ฝึกทารกห่างอ้อมอกแม่

Alternative Textaccount_circle
event

ถึงอย่างนั้น เมื่อโตขึ้นลูกก็จำเป็นจะต้องเรียนรู้การอยู่คนเดียวหรือสงบสติอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง (แบบไม่ต้องมีอ้อมอกแม่เป็นตัวช่วย) จะฝึกหัดเขาเมื่อไร และฝึกอย่างไรดี ไปดูกันดีกว่า

 

 

 
0 – 4 เดือน

 
ความเป็นไป ด้วยความที่หนูน้อยเพิ่งลืมตาดูโลก การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมยังถือเป็นเรื่องยากสำหรับเขา การกอดจึงอาจเป็นวิธีเดียวที่จะช่วยปลอบโยนเขาได้

 
วิธีรับมือ ถ้าเขาร้องไห้ คุณก็ปรี่เข้าไปกอดหรือโอ๋ได้เลย เพราะสำหรับเด็กแรกเกิดตามใจอย่างไรก็ทำให้เขาเสียนิสัยไม่ได้หรอก(ในขณะที่เด็กโตมาหน่อยอาจจะเคยตัวว่าร้องไห้เมื่อไรแม่ก็มาหาเมื่อนั้น ทำให้เขาใช้วิธีนี้อีกเพื่อเรียกร้องให้คุณมาอยู่ใกล้ๆ ซึ่งเป็นความเจ้าเล่ห์เล็กๆ ที่หนูน้อยวัยแรกเกิดยังไม่มี)แต่ถ้าไม่อยากให้เขาร้องบ่อยๆ พยายามทำทุกอย่างให้เป็นกิจวัตร เช่น ให้นม นอนฯลฯ ตารางชีวิตที่แน่นอนจะช่วยลดความยุ่งยากวุ่นวายในชีวิตลูก (และชีวิตคุณ) ได้

 

 

 
4-8 เดือน

 
ความเป็นไป เด็กวัยนี้จะเริ่มกลัวคนแปลกหน้า เขาจึงลังเลที่จะต้องอยู่ในอ้อมกอดคนอื่นที่ไม่ใช่แม่

 
วิธีรับมือ ฝึกให้เขาอยู่ห่างจากอ้อมอกแม่บ้าง เริ่มจากเดินออกห่างให้พ้นสายตาลูกสัก 5 นาที ขณะที่คนอื่นกำลังอุ้มเขาอยู่หรือจากที่เคยอุ้มบ่อยๆ อาจเปลี่ยนมานั่งอยู่ใกล้ๆ แล้วพูดคุยกับเขาแทน แต่ถ้าลูกดูกระวนกระวาย ก็อยู่ใกล้ๆ เขาไว้จนกว่าลูกจะรู้สึกอุ่นใจ จากนั้นจึงค่อยๆ ถอยห่างออกมา

 

 

 
8-12 เดือน

 
ความเป็นไป เมื่ออยู่ห่างจากคุณ ลูกจะรู้สึกกังวลว่าอาจถูกทิ้ง เขาจึงต้องการเครื่องยืนยันว่า จริงๆ แล้วแม่ไม่ได้ไปไหนหรอกนะ

 
วิธีรับมือ หายตัวให้ลูกดูเป็นขวัญตาไม่ถึงกับต้องใช้พลังจิต เพียงแค่เล่นเกมจ๊ะเอ๋กับเขาบ่อยๆ ลูกก็จะเกิดการเรียนรู้ว่าแม้จะพ้นสายตาไป แต่ในที่สุดแม่ก็จะโผล่หน้ากลับมาให้เขาเห็นทุกครั้ง

 

 

 
นอกจากนี้ เวลาจะไปไหนให้คุณส่งเสียงบอกเขาก่อน เช่น “แม่ไปทำกับข้าวนะลูกอยู่ตรงห้องถัดไปนี่เองจ้ะ” อย่าย่องออกไปเงียบๆ เด็ดขาด เพราะจะทำให้ลูกเกิดอาการวิตกจริตว่า ทำไมจู่ๆ

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up