครู่หรือไม่ร้อง แต่หันไปเล่นอย่างอื่นแทน

ควรเลี้ยงอย่างไร ถ้าการเปลี่ยนผ้าอ้อม หยุดความสนใจของเล่นของลูกไม่ได้ ก็ปล่อยให้เขาเล่นไป และถ้ามีโอกาสก็ให้เขาได้สนุกกับของเล่นที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น ถ้าเขาเล่นของเล่นที่ตั้งซ้อนกันจนเบื่อแล้ว ลองเปลี่ยนให้เขาเล่นของเล่นแบบรูปทรงดู
สำหรับลูกที่ไม่ชอบทนกับความซับซ้อนของของเล่น ก็ค่อยๆให้ลูกเรียนรู้ที่จะสนุกกับของเล่นไปเรื่อยๆ ทีละระดับ

 

เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่จะได้รู้จักลูกของตัวเองกันมากขึ้น และจะได้ต่อยอดนำไปเลี้ยงดูลูกน้อยให้เหมาะสมกับบุคลิกลักษณะนิสัย ของเด็กแต่ละคน ที่แน่นอนว่าไม่ใช่แค่ลูกเท่านั้นที่มีความสุข และพ่อแม่ก็มีความสุขด้วยเช่นกัน …ด้วยความห่วงใยค่ะ

อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ

คำสอนดี ๆ ในการเลี้ยงดูลูกแบบคนจีน
สิทธิการเลี้ยงดูบุตร เมื่อไม่ได้จดทะเบียน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up