6. ไม่จำเป็นต้องอุ่นอาหารให้ร้อนจัดก่อนนำไปป้อนเด็ก
สำหรับผู้ใหญ่อาหารที่ร้อนจะทำให้รสชาติดี แต่เด็กเล็กยังไม่รู้สึกอย่างนั้น ไม่อุ่นอาหารเด็กด้วยเตาไมโครเวฟ เพราะแม้ภาชนะที่ใส่อาหารจะไม่ร้อนแต่อาหารจะที่อุ่นด้วยไมโครเวฟจะยังร้อนจัดมากต่อไปอีก 2-3 นาที ซึ่งอาจจะยังร้อนพอที่ลวกปากลูกได้ ถ้าจะทำให้อาหารร้อนก็เพียงอุ่นๆ พอ เช่น แบ่งอาหารใส่ชามและแช่ลงในน้ำร้อน หรืออุ่นจากไอน้ำร้อน เช่น หม้อซึ้งสำหรับนึ่งอาหารที่มีภาชนะใส่น้ำเพื่อให้เดือดไว้ด้านล่าง
7. ใช้วัตถุดิบสด สะอาดในการทำอาหารให้ลูก
ถ้าทำอาหารจากของสด ควรแน่ใจว่าวัตถุดิบที่ใช้สดและเก็บในที่ที่เหมาะสม ของสดและต้องการความเย็นก็ควรเก็บในที่เย็น วัตถุดิบบางอย่างไม่ต้องแช่เย็นแต่เก็บในที่ร้อนเกินไปก็อาจเสียได้ บูดเสียเร็วขึ้น ต้องเก็บในอุณหภูมิห้อง
8. น้ำผลไม้ นม ชีสที่ให้ลูกกิน
ควรผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อโรคแล้ว เช่น แบบยูเอชที หรือพาสเจอไรส์
บทความแนะนำ คลิก>> เคล็ดลับแม่บ้าน เทคนิคเก็บอาหารให้อยู่นาน คงคุณค่าสูง!
9. ใช้ช้อนแยกเมื่อชิมอาหาร
ถ้าต้องการชิมรสชาติอาหารในระหว่างปรุง ควรใช้ช้อนสะอาดต่างหากชิมหรือล้างช้อนคันเดิมก่อนจะชิมอีก
10. อย่าเสียดายหากอาหารเสีย
อาหารที่เก็บค้างคืนไว้ในตู้เย็นหลายวัน จริงๆ ไม่แนะนำนำมาทานต่อค่ะ ถึงแม้จะนำไปอุ่นใหม่ก็ตาม เพราะคุณค่าสารอาหารแทบจะไม่มีเหลือ อีกอย่างอาหารนั้นอาจจะบูดเสียแล้วก็ได้ เอาเป็นว่าการที่คุณแม่ปรุงอาหารให้ลูกแบบสุก สดใหม่ทุกวันน่าจะดีต่อสุขภาพร่างกายของลูกๆ รวมถึงทุกคนในครอบครัวด้วยค่ะ อย่าว่าอาหารเสีย อย่าเสียดาย ให้ทิ้งไปนะคะ
การเตรียมอาหารที่สะอาด สด ใหม่ ในทุกวันให้ลูกได้ทานนั้น เท่ากับเป็นการมอบสิ่งดีๆ ให้กับสุขภาพร่างกายของลูกที่ง่ายที่สุด แต่ได้คุณค่ามหาศาลเลยนะคะ เอาเป็นว่ามาเริ่มดูแลคุณภาพของอาหารให้ลูกกันตั้งแต่ตอนนี้เลยนะคะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจคลิก
11 เทคนิคแก้ปัญหา ลูกกินยาก อมข้าว
มารยาทบนโต๊ะอาหารเรื่องที่พ่อแม่ควรสอนลูก
ข้อมูลจาก กองบรรณาธิการ Amarin Baby & Kids