ลูกไม่กินข้าว และป้อนอาหารลูกเล็กอย่างไรให้ปลอดภัย ? - amarinbabyandkids

7 วิธีแก้ปัญหา ลูกไม่กินข้าว และป้อนอาหารลูกเล็กอย่างไรให้ปลอดภัย ?

Alternative Textaccount_circle
event

ลูกไม่กินข้าว สำหรับคุณแม่ที่กำลังหนักอกหนักใจกับการป้อนข้าวลูก หรือให้ลูกกินข้าวเองแล้วเจ้าตัวเล็กเมินหน้าหนีกับอาหารที่อยู่ตรงหน้า ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ มาฝากค่ะ รับรองว่าถ้าแม่ค่อยๆ ปรับ ก็จะช่วยแก้ปัญหาเรื่อง ลูกไม่กินข้าว ได้ไม่ยากค่ะ

 

ลูกไม่กินข้าว ทำไงดี?

1. ฝึกให้กินอาหารเป็นเวลา

การที่พ่อแม่ให้ลูกทานอาหารเป็นเวลา สม่ำเสมอ และควรให้ลูกกินพร้อมๆ กับทุกคนในครอบครัว เพื่อเป็นแบบอย่างและสร้างบรรยากาศการกินอาหารให้ลูก

2. ขณะมื้ออาหารไม่ดูทีวี

เมื่อถึงเวลาของมื้ออาหาร พ่อแม่ต้องตัดสิ่งรบกวนการกินของลูกที่จะทำให้ ลูกไม่กินข้าว คือ ไม่เปิดทีวี หรือให้ลูกเล่นของเล่นไปด้วยในขณะที่นั่งทานข้าว เพราจะทำให้เด็กไม่สนใจอาหารที่อยู่ตรงหน้า ทำให้กินช้า อมข้าวและอิ่มเร็วโดยที่กินไปได้นิดเดียว

3. ทำบรรยากาศขณะมื้ออาหารให้ผ่อนคลาย

ช่วงเวลาคุณภาพของครอบครัวอีกช่วงเวลาหนึ่งก็คือการที่ทุกคนได้ทานข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากัน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันในทุกเรื่อง การสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะบนโต๊ะอาหารจะช่วยทำให้บรรยากาศในการทานข้าวเป็นที่น่าจดจำสำหรับเด็ก แต่ไม่ควรใช้ช่วงเวลาทานข้าวมาดุด่ากัน เพราะจะทำให้ทุกคนบนโต๊ะอาหารตึงเครียดเกินไป และลูกก็จะไม่ชอบการทานข้าวในบรรยากาศที่ดูไม่มีความสุข

4. เปิดโอกาสให้เด็กช่วยเหลือตัวเอง

ในเด็กอายุน้อยกว่า 3  ขวบ พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้มีโอกาสถือหรือหยิบอาหารเข้าปากด้วยตัวเองบ้าง ถึงแม้จะเลอะเทอะไปบ้างก็ต้องยอม ส่วนเด็กที่อยู่ในช่วงวัย 4  ขวบ ส่วนใหญ่จะสามารถตักอาหารเข้าปากได้ด้วยตัวเอง พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกตักอาหารเข้าปากเอง

 

บทความแนะนำ คลิก>> ฝึกลูกกินข้าวเอง ช่วยพัฒนาการอะไรบ้าง?

 

5. ให้นั่งกินอาหารบนเก้าอี้

การฝึกให้ลูกรู้ว่าหากถึงเวลาทานอาหารของทุกคนในบ้าน จะต้องนั่งทานที่โต๊ะอาหารเท่านั้น และต้องทานให้เสร็จเรียบร้อยอิ่มแล้วถึงจะออกจากโต๊ะทานข้าวได้  พ่อแม่ไม่ควรเดินตามป้อนข้าวให้ลูกเด็ดขาด

6. ไม่ให้นมมากเกินไป

สำหรับเด็กอายุเกิน 1 ปี ควรกินข้าวเป็นอาหารหลัก วันละ 3 มื้อ ส่วนนมจะเป็นอาหารเสริมเท่านั้น จึงต้องลดปริมาณลง เหลือวันละ 3 – 4 มื้อ และควรให้นมหลังอาหารเท่านั้น เด็กอายุมากกว่า 6 เดือน  ร่างกายไม่ต้องการนมหลังจากหลับไป แล้วจนถึงเช้า  จึงไม่ควรปลุกเด็กขึ้นมากินนม  เพราะเด็กวัยนี้สามารถกินนมก่อนนอนแล้วอยู่ได้ถึงเช้า  หากให้กินกลางดึก จะกลายเป็นความเคยชินและทำให้เด็กเบื่ออาหารเช้าเพราะยังอิ่มนม  หลังอายุ 1 ปี ควรเลิกขวดนม ดังนั้นจึงให้เด็กเริ่มฝึก ดูดจากหลอดหรือดื่มจากแก้วแทนตั้งแต่อายุ 10 เดือน

7. ให้ลูกรู้สึกหิวก่อนถึงมื้ออาหาร

ก่อนหน้ามื้ออาหารหลัก ให้งดอาหารหรือขนมจุกจิกระหว่างมื้อ  ไม่ว่าจะเป็นขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน  ไอศกรีม  ฯลฯ หากจะให้ ควรให้หลังอาหาร หากเด็กกินได้เหมาะสม ก็จะช่วยลดปัญหา ลูกไม่กินข้าว ได้ค่ะ

นอกจากปัญหา ลูกไม่กินข้าว ที่พบบ่อยแล้ว การป้อนอาหารลูกเล็ก อย่างไรให้ปลอดภัย เป็นอีกเรื่องที่ถูกถามเข้ามามากจากคุณแม่ที่มีลูกเล็กๆ เพราะกังวลไปหมดว่าถ้าลูก กินเข้าไปแล้วจะดี จะปลอดภัยต่อร่างกายของลูกหรือเปล่า และเพื่อให้คุณแม่ได้สบายใจกับอาหารการกินของลูก ผู้เขียนมีเคล็ดลับที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องนี้มาให้ได้ทราบกันค่ะ

อ่านต่อ ป้อนอาหารลูกอย่างไรให้ปลอดภัย หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up